ฟรอสต์ฯ คาด ไทยและอินโดนีเซียหนุนให้ตลาดยานยนต์อาเซียนใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ภายในปี 2561

ข่าวทั่วไป Tuesday August 21, 2012 17:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก คาดการณ์ตลาดยานยนต์ของภูมิภาคอาเซียนจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ภายในปี 2561 นาย วิจาเยนดรา ราว ผู้จัดการฝ่ายวิจัยด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก กล่าวว่า กลุ่มอาเซียนเริ่มมีบทบาทในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากขึ้นนับตั้งแต่มีการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2553 ที่ผ่านมา จากผลการศึกษาและวิจัยเรื่อง CEO 360 Degree Perspective of the Automotive Industry in ASEAN ของบริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ซึ่งครอบคลุม 4 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และประเทศไทย พบว่า ตลาดดังกล่าวมีอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 10.1 ในช่วงระหว่างปี 2554- 2561. นายวิจาเยนดรากล่าวว่า ภายในปี 2556 ยอดขายรถยนต์ของประเทศไทยและอินโดนีเซียจะสูงถึง 1 ล้านหน่วย เนื่องจากความต้องการภายในประเทศ กำลังซื้อที่เพิ่มขึ้น และเม็ดเงินลงทุนจาก OEM ของญี่ปุ่น “บริษัทรถยนต์หลายแห่งจากประเทศจีนและอินเดียกำลังหาช่องทางที่จะขยายตลาดในอาเซียน เนื่องจาก อาเซียนเป็นฐานการผลิตที่มีประสิทธิภาพแข็งแกร่ง” นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนยังให้ความเห็นเกี่ยวกับประเทศไทยว่า ประเทศไทยยังสามารถเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียนได้เนื่องจากมีเม็ดเงินลงทุนมาจาก OEM ของญี่ปุ่น รวมไปถึงงบประมาณการสนับสนุนจากรัฐบาลอีกด้วย ประเทศไทย นายวิจาเยนดรากล่าวว่า ผลกระทบจากแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นและอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้วส่งผลให้การผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยได้หยุดชะงักลง และส่งผลกระทบต่อยอดขายโดยรวม อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้การผลิตและยอดขายต่างๆจะสามารถฟื้นตัวได้ “รถปิคอัพ ยังคงเป็นรถที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะมีอัตราการเติบโตในปีที่แล้วต่ำกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ในปีที่ผ่านมา” นายวิจาเยนดรา เปิดเผย อย่างไรก็ตาม คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังชอบรถที่มีขนาดเล็ก ซึ่งรวมถึง อีโคคาร์ เนื่องจากความทันสมัยและราคาไม่สูงมากนัก โดยเฉพาะแบบ 5 ประตู (Hatchbacks) ซึ่งสื่อถึงความเป็นสปอร์ตคาร์ และความเร็วของเครื่องยนต์ ในปีที่ผ่านมา เซ็กเมนต์ของรถยนต์โดยสารมีการขยายตัวถึงร้อยละ 3.9 (year on year) ในขณะที่ยอดขายของรถปิคอัพลดลงร้อยละ 4.9 (year on year) สำหรับกำลังการผลิตรถยนต์ของประเทศไทย คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต (CAGR) จากปี 2554- 2561 อยู่ที่ร้อยละ 11.9 ส่วนยอดขายทั้งหมดจะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 16.1 (CAGR) และคาดว่าการผลิตรถเพื่อการโดยสารจะมีโอกาสแซงหน้ารถเพื่อการพาณิชย์ในอนาคตอันใกล้ นายวิจาเยนดรา เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกกลาง และโอเชียเนีย ยังคงเป็นจุดหมายหลักของการส่งออกยานยนต์ของไทย ซึ่งร้อยละ 73.9 ของยานยนต์ที่ส่งออกทั้งหมดเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมาได้ถูกส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคดังกล่าว “ความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยมีความซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งยังมีต้องการรถที่มีคุณสมบัติต่างๆเหล่านี้เพิ่มขึ้น อาทิ ระบบเบรค ABS ระบบแอร์แบค รวมถึงระบบที่คอยอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ระบบจีพีเอส และดีวีดี หรือทีวี เพื่อความบันเทิง เป็นต้น” “ผู้ผลิตรถยนต์ต่างชาติที่มีฐานการผลิตในประเทศไทยมีแผนการที่จะออกเปิดตัวรถรุ่นใหม่มากถึง 40 โมเดลในอนาคต โดยรวมถึง รถแบบ 5 ประตู และอีโคคาร์ “ ยอดขายยานยนต์ทั้งหมดในประเทศไทย คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 16.1 ในปี 2554- 2561 (CAGR) โดยมียอดสูงถึง 2.26 ล้านหน่วยในปี 2561 เนื่องจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเชิงบวก และการนำเสนอรถรุ่นใหม่ๆซึ่งมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ การสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบต่างๆ อาทิ โครงการรถคันแรก จะช่วยกระตุ้นความต้องการภายในประเทศในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี อินโดนีเซีย ปีที่ผ่านมาถือเป็นปีแห่งความโชคดีของตลาดยานยนต์ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากปริมาณการผลิตทั้งหมดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.9 (year on year) ถึงแม้ว่าจะมีการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และภัยพิบัติทางธรรมชาติในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย ทำให้อินโดนีเซียเป็นตลาดยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน มูลค่าการส่งออกยานยนต์ของอินโดนีเซียมีมูลค่าสูงถึง 203.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน โดยรถนำเข้าแบบทั้งคัน (CBU) โตขึ้นร้อยละ 25.8 หรือ 107,932 หน่วยในปี 2554 รถอเนกประสงค์ (Multi-purpose vehicles - MPV) เป็นรถที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในตลาดอินโดนีเซีย เนื่องจากรถที่ขายดีที่สุด 5 อันดับแรกมาจากเซ็กเมนท์นี้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม คอมแพคคาร์ โดยเฉพาะแบบ 5 ประตู ก็ยังคงเป็นที่นิยมในกลุ่มคนหนุ่มสาวที่ต้องเดินทางไปมาอยู่ตลอด ยอดขายโดยรวมของอินโดนีเซีย คาดว่าจะมีอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 8.7 ในปี 2554- 2561 โดยมียอดสูงถึง 1.6 ล้านหน่วยในปี 2561 เนื่องจาก การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ความเชื่อมั่นในเชิงบวกของผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ และการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆของผู้ผลิตต่างๆ และมีกำลังการผลิตยานยนต์ของประเทศอินโดนีเซียมีอัตราการเติบโต (CAGR) อยู่ที่ร้อยละ 9 ในปี 2554- 2561 อินโดนีเซียมีแนวโน้มว่าจะเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ราคาถูกและรักษาสิ่งแวดล้อม (Low-cost green vehicles) ในอนาคต และยังเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนเนื่องจากกำลังการผลิตของผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของตลาดในระดับนานาชาติ มาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียได้ขยายการยกเว้นภาษีเต็มรูปแบบของภาษีนำเข้าและอากรขาภาษีสรรพสามิตของ รถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับรถที่มีขนาดเล็กกว่า 2,000 ซีซีจนถึงปลายปีหน้า ซึ่งนโยบายดังกล่าวทำให้ยอดขายรถรุ่นไฮบริดต่างๆ อาทิ Honda Insight, Toyota Prius และ 200H Lexus CT มีการเติบโตอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตรถยนต์ต่างๆควรมีการให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และให้ความสำคัญกับความกังวลของลูกค้าเกี่ยวกับค่าบำรุงรักษารถยนต์ รวมถึงการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ๆเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้มากขึ้น เวียดนาม นอกจากจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ไม่เป็นในปีที่ผ่านมา ยอดขายยานยนต์ทั้งหมดของเวียดนามลดลงร้อยละ 2 และคาดว่ายอดขายในปี 2555 จะลดลงถึงร้อยละ 12 (year-on-year) ซึ่งเป็นผลกระทบจากนโยบายต่างๆของรัฐบาล อาทิ การจำกัดจำนวนรถยนต์นำเข้า และการจำกัดกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ส่วนตัวของประชาชน อย่างไรก็ตาม ความต้องการรถยนต์นั่ง (Passenger cars) โดยเฉพาะขนาด 2.0 CC หรือต่ำกว่านั้น ยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจาก เหมาะกับสภาพถนนในประเทศเวียดนามและประหยัดเชื้อเพลิงมากกว่า รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: For more information, please contact: Sasikarn Watt. Corporate Communications — Thailand Frost & Sullivan 02 637 74 14 E: sasikarn.watt@frost.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ