Aon Hewitt จับมือ ศศินทร์ จัดโครงการ “สำรวจสุดยอดนายจ้างแห่งปี 2556” ย้ำจุดยืนเป็นผู้นำด้านการพัฒนาต้นทุนมนุษย์ของไทย

ข่าวทั่วไป Monday August 27, 2012 14:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัท Aon Hewitt ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านการบริหารงานบุคคลชื่อดังของโลกจับมือร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศเปิดตัวโครงการ “สำรวจสุดยอดนายจ้างของประเทศไทย” ประจำปี 2556 (Aon Hewitt Best Employers 2.0 —Thailand Study 2013) เพื่อค้นหาบริษัทที่เป็นนายจ้างดีเด่นแห่งปีมาเป็นตัวอย่างของการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน ศ.เติมศักดิ์ กฤษณามระ ผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตฯศศินทร์ เปิดเผยว่า โครงการ “สำรวจสุดยอดนายจ้างแห่งปีนั้น ทาง Aon Hewitt ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2544 ส่วนศศินทร์ได้ร่วมกับ บ. Aon Hewitt ทำโครงการดังกล่าวร่วมกันตั้งแต่ปี 2546 โดยเล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคม และในฐานะที่ศศินทร์เองก็มีหลักสูตรและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงที่สอนด้านการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยกว้างขวางกันดีอยู่แล้วนั้น ทาง Aon Hewitt จึงได้ขอให้อาจารย์ศศินทร์เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวดสุดยอดนายจ้างด้วย โดยศศินทร์ได้มอบหมายให้ รศ.ดร.ศิริยุพา รุ่งเริงสุข กรรมการบริหารและหัวหน้าหลักสูตรการบริหารงานบุคคล สถาบันบัณฑิตฯศศินทร์ เป็นผู้ร่วมดูแลโครงการนี้” ทางด้าน รศ.ดร.ศิริยุพา เปิดเผยว่า ตนเองได้ร่วมงานกับ มร.คูลซาน ซิงค์ Managing Director บ. Aon Hewitt ในโครงการ Aon Hewitt Best Employers 2.0 —Thailand Study 2013 หรือ สำรวจสุดยอดนายจ้างแห่งปี 2013 โดยในปีนี้เป็น Version 2.0 เป็นเพราะว่า ได้เพิ่มประสิทธิภาพการสำรวจและผลประโยชน์ปลายทางขององค์กรที่เข้าร่วมว่า ไม่เพียงแค่การได้รับการรายงานผลเท่านั้น หากแต่การสำรวจในครั้งนี้มีให้คำแนะนำให้ด้วยว่าทำอย่างไรเพื่อให้ได้ตำแหน่งสุดยอดนายจ้างแห่งปี ซึ่งเป็นมูลค่าเพิ่มขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการเพื่อนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบุคคลให้ดียิ่งขึ้น มร. คูลชาน ซิงห์กล่าวว่า ครั้งนี้ความโดดเด่นของการสำรวจอยู่ตรง 4 ประเด็นหลัก ๆ ด้วยกัน คือ 1.ดูว่าพนักงานมีความผูกพันกับองค์กรระดับสูงเพียงใด (High Employee Engagement) 2. ดูว่านายจ้างมีการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่ดึงดูดความสนใจได้เพียงใด (Compelling Employer Brand) 3. เรื่องความโดดเด่นของภาวะผู้นำ (Effective leadership) และประการสุดท้าย คือ การสร้างวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานที่ดีที่มุ่งเน้นผลงาน (High Performance Culture) แถมด้วยการสำรวจมุมมองของผู้บริหารต่อพนักงานและมุมมองของพนักงานที่มองกลับไปว่าที่ผ่านมาบริษัทได้ดูแลตัวเองได้ดีเพียงใด โดยจะทำการเก็บข้อมูลจากพนักงานว่าฝ่ายบุคคลและซีอีโอบริหารพนักงานอย่างไร รศ.ดร. ศิริยุพากล่าวเพิ่มเติมว่า “ การสำรวจสุดยอดนายจ้างของประเทศไทยนั้นจัดขึ้นปีเว้นปี โดยใช้เวลาในการสำรวจเก็บข้อมูล 1 ปี แล้วไปมอบรางวัลให้ในปีถัดไป โดยการสำรวจในปีที่แล้ว แสดงให้เห็นถึงมุมมองของพนักงานมากกว่า 2.5 ล้านคน ใน 800 องค์กร ใน 23 ธุรกิจ ทั่วเอเชียแปซิฟิคใน 9 ประเทศ ได้แก่ จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และ ไทย และองค์กรต่างๆ ก็สามารถเรียนรู้จากองค์กรที่ได้รับรับรางวัลดังกล่าวในประเทศต่างๆ กัน ซึ่งถือได้ว่าการสำรวจเกิดขึ้นได้จากความร่วมมือของทั้ง 2 องค์กรใหญ่และครอบคลุมมาก” “ที่ผ่านมาองค์กรของไทยไม่ค่อยที่จะกล้าเข้าร่วมเพราะกลัวว่าตัวเองจะไม่ดีพอ แต่ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นทำให้องค์กรในปัจจุบันกล้าที่จะยอมรับความจริงว่าตัวเอง “เด่น” หรือ “ด้อย” กว่าองค์กรอื่นเพียงใด และจากการสำรวจของ AonHewitt องค์กรที่ได้ตำแหน่งนายจ้างดีเด่นมักมีผลกำไรมากกว่าองค์กรทั่วไปถึง 2 เท่า ความพึงพอใจของลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้น อัตราการลาออกของพนักงานก็กลับต่ำกว่ามาก” รศ.ดร.ศิริยุพากล่าวเสริม สอบถามข้อมูลข่าวเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศิริลักษณ์ สุจริตตานนท์ (แอน) Asst. Chief of Public Relations โทร 02-218- 3853-4 E-mail: sirilak.sujarittanonta@sasin.edu แพรวทิพย์ ด่านวราวิจิตร PR& Marketing Coordinator โทร. 02-218- 3852 E-mail:Praewthip.danwarawijitr@sasin.edu

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ