กรุงเทพฯ--21 ก.ค.--เนคเทค เรื่อง “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์…กับผลกระทบเมื่อมีการบังคับใช้” วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม 2547 เวลา 09.00—15.00 น. ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์ ซี โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ จัดโดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานกิจการยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภาทนายความ หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย 1.หลักการและเหตุผล แม้มนุษย์จะได้นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายก็ตามแต่ในทางกลับกันหากมีการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในทางมิชอบก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหรือส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแก่สังคมได้ โดยเป็นที่มาของการเกิดอาชญากรรมรูปแบบใหม่ที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ซึ่งประเทศต่างๆก็ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนา “กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์(Computer Crime Law)” มากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งที่อยู่ในรูปของการบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นใหม่หรือปรับแก้กฎหมายเดิมที่ใช้บังคับอยู่ให้สามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ ประเทศที่พัฒนาและบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขึ้นใช้บังคับแล้วอาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นต้น และอีกหลายๆ ประเทศที่อยู่ระหว่างการพัฒนากฎหมายขึ้นเพื่อใช้บังคับรวมทั้งคณะมนตรีแห่งยุโรป (Council of Europe) ก็ได้จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยอาชญา-กรรมทางคอมพิวเตอร์ (Convention onCybercrime) ขึ้นเมื่อปี 2001 ซึ่งนับเป็นอนุสัญญาฉบับแรกที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประเทศสมาชิกคณะและประเทศอื่นที่สนใจร่วมลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญาดังกล่าวได้เพื่อที่ประเทศต่างๆ จะได้มีกฎหมายภายในทั้งส่วนกฎหมายสาระบัญญัติและวิธีสบัญญัติที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมถึงมีกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ได้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2546 และผ่านการพิจารณาของ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีการปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาจากร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีค่อนข้างมาก ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในกระบวนการนิติบัญญัติเป็นไปอย่างรอบคอบและมีเนื้อหาที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นถึงข้อดี หรือข้อบกพร่อง ที่จะต้องมีการปรับปรุงเพิ่มเติมในร่างพระราชบัญญัติ รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ด้านกฎหมายได้อย่างแท้จริง 2. วัตถุประสงค์ 2.1 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกา 2.2 เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมโดยตรงและ จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพื่อการปรับปรุงเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติว่าด้วย อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. รวมถึงประเด็นปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมายในอนาคต 3. กลุ่มเป้าหมาย ผู้เข้าร่วมการเสวนา ประมาณ 300 คน ได้แก่ *ผู้พิพากษา ประมาณ 50 คน * อัยการ ประมาณ 50 คน * เจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 50 คน * นักเทคโนโลยีและผู้ที่เกี่ยวข้องจากภาคเอกชน ประมาณ 150 คน 4. รูปแบบการจัดงาน เป็นการสัมมนาและเสวนาทางวิชาการ โดยวิทยากรทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 5. วัน เวลา สถานที่ วันพฤหัสบดี ที่ 22 กรกฎาคม 2547 เวลา 09.00 —15.00 น. ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์ ซี โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น หลักสี่ 6. หน่วยงานที่จัด * กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร * สำนักงานศาลยุติธรรม * สำนักงานกิจการยุติธรรม * สำนักงานอัยการสูงสุด * สำนักงานตำรวจแห่งชาติ * สภาทนายความ * หอการค้านานาชาติแห่งประเทศไทย * ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. กำหนดการ 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 — 09.10 กล่าวรายงาน โดย ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (เนคเทค) 09.00-09.15 น. กล่าวเปิดงาน โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 09.15-12.00 น. “การปรับแก้กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์… เพื่อรับมืออาชญากรออนไลน์” * สรุปภาพรวมการปรับแก้กฎหมาย โดย ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล (เนคเทค) * สาระสำคัญของกฎหมาย โดย - รศ.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ (คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) * มุมมองทางด้านการนำไปปฏิบัติ โดย - นายชวลิต อัตถศาสตร์ (สภาทนายความ) - นายตฤณ ตัณฑเศรษฐี (บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)) - นายปริญญา หอมเอนก (ศูนย์ฝึกอบรมระบบเครือข่ายและความปลอดภัยข้อมูล) - นายวันฉัตร ผดุงรัตน์ (พันธุ์ทิพย์ดอทคอม) ร่วมเสวนาและดำเนินรายการโดย นางสุรางคณา วายุภาพ 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.00-15.00 น. การรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนา” โดย ผู้เข้าร่วมเสวนา หมายเหตุ วิทยากรอยู่ระหว่างการยืนยันและการเสวนาในช่วงเช้ามีพักรับประทานอาหารว่าง--จบ----อินโฟเควสท์ (นท)--