การสัมมนา”เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ของกระทรวง พม.” รายงานความคืบหน้าเสาสังคมและวัฒนธรรม

ข่าวทั่วไป Thursday August 23, 2012 17:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--พม. การสัมมนา”เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ของกระทรวง พม.” รายงานความคืบหน้าเสาสังคมและวัฒนธรรม โดย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1. นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธาน ปลัด กต. และ ปลัด พม. เป็นรองประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่ได้รับมอบหมาย (นางระรินทิพย์ ศิโรรัตน์) เป็นกรรมการและเลขานุการ และมีกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย ผู้แทนกองอาเซียน 4 ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมืออาเซียน สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนสำนักการประชาสัมพันธ์ต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ และผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่ได้รับมอบหมายจำนวน 2 คน 2. คณะกรรมการขับเคลื่อนการเป็นประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ได้จัดประชุมครั้งที่ 1/2555 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2555 โดยมี รมว.พม. เป็นประธาน และได้พิจารณาในเรื่องการกำหนดท่าทีไทยในเรื่อง ASCC Fund การสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต การติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานของแต่ละสาขาความร่วมมือภายใต้ ASCC Blueprint และการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผลการดำเนินงานประจำปีของไทย ภายใต้แผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม โดยสรุปได้ดังนี้ ความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้เสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ด้านการศึกษา - ความคืบหน้าเกี่ยวกับถ่ายโอนหน่วยกิต กำลังเร่งดำเนินการคือได้ทำไปแล้วกว่าหนึ่งหมื่นสองพันหลักสูตร แต่ต้องมีการหารือในรายละเอียดระหว่างมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม - การจัดทำ source book on ASEAN เพื่อเป็นเอกสารการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน ประเทศไทยได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว สำหรับระดับประถม 1-6 และคาดว่าจะนำไปเป็นต้นแบบให้กับประเทศอาเซียนอื่น ๆ - การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ไทยมีแนวคิดที่จะให้ทุนการศึกษาแก่ประเทศสมาชิกอีก 9 ประเทศ ๆ ละ 5 ทุน จะเริ่มดำเนินการในปีหน้า มหาวิทยาลัยไทยที่ร่วมโครงการคือ จุฬาลงกรณ์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยชินวัตร สาขาวิชาที่ให้เลือกเรียน ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ กฎหมายระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านแรงงาน - การส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ตามโครงการ ASEAN Guidelines on the Development of National Framework for Skills Recognition Arrangement หรือ SRA มีความคืบหน้าในการจัดทำมาตรฐานฝีมือแรงงานไปมาก โดยเฉพาะกัมพูชานอกจากการพัฒนามาตรฐานฝีมือแล้ว ยังได้มีการเปิดศูนย์บริการจัดหางานทั่วประเทศ ลาวพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงานไปแล้ว 13 สาขาอาชีพ และไทยทำไปแล้ว 22 สาขาอาชีพและกำลังขยายให้ได้ 120 สาขาอาชีพ - ในส่วนที่เกี่ยวกับ ASEAN Guidelines on Essential Workplace Action for Enterprises on the Prevention and Management of HIV and AIDs ในคราวประชุม SLOM ที่กรุงพนมเปญที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกได้ให้ความเห็นชอบกับ Guideline เรียบร้อยแล้ว ยกเว้นประเทศสิงคโปร์ที่ขอตั้งข้อสงวน ในข้อที่ห้ามมีการตรวจหาเชื้อ HIV/AIDs สำหรับคนสมัครเข้าทำงาน - ยังมีประเด็นที่น่าเป็นห่วงสำหรับแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องค่าใช้จ่ายในส่วนของไทยในการดูแลรักษาแรงงานต่างด้าว ซึ่งได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษาปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวแล้ว - ไทยได้มีมาตรการผ่อนปรนสำหรับแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาในไทยด้วยการต่ออายุหนังสืออนุญาตทำงาน แต่ในปี 2556 นี้จะไม่มีมาตรการผ่อนปรนแล้ว - ยังมีปัญหาเกี่ยวกับความคืบหน้าของ ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers เนื่องจากมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศที่ส่งออกแรงงานและรับเข้าแรงงาน ด้านการกีฬา - เป็นสาขาใหม่ที่เกิดขึ้นภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และได้รับความเห็นชอบให้บรรจุเข้าไว้ใน ASCC Blueprint ภายใต้เป้าหมายการพัฒนามนุษย์ เรียบร้อยแล้ว - มีการประชุมระดับ SOM ไปแล้วหนึ่งครั้งเมื่อปี ๒๕๕๔ ที่อินโดนีเซีย มีการให้ความเห็นชอบ TOR ของกลไกความร่วมมือด้านกีฬา - จะมีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีในปีนี้ โดยมาเลเซียแจ้งที่จะรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม คาดว่าในเดือนกรกฎาคมนี้ ด้านเกษตร - ความมั่นคงทางอาหาร มีความคาบเกี่ยวในทั้งสามเสาหลัก ซึ่งมีความคืบหน้าในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร ประเภทพืช ปศุสัตว์ และประมง และมาตรฐานสินค้าพืชสวน การวัดระดับค่าการตกค้างของสารพิษ - ระบบสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียนบวกสาม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นฝ่ายดูแลงานเลขานุการ กระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า การจัดตั้งกองทุนสำรองข้าว (นายจะไปสอบถามว่าเป็นอันเดียวกันกับที่กระทรวงพาณิชย์พูดหรือไม่) ยังไม่มีผลบังคับใช้ เนื่องจากมีเพียงสามประเทศที่ให้สัตยาบัน คือ ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา ทั้งนี้จะต้องมีประเทศสมาชิกอย่างน้อย 6 ประเทศ และจากประเทศบวกสามอีก 1 ประเทศ จึงจะมีผลบังคับใช้ ด้านภัยพิบัติ - AHA Center ในการให้สัตยาบันของไทย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีหนังสือเสนอเพื่อขอให้ รมว.กต. เป็นผู้ลงนามในหนังสือให้สัตยาบัน กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ สำหรับการกำหนดให้ทุกประเทศนำเงินเข้าสมทบศูนย์ ประเทศละ 30,000 USD ภายในเวลา 3 ปี ครม. ได้อนุมัติเรียบร้อยแล้ว - ปี 2555 ไทยเป็นประธานคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ มีกำหนดเป็นเจ้าภาพจัดประชุม 2 ครั้ง ครั้งแรกจะจัดในวันที่ 23-25 กรกฎาคม ที่กทม. ส่วนครั้งที่สองจะจัดในช่วงเดือนมกราคมปีหน้า ด้านยาเสพติด - สืบเนื่องจากในคราวประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 20 นายกรัฐมนตรีของไทยรับที่จะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษเรื่องยาเสพติดนั้น ปปส. ได้เตรียมการจัดประชุมในวันที่ 30 สิงหาคม การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน - กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นเจ้าภาพหลักในการสื่อสารและรณรงค์สร้างความตระหนักรับรู้เรื่องอาเซียนให้แก่ประชาชนทั่วไป ได้มีการจัดทำรายการโทรทัศน์และรายการวิทยุเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลด้านประชาคมอาเซียนกับประเทศสมาชิก มีการจัดแข่งขันตอบปัญหาเกี่ยวกับความรู้เรื่องอาเซียนในระดับมัธยมศึกษาของประเทศ มีการจัดตั้งให้สำนักประชาสัมพันธ์เขต จำนวน 8 เขตทั่วประเทศให้เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของอาเซียน ASCC Fund - การจัดตั้งกองทุน ASCC Fund ที่ริเริ่มโดยกัมพูชา ไทยได้มีหนังสือแจ้งตอบไปยังกัมพูชาว่าเห็นชอบในหลักการ แต่ได้ตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ๑) ยังขาดหลักประกันในเรื่องความยั่งยืนของกองทุน ๒) เนื่องจากลักษณะของกองทุนเป็นแบบ Replenish Fund ซึ่งหมายถึงต้องมีการระดมเงินเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีความเห็นว่า กองทุนจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้เป็นข้อบังคับสำหรับรัฐบาลของทุกประเทศสมาชิกในการบริจาคเงินทุนตามจำนวนและเงื่อนไขเวลาที่ทางกองทุนกำหนดไว้ โดยจะต้องมีหนังสือแจ้งยินยอมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และควรมีมาตรการพิเศษสำหรับดำเนินการกับประเทศที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขนี้ได้ - ในคราวประชุม SOC-COM ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่สำนักเลขาธิการอาเซียนที่ผ่านมา ลาวได้แจ้งที่ประชุมว่า ลาวยังไม่พร้อมที่จะบริจาคเงินเข้าร่วมในกองทุน ASCC นี้ได้ ด้านสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก - ความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก ACWC (พม.) ๑) ACWC ได้จัดประชุมไปแล้วจำนวน 4 ครั้งและครั้งที่ 5 จะจัดประชุมระหว่างวันที่ 2-5 กรกฎาคม 255 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยจะมี open session เพื่อสนทนากับผู้แทนเด็กจากโครงการ ASEAN Children’s Forum และผู้แทนภาคประชาสังคมในวันที่ 4 กรกฎาคม 2555 ๒) การพบปะหารือกับผู้แทนองค์กรต่างๆของอาเซียน อาทิ คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (CPR) คณะกรรมการด้านสตรี (ACW) เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD) ผู้แทนภาคประชาสังคม ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการสหประชาชาติที่ดูแลเรื่องความรุนแรงต่อเด็ก และผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ด้านความรุนแรงต่อสตรี รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ UN Women และ UNICEF ๓) แผนดำเนินงานระยะ ๕ ปี: ใกล้จะเสร็จเรียบร้อยแล้วและจะได้นำเสนอต่อประธาน AMMSWD (การประชุมระดับรัฐมนตรีด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา) เพื่อให้การรับรองต่อไป โดยแผน ๕ ปี จะเน้นความสำคัญใน 13 เรื่อง อาทิ การขจัดความรุนแรงที่มีต่อสตรีและเด็ก การค้ามนุษย์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสตรีและเด็ก สตรีและเด็กที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อและได้รับผลกระทบจาก HIV/AIDS การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กพิการ สิทธิการมีส่วนร่วมของเด็กในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ๓) การประสานงานกับ AICHR: เคยมีการหารือไปแล้วสองครั้ง โดยครั้งสุดท้ายจัดที่บาหลีเมื่อ 30 พ.ย. 2554 แต่ไม่สามารถตกลงกันได้และเห็นพ้องต้องกันว่าจะมีประชุมเพื่อหารือกันใหม่แต่ยังไม่กำหนดวัน ๔) การจัดระดมเงินทุนตั้งต้นเพื่อการดำเนินงานของ ACWC: ACWC จะมีการยกร่าง TOR เพื่อการนี้ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับเด็กและสตรีในอาเซียนที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรง รวมถึงการสร้างเครือข่ายของหน่วยงานที่ทำงานด้านบริการสังคมของ ACWC โดยในเรื่องกองทุนต่างๆ นี้ยังอยู่ในระหว่างการหารือและพิจารณารายละเอียด ๕) การจัดทำ Statement/Declaration on the VAW and VAC เพื่อเสนอให้ผู้นำพิจารณาให้ความเห็นชอบในช่วงประชุมสุดยอด (เอกสารของกัมพูชาระบุไว้เป็นภายในปี ๒๕๕๕) แต่ ACWC ยังไม่ได้กำหนดว่าจะนำเสนอในการประชุมครั้งที่เท่าไหร่ โดยในการประชุม ACWC ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 2-5 ก.ค. ที่จาการ์ตา จะมีการพิจารณาเอกสารนี้ด้วย - ASEAN-UNICEF Framework for Cooperation: ซึ่งเป็นแผนความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับยูนิเซฟ โดยมีภารกิจครอบคลุมไปถึง ASEAN Sectoral Bodies คือ SOMHD, SOMSWD และ ACWC ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนที่ประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการระดับประเทศเพื่อให้ความเห็นชอบและอนุญาตให้ เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้แทนฝ่ายอาเซียนในการลงนามร่วม กับผู้แทนฝ่ายยูนิเซฟ สำหรับประเทศไทยได้นำเรื่องเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาแล้ว คาดว่าทางสำนักเลขาธิการ ครม จะบรรจุเรื่องไว้ในการประชุม ครม. ในสัปดาห์หน้า ให้เป็นข้อมูลเพื่อพี่อิ่งทราบเฉยๆ ประเด็นที่ ACWC จัดไว้เป็น Top Priority Themes for the first 5-year Work Plan 2012-2016 มี 13 ข้อ ๑) การขจัดความรุนแรงต่อสตรีและเด็ก ๒) การค้าสตรีและเด็ก ๓) สตรีและเด็กที่อาศัยอยู่กับผู้ติดเชื้อและได้รับผลกระทบจาก HIV/AIDS ๔) ผลกระทบทางสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสตรีและเด็ก ๕) การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็กพิการ ๖) ระบบการคุ้มครองเด็ก: แนวทางเชิงบูรณาการ/ครอบคลุมสำหรับเด็กที่ต้องการการคุ้มครองทางสังคม ๗) สิทธิด้านการศึกษาที่มีคุณภาพรวมถึงการดูแลการพัฒนา และการศึกษาเด็กปฐมวัย (Early Childhood Care and Development and Education-ECCDE) ๘) สิทธิการมีส่วนร่วมของเด็กในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ๙) การมีส่วนร่วมของสตรีในทางการเมืองและการตัดสินใจ ธรรมาภิบาลและประชาธิปไตย ๑๐) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในด้านสิทธิทางเศรษฐกิจของสตรีที่เกี่ยวกับความยากจนอันเกิดจากความเป็นผู้หญิง (Feminization of Poverty) สิทธิสตรีในกรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สิน ๑๑) ส่งเสริมการดำเนินการที่เป็นสากลด้านความเสมอภาคทางเพศในการศึกษา (หนังสือเรียน หลักสูตร และการเข้าถึงที่เท่าเทียม) ๑๒) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสมรรถภาพเชิงสถาบันของ ACWC ๑๓) ส่งเสริมการปรึกษาหารือและเจรจากับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชาติและภูมิภาค

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ