รัฐบาลสหรัฐคัดเลือกเอเอ็มดีให้รับผิดชอบโครงการด้านวิศกรรรม และกำหนดอนาคตของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing)

ข่าวเทคโนโลยี Thursday August 9, 2012 17:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส บริษัท เอเอ็มดี ประกาศว่า บริษัทได้รับเลือกให้ดำเนินโครงการวิจัย 2 โครงการรวมมูลค่า 12.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดมหึมา (Extreme-Scale Computing Research and Development Program) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “FastForward” ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DOE) โดยโครงการทั้ง 2 แบ่งเป็น โครงการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีตัวประมวลผล มูลค่า 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีหน่วยความจำ มูลค่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หน่วยประมวลผล AMD Opteron? ซึ่งคว้ารางวัลจากหลายสถาบัน ได้เข้าไปเป็นขุมพลังขับเคลื่อนการทำงานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลกจำนวนหลายระบบ และบริษัทยังเป็นผู้สร้างสรรค์ เทคโนโลยีหน่วยเร่งการประมวลผล (APU) รายแรกและรายเดียวของโลกในขณะนี้ โครงการ FastForward เป็นโครงการทำงานร่วมกันด้วยเงินทุนสนับสนุน จากสำนักงานวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ และสำนักบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ (NNSA) เพื่อริเริ่มการสร้างเครือข่ายพันธมิตรกับบริษัทต่างๆ และกระตุ้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำคัญๆ ที่จำเป็นต่อระบบคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดมหึมา บนเส้นทางของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรรถนะในการประมวลผลระดับซูเปอร์คอมพิวเตอร์หลักเอ็กซาฟลอป หรือความเร็วในการประมวลผลชุดคำสั่งได้ถึงล้านล้านหน่วยต่อวินาที (Exascale Computing) เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ Exascale Computing เป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงและมีความสำคัญยิ่ง ต่อการสร้างพลังในการคำนวณของคอมพิวเตอร์ให้ก้าวสู่ระดับที่สูงยิ่งขึ้น ซึ่งจำเป็นต่อความเจริญรุ่งเรือง และความมั่นคงปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา โดยแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐคือการเสาะหาอย่างเร่งด่วนที่สุดที่ทำให้การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของเหตุการณ์จำลองสามารถเกิดขึ้นได้จริง ด้วยซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale Supercomputers ที่มีความเร็วในการประมวลผลระดับสูงสุดของโลก ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale จะได้รับการพัฒนาด้านสมรรถนะที่สามารถคำนวณด้วยความเร็วสูงถึง 1 ควินทิลเลียน (quintillion) หรือพันล้านพันล้านหน่วยต่อวินาที หรือเร็วกว่าระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันถึง 1,000 เท่า โดยได้รับการออกแบบให้เป็นการพัฒนาเพื่อหลุดพ้นจากข้อจำกัดที่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเผชิญอยู่ ด้วยการลดระยะเวลาที่คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการตามโปรแกรม (run time) ให้สั้นลง ซึ่งมีความสำคัญต่อสมรรถนะในการคำนวณ และปรับปรุงความสามารถในการทำงานด้านการวิเคราะห์แบบลงรายละเอียดของระบบที่มีความซับซ้อน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์, ฟิสิกส์ดาราศาสตร์, การทำแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ และความมั่นคงของชาติ ล้วนแล้วแต่มีแอพพลิเคชั่นที่ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลระดับมหึมา (Extreme Computing) "เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลขนาดใหญ่มาก สำนักบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ และสำนักงานวิทยาศาสตร์ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ กำลังดำเนินขั้นตอนเชิงรุกในการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ในสาขาหลักๆ ได้แก่ เทคโนโลยีตัวประมวลผล, เทคโนโลยีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูล และเทคโนโลยีหน่วยความจำ ร่วมกับเอเอ็มดี และพันธมิตรรายอื่นๆ” นายทุค ฮวง จากสำนักบบริหารความมั่นคงทางนิวเคลียร์แห่งชาติ ของกระทรวงพลังงานสหรัฐกล่าว และเสริมว่า “หัวใจของความสำเร็จในการพัฒนาศักยภาพคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (HPC) ยุคต่อไปก็คือ การนำโนว์ฮาว และมันสมองที่ล้ำเลิศของผู้นำในอุตสาหกรรมและห้องปฏิบัติการแห่งชาติ เข้ามาทำงานร่วมกันบนความท้าทายที่ยิ่งใหญ่นี้” “เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับคัดเลือกสำหรับโครงการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงก้าวข้ามไปสู่ขอบเขตที่สูงขึ้น” นายอลัน ลี รองประธานบริหารฝ่ายองค์กร ซึ่งรับผิดชอบงานวิจัยและพัฒนาขั้นก้าวหน้า ของเอเอ็มดีกล่าว พร้อมทั้งระบุเพิ่มเติมว่า “ เอเอ็มดี เป็นพันธมิตรชั้นนำในด้านเทคโนโลยี สำหรับผู้ให้บริการคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงชั้นนำของโลกหลายราย และเงินทุนจากกระทรวงพลังงานสหรัฐในครั้งนี้ ก็จะนำมาสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอันสำคัญยิ่ง ซึ่งจะช่วยให้เกิดระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับมหึมา ที่ประหยัดพลังงาน และมีสมรรถนะการประมวลผลในระดับสูง พร้อมกันนนี้ เอเอ็มดี จะเดินหน้าทำงาน เพื่อขับเคลื่อนความเร็วในการเข้าถึงหน่วยความจำ และความเร็วในการสื่อสาร ให้ล้ำหน้ายิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับสถาปัตยกรรมที่ใช้ตัวประมวลผลที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระดับ Exascale ที่มีตัวประมวลผลติดตั้งอยู่หลายพันตัว” ขณะที่ ดร.วิลเลี่ยม เจ.แฮร์รอด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย ประจำสำนักงานวิทยาศาสตร์ กระทรวงพลังงานสหรัฐ , ASCR ก็ระบุว่า “เทคโนโลยีในการประมวลผลขนาดใหญ่มาก จะทำให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในอีกระดับที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง สามารถทำงานที่สูงขึ้นจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่พลังการประมวลผลในหลักเพทาฟล็อป (Petascale Computers) ในปัจจุบันถึง 1 พันเท่าตัว ขณะเดียวกัน ก็ประหยัดพื้นที่ และพลังงาน “ ปัจจุบัน ตัวประมวลผล AMD Opteron ได้ถูกนำไปใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำของโลกมากมาย โดยรวมถึง ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Roadrunner ของไอบีเอ็ม ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอส อลามอส ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ ซึ่งเมื่อปี 2551 ถือว่าเป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลในระดับ เพทาฟล็อป ที่มีความเสถียร นอกจากนี้ ยังมีการนำไปใช้ในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการประมวลผลในระดับเพทาฟล็อปเครื่องที่ 2 ของโลก คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Jaguar ของบริษัท เครย์ (Cray) ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊ค ริดจ์ นอกจากนั้น กระทรวงพลังงานสหรัฐ ยังประกาศเมื่อฤดูใบไม้ร่วงปีที่ผ่านมา ว่าจะมีการติดตั้งตัวประมวลผลตระกูล AMD Opteron? 6200 จำนวน 19,200 ตัว เพื่อเป็นขุมพลังให้กับการประมวลผลของระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใหม่ในชื่อ Titan ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊ค ริดจ์ โดยมีการคาดหมายว่า จะช่วยเพิ่มสมรรถนะการประมวลผลสูงสุดได้เกินกว่า 20 เพทาฟล๊อป เมื่อมีการใช้งานเต็มที่ในต้นปี 2557 ทั้งนี้ ตัวประมวลผล AMD Opteron ยังได้รับเลือกสำหรับโครงการระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Blue Waters ที่ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ประยุกต์แห่งชาติ (National Center for Supercomputing Applications) ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ที่เออร์แบนา-แชมเปญจ์ (Urbana-Champaign)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ