จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ ประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น

ข่าวทั่วไป Wednesday June 20, 2012 15:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 มิ.ย.--พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 10 - 30 สิงหาคม 2555 (พิธีเปิดวันที่ 9 สิงหาคม 2555 เวลา 16.00 น) เวลาแสดงงาน: 09.00 น. — 16.00 น. (ปิดวันจันทร์และวันอังคาร) (ถนนเชียงใหม่-ลำปาง ซุปเปอร์ไฮเวย์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 โทร 053-221-308 http://www.nationalmuseums.finearts.go.th/thaimuseum_eng/chiangmai/maplocation.htm http://g23.swu.ac.th/contactus) เข้าชมฟรี G23 Art Gallery กรุงเทพฯ วันที่ 8 — 27 กันยายน 2555 (พิธีเปิดวันที่ 7 กันยายน 2555 เวลา 18.00 น.) เวลาแสดงงาน: 11.00 น. — 19.00 น. (ปิดวันจันทร์) (114 ถนนสุขุมวิท ซ.23ม เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร 02-649-5000 ext. 5005, 02-649-5959 http://g23.swu.ac.th/exhibition) เข้าชมฟรี จิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ — สำรวจประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญีปุ่น ตั้งแต่ในสนามรบ จนถึงเทคนิคในกีฬาการต่อสู้นานาชาติ นิทรรศการส่วนแรกแสดงชิ้นงานที่ทำขึ้นใหม่ของอาวุธในประวัติศาสตร์ โดยหลักจะเป็นการจัดแสดงอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม เช่น ดาบ ธนูและลูกธนู ชุดเกราะและหมวกเกราะ อาวุธจริงซึ่งเป็นต้นแบบของชิ้นงานเหล่านี้เก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑ์และปราสาท แต่ชิ้นงานที่จัดแสดงเหล่านี้สร้างจำลองโดยช่างผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เทคนิคแบบโบราณ นักรบในอดีตนั้นฝึกฝนร่างกายอย่างเข้มงวดเพื่อการเติบโตและการเข้าถึงทางจิตวิญญาณจึงสร้างสรรค์ให้เกิดศิลปะนานาแขนง เช่น บทกวี จิตรกรรม และประติมากรรม มีหมวกเกราะที่ออกแบบอย่างงดงามอยู่ 8 ชิ้นในนิทรรศการนี้ที่มาจากยุคสงครามเซงโกคุ (ค.ศ. 1467-1568) ยุคที่เต็มไปด้วยการรบพุ่งกันทั้งประเทศ หมวกเกราะเหล่านี้แสดงให้เห็นความงดงามโดดเด่นในสมัยที่ถูกสร้างขึ้น และแม้ว่าจะออกแบบมาอย่างหรูหรา แต่ขุนพลเลื่องชื่อ เช่น นากามาสะ คุโรดะ (ค.ศ. 1568 — 1623) และ ยูคิมูระ ซานาดะ (ค.ศ. 1567 — 1615) สวมหมวกเกราะเหล่านี้ในสนามรบจริง เพราะความโดดเด่นมีเอกลักษณ์นี้ สื่อให้เห็นถึงความทะเยอทะยานและความมุ่งมั่นตั้งใจของนักรบที่ได้รับจากการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ ในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ มีอยู่สองครั้งที่ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นเกือบจะสูญหายไป ครั้งแรกคือปลายยุคศักดินาต่อยุคสมัยใหม่ ในยุคเมจิ (กลางศตวรรษที่ 19) และอีกครั้งคือระหว่างการให้ศึกษาประชาธิปไตยช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป บุจุทซึ (วิถีแห่งการต่อสู้) ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบโดยนักการศึกษาและผู้ฝึกปฏิบัติจนกลายเป็น บุโด (วิถีแห่งความกล้า) ซึ่งการฝึกฝนร่างกาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อยกระดับจิตวิญญาณและการควบคุมตนเป็นหลัก ส่วนที่สองของนิทรรศการนั้นเกี่ยวกับการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ในปัจจุบัน เมื่อไม่อยู่ในสนามรบ ทั้งอุปกรณ์และชุดก็ปรับเปลี่ยนโดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม เรานำเอาดาบไม้ไผ่ เสื้อเกราะ ถุงมือ และกางเกงฮากามะ มาจัดแสดงควบคู่กับบอร์ดคำอธิบาย และดีวีดีเกี่ยวกับการฝึกซ้อมโดยนิปปอน บุโดกังด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ