รายงานล่าสุดเผยถึงกลุ่มประชากรในวัยหนุ่มสาวทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 13, 2012 11:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--Manulife Asset Management รายงานล่าสุดเผยถึงกลุ่มประชากรในวัยหนุ่มสาวทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) กำลังมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุกันอย่างไร ผลของการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังจะเผชิญกับสัดส่วนของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอีก 40 ปีข้างหน้า รายงานล่าสุดจาก Manulife Asset Management กล่าวถึงข้อสงสัยในสมมติฐานที่ว่ากลุ่มประชากรผู้สูงอายุกำลังเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับชาวเอเชีย โดยเฉพาะญี่ปุ่น และเกาหลี โดยระบุว่าสังคมในเชิงประชากรศาสตร์ที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นได้ส่งผลกระทบถึงกลุ่มคนวัยหนุ่มสาวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เช่น ประเทศไทย ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการออมเพื่อเกษียณอายุนั้นเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ กว่าที่เคยเป็นมา นอกจากนี้ รายงานที่เขียนโดย Economist Intelligence Unit (EIU เรื่อง “Saving Up: The changing shape of retirement funding in a greying ASEAN” ) ซึ่งนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าประเทศส่วนใหญ่ในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) คงจะได้เห็นสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าภายในระยะเวลาไม่ถึง 40 ปี ทั้งนี้ ปรากฎการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าภายในปี ค.ศ. 2050 ประเทศไทยจะมีสัดส่วนประชากรที่มีอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปสูงถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็น 3 เท่าของปี ค.ศ. 2010 ที่มีอยู่เพียง 9 เปอร์เซนต์ จากข้อความดังกล่าวข้างต้นที่ว่า ในประเทศไทยจะมีอัตราส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่านั้น จะเป็นผลให้ในปีค.ศ. 2050 ประชากรวัยทำงานทุกๆ 100 คน จะต้องดูแลผู้สูงอายุถึง 41 คน หากเทียบกับเมื่อปีค.ศ. 2010 ที่ดูแลเพียง 13 คน จึงจำเป็นต้องพิจารณาเตรียมตัวอย่างจริงจังให้มากขึ้นเกี่ยวกับการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ รายงานนี้ยังแสดงให้เห็นว่า จากแนวโน้มที่ท้าทายดังกล่าวได้ก่อให้เกิดแผนสำหรับการเกษียณอายุในชนชาติเหล่านี้ ดังเช่น ในประเทศไทยที่มีประชากรน้อยกว่า 20% เป็นสมาชิกของระบบเงินบำนาญที่จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในอนาคตข้างหน้าจะมีประชาชนจำนวนมากที่อาจเข้าสู่วัยผู้สูงอายุโดยมีเงินเก็บออมที่ไม่มากนัก รายงานได้สรุปว่า เหตุการณ์เช่นนี้น่าจะเป็นผลให้เครื่องมือทางการออมเงิน เช่น กองทุนรวม และ ประกัน สามารถมีโอกาสเติบโตได้อีกมากในหลายปีข้างหน้านี้ เนื่องจากมีคนที่ใกล้เกษียณอายุจำนวนมากขึ้นที่มองหาโอกาสในการออมเงินและการลงทุนเพิ่มเติมจากการสะสมเข้าระบบเงินบำนาญที่มีอยู่ ซึ่งมีหลักฐานที่แสดงว่าแนวโน้มนี้ได้เริ่มเกิดขึ้นไปพร้อมๆ กับแผนปฎิรูปการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ทั้งนี้ ทาง Manulife Asset Management คาดว่าการดำเนินการปฎิรูปเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็วเนื่องจากชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ค้นหาแนวทางทางการเงินเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในอนาคตข้างหน้านี้ ในประเทศไทย คนส่วนใหญ่นิยมการฝากเงินกับธนาคารและคาดว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะสั้นในอัตราประมาณ 8% ต่อปีในช่วง 5 ปี (จนถึงปี 2016) จากการวิจัยพบว่า หากระดมเงินเหล่านี้ผ่านทางเครื่องมือของการลงทุนระยะยาว เช่น การประกันชีวิต และกองทุนรวมต่างๆ น่าจะมีส่วนช่วยให้พวกเขาทั้งหลายสามารถเลี้ยงดูตนเองในวัยชราได้บ้าง ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เช่น ประเทศไทย ในการเริ่มต้นดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากอัตราการออมเงินที่คาดว่าจะลดลงเนื่องจากกลุ่มผู้เกษียณอายุจะใช้เงินออมเหล่านี้เมื่อยามที่พวกเขาเกษียณอายุ นายต่อ อินทวิวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ. แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “คนไทยส่วนใหญ่ยังคงชอบการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำและต้องการการลงทุนที่คุ้มครองเงินต้น ซึ่งเห็นได้จากปริมาณเงินฝากในระบบที่มีจำนวนมากและสัดส่วนของกองทุนตราสารหนี้ที่มากกว่า 60% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่น่าจะมีความต้องการผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว เราจึงเชื่อว่าผู้มีเงินฝากทั้งหลายอาจจะเริ่มจัดสรรเงินฝากไปยังทางเลือกการลงทุนรูปแบบอื่น โดยเริ่มจากการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำก่อน เช่น กองทุนรวมตลาดเงินแล้วหลังจากนั้นจึงจะกระจายเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น กองทุนรวมหุ้นหรือกองทุนรวมต่างประเทศ เพื่อโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่สูงขึ้น จากการที่เราเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับสากล เราพยามยามสร้างความแตกต่างจาก บลจ.ที่เป็นบริษัทในเครือของธนาคาร โดยจะเน้นที่ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลักเพื่อเป็นทางเลือกให้กับนักลงทุนที่มีความต้องการที่จะกระจายการลงทุนจากตลาดหุ้นไทยไปยังตลาดอื่นๆ” ในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) นอกจากอัตราการเติบโตของการออมเงินและเงินฝากธนาคารแล้ว เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและการเปิดเสรีตลาดมากขึ้นมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับเครื่องมือในการออมและการลงทุน เช่นประกันชีวิตและกองทุนรวม การพัฒนาของอุตสาหกรรมเหล่านี้ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) นับเป็นสิ่งที่สำคัญ จากรายงานที่แสดงให้เห็นว่ายังมีความเป็นไปได้สำหรับหน่วยงานและสถาบันที่จะเปิดให้ผู้จัดการกองทุนเสนอรูปแบบการลงทุนต่างๆ เพิ่มเติมจากการวางแผนการเงินเพื่อเกษียณอายุให้กับผู้สูงอายุทั้งหลายในแถบภูมิภาคนี้ Michael Dommermuth, President of Asia at Manulife Asset Management กล่าวว่า "เราเชื่อว่าการปฏิรูปเงินบำนาญจะยังคงเป็นไปอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งความจำเป็นเร่งด่วนนี้มีแรงผลักดันมาจากโครงสร้างทางประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราคาดว่าจะได้เห็นหลายประเทศใช้วิธีการ ‘multi-pillar’ ซึ่งเป็นระบบที่คนสามารถเก็บออมเพื่อการเกษียณโดยการผสมผสานระหว่างการออมภาคบังคับและการออมภาคสมัครใจของแต่ละบุคคล หากสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราคงจะได้เห็นความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในผลิตภัณฑ์การลงทุน เช่น กองทุนที่มีการจัดสรรประเทศสินทรัพย์ที่ลงทุน ซึ่งจะช่วยสร้างเงินบำนาญและผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ที่จะก่อให้เกิดกระแสเงินสดที่มั่นคงเมื่อยามเกษียณ Manulife Asset Management มีประสบการณ์มาอย่างยาวนานเกี่ยวกับ multi-asset class ที่ออกแบบให้ตรงตามวัตถุประสงค์และข้อจำกัดของลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ ตัวอย่างเช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับในประเทศฮ่องกงและกองทุนบำนาญอื่นในแถบภูมิภาค โดยบริหารเงินที่กระจายการลงทุนอยู่ในภูมิภาคเอเชียกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญในการจัดสรรการลงทุน หรือที่เรียกว่า “The Portfolio Solutions Group” ซึ่งในปัจจุบันมีทีมการลงทุนกระจายอยู่ในหลายภูมิภาคทั่วโลกทั้งในประเทศอเมริกา แคนาดา และภูมิภาคเอเชีย โดยบริหารกองทุนที่มีกองทุนที่มีการจัดสรรประเทศสินทรัพย์ที่ลงทุน (Asset Allocation Funds) รวมเป็นมูลค่ากว่า 90 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลให้ Manulife Asset Management เป็นหนึ่งในบริษัทจัดการลงทุนชั้นนำทางด้านการจัดสรรการลงทุน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ