เฟรชชี่วิศวะ ม.บูรพา เปิดใจไม่หวั่นไทยเข้าสู่อาเซียน เชื่อมั่นสถาบันเตรียมพร้อมให้ตนเป็นอย่างดี

ข่าวทั่วไป Wednesday July 4, 2012 16:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--ม.บูรพา ด้วยความที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็น 1 ใน 7 สาขาอาชีพที่จะเปิดเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนในปี พ.ศ.2558 หรือในอีกเพียง 3 ปีข้างหน้านี้ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงได้มีการเตรียมความพร้อมให้แก่นิสิตตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 โดยเตรียมความพร้อมทั้งด้านทักษะวิชาชีพวิศวกรรม ทักษะด้านภาษาอังกฤษ และภาษามลายูของประเทศอินโดนีเซีย และมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพสูงให้แก่ประชาคมอาเซียน นายอังค์โทนี่ กิลเลอร์มิน ลูกครึ่งไทยฝรั่งเศส นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 1 เป็นเชียร์ลีดเดอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีความสามารถพิเศษดีเด่นทางด้านดนตรีจนได้รับรางวัลแต่งเพลงต่อต้านยาเสพติดยอดเยี่ยม ที่บ้านฉาง จังหวัดระยอง รางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรี จากเครือสหพัฒน์ ศรีราชา ชลบุรี รางวัลชมเชยงานประกวดโตโยต้า VIOS พัทยา ทั้งยังได้สัมภาษณ์ลง Guitar Magazine ฉบับครบรอบ 10 ปี อีกทั้งเล่นดนตรีช่วยเหลือน้ำท่วมได้รับการถ่ายทอดสดช่อง 7 และเล่นดนตรีเปิดหมวกช่วยเหลือน้ำท่วมที่ ถนนวอร์คกิ้งสตีท พัทยา กล่าวว่า “ผมเรียนเลือกเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพราะต้องการต่อยอดทางการศึกษา เพื่อเรียนรู้ในสาขาวิชาที่ชอบ และเพิ่มทักษะของตนเองไปเรื่อยๆ โดยเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเป้าหมายแรก เนื่องจากใกล้บ้าน เปิดสอนในคณะที่ชอบ และมั่นใจในศักยภาพการเรียนการสอนด้วย ซึ่งวันแรกที่มาถึงประทับใจการต้อนรับอย่างอบอุ่นของรุ่นพี่ในคณะมาก รุ่นพี่มีความเป็นกันเอง ห่วงใยเอาใจใส่รุ่นน้องและให้คำแนะนำได้อย่างดี สำหรับปีที่ผมจบการศึกษาเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้าสู่อาเซียนแล้ว ดังนั้นสิ่งแรกที่ผมต้องเตรียมพร้อมคือ การพัฒนาภาษาอังกฤษของตนเองให้แข็งแรง เพราะเมื่อประเทศไทยเข้าสู่อาเซียน ชีวิตความเป็นอยู่ก็จะเปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการเมือง ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา ด้านสาธารณสุข ในส่วนด้านการศึกษานั้น ทำให้เราสามารถเข้าศึกษาในประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มประเทศอาเซียนได้โดยค่าใช้จ่ายจะไม่สูงมากเหมือนเดิม ถือเป็นโอกาสที่ดี ส่วนด้านการทำงาน ผมจะเรียกว่าเป็นด้านเศรษฐกิจ และขอมองในฐานะผู้ประกอบการไม่ใช่พนักงาน เราจะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกกว่าเดิม ถือว่าเป็นการลดต้นทุนได้ดีมากสำหรับผู้ประกอบการ ผมคิดว่าการที่ประเทศไทยเข้าสู่อาเซียนมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกนั้นเป็นการสร้างรายได้ที่มากขึ้น โดยกลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติจะมากขึ้น เศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้นตามมา ส่วนด้านลบจะเกิดคู่แข่งทางการค้าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นต้องเตรียมพร้อมพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถแข่งกับผู้อื่นได้ในเชิงประกอบธุรกิจเจ้าของกิจการ” “อย่างไรก็ตามผมคิดว่าการที่เรียนที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.บูรพา อย่างแรกคือได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น พัฒนาทักษะทั้งทางทฤษฎี และปฏิบัติ เพื่อประยุกต์ใช้ต่อไปในอนาคต อีกทั้งจะทำให้ผมได้ฝึกการเข้าสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การทำกิจกรรมเป็นหมู่คณะ ได้รับการฝึกอบรมด้านคุณธรรม และจริยธรรมจากรุ่นพี่ และอาจารย์ผู้สอน และได้รับการฝึกพัฒนาทางจิตใจให้เข้มแข็ง มีความอดทนอดกลั้น เพื่อนำไปใช้ในการทำงาน ผมอยากฝากถึงเพื่อนๆ ที่จะจบรุ่นเดียวกัน การพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษ มีความจำเป็นอย่างมาก เมื่อประเทศไทยเข้าสู่อาเซียนแล้ว เพราะปัจจุบันนี้ ภาษาอังกฤษ ถือว่าเป็นจุดอ่อนสำคัญของคนไทย แต่ก็อย่าลืมพัฒนาจริยธรรมควบคู่ไปด้วย ซึ่งจะทำให้เพื่อนๆ จะมีอาวุธทางปัญญาไว้ใช้เลี้ยงชีพตัวเองได้ภายใต้วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งประชาคมอาเซียน” อังค์โทนี่กล่าวทิ้งท้าย ด้านนายพชรยษฐ์ ธุระทำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ชั้นปีที่ 1 เจ้าของรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 การแข่งขันสร้างภาพเคลื่อนไหว(Animation3D) ในงานแข่งขันศิลปะหัตถกรรมนักเรียนระดับประเทศ ปี 2552 โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อีกทั้งยังเคยเป็นประธานชมรมเรารักประชาธิปไตย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2553 และคณะกรรมการนักเรียนแห่งชาติ ปี 2554 สมัยมัธยมปลายขณะเรียนที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย กล่าวว่า “สาเหตุที่ผมเลือกเรียนวิศวกรรมศาสตร์ เพราะชอบด้านการประดิษฐ์ อีกทั้งต้องการพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพื่อพัฒนาสังคมและวิถีชีวิตของมนุษย์ โดยเลือกเรียนที่มหาวิทยาลัยบูรพาเพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐาน บรรยากาศดีเอื้อต่อการศึกษา ติดทะเล อยู่ในพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งภาคตะวันออก และยังมีระบบการศึกษาด้านภาษาที่ดี ซึ่งนับว่าเป็นความได้เปรียบอย่างยิ่งในการทำงานในอนาคตและการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งตั้งแต่วันแรกที่ได้สัมผัสที่นี่รู้สึกประทับใจในการต้อนรับขอรุ่นพี่เพราะรุ่นพี่ได้ดูแลอย่างดี คอยตักเตือนอบรมในทุกเรื่องๆ นับได้ว่าอบอุ่นมากๆ นอกจากความประทับใจในรุ่นพี่แล้ว ยังประทับใจบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเพราะ สภาพแวดล้อมแบบนี้ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี ทำให้มีวิถีชีวิตประจำวันที่ดีและมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้มากขึ้น และในการเรียนที่นี่ ผมได้เรียนรู้พื้นฐานด้านการประกอบอาชีพ จิตสำนึกการเรียนรู้ด้วยตัวเอง จิตสำนึกความเป็นผู้นำ และโดยเฉพาะกฎ 4 ข้อ ที่ได้ถูกปลูกฝังเข้าในจิตสำนึกพวกเรานิสิตชั้นปีที่หนึ่ง คือ 1.ความมีสัมมาคารวะ 2.ความเคารพในความเป็นคน 3.การปรับตัวและจิตสำนึกความเป็นประชาธิปไตย ความสามัคคี 4.มีความรับผิดชอบต่อตัวเองและส่วนรวม ซึ่งในปีที่ผมจบการศึกษานั้นประเทศไทยได้เข้าสู่อาเซียนแล้ว ด้วยจำนวนประชากรโดยประมาณของ AEC มีประมาณ 600 ล้านคน และประเทศไทยมีความเติบโตด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับสองในกลุ่มประเทศAEC ซึ่งถ้ามีการเปิดประชาคมอาเซียนขึ้นเมื่อไหร่ ไทยจะกลายเป็นศูนย์ด้านกลางการนำเข้าและส่งออกรวมทั้งด้านอุตสาหกรรมและด้านคมนาคม เพราะไทยมีภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลางกลุ่มประเทศกลุ่มประชาคมอาเซียน ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับคือ การเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น มีขนาดตลาดที่ค้าขายได้เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นผมกำลังเตรียมตัวเรื่องความชำนาญเฉพาะด้านและโดยเฉพาะเรื่องทักษะภาษา เพราะการที่เปิดประชาคมอาเซียนนั้นทำให้สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ 7 กลุ่มอาชีพได้อย่างเสรีตามข้อตกลง MRAs ซึ่งวิศวกร เป็นหนึ่งใน 7 อาชีพนั้น ซึ่งผมคิดว่าถ้าหากเรายังอ่อนเรื่องภาษา โอกาสที่แรงงานฝีมือในประเทศอื่นจะเข้ามาแย่งงานเรามีสูง แต่อย่างไรก็ตาม การที่ผมเรียนจบในช่วงเปิดประชาคมอาเซียนใหม่ๆนับเป็นโอกาสดีเพราะผมจะได้เป็นแรงงานกลุ่มแรกๆที่ได้มีการแลกเปลี่ยนแรงงานฝีมือในอาชีพ ทำให้โอกาสการทำงานงานมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า โอกาสการมีงานทำ แปรผันตรงกับ ความสามารถ ซึ่งผมมั่นใจในสถาบันแห่งนี้ที่สามารถทำให้ผมเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพพร้อมเข้าสู่อาเซียนได้เป็นอย่างดี” พชรยษฐ์ยังฝากถึงเพื่อนๆ ให้หมั่นพัฒนาทักษะทางวิชาชีพตัวเองให้ดีต้องเริ่มเรียนรู้ในตอนนี้ โดยหมั่นพัฒนาทักษะทางด้านภาษาให้มากๆ จึงจะไปแข่งขันกับแรงงานฝีมือต่างประเทศได้ และมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้ แต่ถ้ามองให้ดี มหาวิทยาลัยไม่ได้ให้แต่เรื่องวิชาการแต่ยังมีอะไรต่างต่างอีกมากมายหากเราเปิดใจรับมัน ถ้าเราใช้เวลา4ปีในมหาวิทยาลัยนี้ให้คุ้มค่าและเป็นประโยชน์ ชีวิตการทำงานในAECก็ไม่ใช่ปัญหา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ