อินเทลเตรียมความพร้อมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ก้าวสู่ยุคการประมวลผลแบบโปร่งใส

ข่าวเทคโนโลยี Thursday September 13, 2012 15:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ก.ย.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ ประเด็นข่าว ? อินเทลตอกย้ำการเร่งนำ HTML5 มาใช้โดยให้คงมาตรฐานแบบเปิดต่อไป เพื่อให้เหมาะกับแอพพลิเคชั่นประสิทธิภาพสูงซึ่งใช้งานได้ดีที่สุดบนสถาปัตยกรรมอินเทล ? ผลิตภัณฑ์ใหม่“แมคอาฟี แอนไท-เธฟ” (McAfee Anti-Theft) ช่วยปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อัลตร้าบุ๊ก? โดยเฉพาะ ? ทำความรู้จักกับ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน (Intel?Developer Zone)โครงการใหม่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้กลุ่มธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงเครื่องมือ ชุมชน และแหล่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการติดต่อในเครือข่าย ในงานอินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ ฟอรัม (ไอดีเอฟ) เรเน เจมส์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มซอฟต์แวร์แอนด์เซอร์วิสกรุ๊ปของอินเทลกล่าวถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับระบบประมวลผลแบบโปร่งใส (Transparent Computing) ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยแนวทางการพัฒนาในรูปแบบ “เปิด” เท่านั้น โดยการให้เหล่าบรรดานักพัฒนาซอฟต์แวร์เขียนโค้ดที่สามารถใช้งานข้ามระบบและใช้ได้ในอุปกรณ์หลากชนิดได้ ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและบรรเทาปัญหาทางด้านเทคนิคที่เหล่านักพัฒนาต้องเผชิญอยู่ในทุกวันนี้ เรเน กล่าวว่า “ระบบประมวลผลแบบโปร่งใสจะช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถทำงานข้ามระบบได้ โดยที่ยังคงประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้อย่างต่อเนื่องปัญหาที่ผู้บริโภคและกลุ่มธุรกิจต่างๆกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน คือ มีอุปกรณ์ใช้งานหลายระบบแต่ไม่สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นมาใช้งานร่วมกันได้ ทั้งนี้ เราไม่ได้มุ่งหวังเฉพาะการทำงานในระบบโมบายล์ระบบคลาวด์ หรือพีซีเท่านั้น แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคือ การทำให้องค์ประกอบทั้งหมดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้ว่าจะเป็นการทำงานข้ามแพลตฟอร์มก็ตาม โดยที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้งานในระบบและโครงสร้างชนิดใดก็ได้ ทั้งนี้นักพัฒนาที่นำเอาแนวทางเหล่านี้มาประยุกต์ใช้จึงจะถือเป็นการพัฒนาที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในยุคปัจจุบันได้มากที่สุด” ในปัจจุบันนักพัฒนาซอฟต์แวร์มักจะถูกกำหนดและตีกรอบด้วยกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด แนวทางการสร้างนวัตกรรม หรือความสามารถในการทำกำไร อย่างไรก็ตามอินเทลยังคงมุ่งมั่นที่จะคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่สู่ตลาด พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเปิด โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม ระบบรักษาความปลอดภัย รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่มีต้นทุนต่ำอีกด้วย การพัฒนาเพื่อการใช้งานที่หลากหลาย แม้ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะพยายามยืนกรานที่จะเขียนโค้ดเพียงครั้งเดียวเพื่อการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม แต่ผู้ดูแลแพลตฟอร์มต่างๆกลับไม่เห็นด้วยกับการทำงานในรูปแบบดังกล่าว ทั้งนี้อินเทลเชื่อว่าอีกหนึ่งทางออกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการทำงานข้ามแพลตฟอร์มได้แก่การใช้ HTML5 ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้แก่นักพัฒนาในหลายๆด้าน โดยไม่จำเป็นต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งระหว่างความสามารถในการทำกำไร กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดและแนวทางการสร้างนวัตกรรมนั้นๆ นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังจะได้รับประโยชน์จากการถ่ายโอนข้อมูล แอพพลิเคชั่น รวมถึงอัตลักษณ์ส่วนบุคคลต่างๆ ซึ่งสามารถทำได้ระหว่างระบบปฏิบัติการหรืออุปกรณ์ต่างชนิดกัน ในระหว่างการบรรยาย เรเนยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ HTML5 และมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสนับสนุนให้นักพัฒนาทั้งหลายทำงานในรูปแบบเปิดเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่มีประสิทธิภาพชั้นสูงต่อไป และเพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมย์ในการพัฒนา HTML5 และ JavaScriptนอกจากนี้ เรเนยังได้แถลงถึงโครงการความร่วมมือระหว่างอินเทลและโมซิลลา (Mozilla)ซึ่งจะนำเอาเทคโนโลยี “ริเวอร์ เทล” (River Tail) มาใช้ในรูปแบบของ “พลัก-อิน” (Plug-in)และจะพัฒนาต่อไปเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของเว็บเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟ็อกซ์ เพื่อให้ตอบโจทย์รูปแบบการประมวลผลข้อมูลแบบคู่ขนานสำหรับเว็บแอพพลิเคชั่นในปี 2556 ต่อไป ความได้เปรียบจากระบบรักษาความปลอดภัยของอินเทล ระบบรักษาความปลอดภัยของอินเทลช่วยสร้างความได้เปรียบในแง่ของแนวทางการใช้งาน โดยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อินเทลได้พยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อคงประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของระบบประมวลผล รวมถึงอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ตลอดไปจนถึงศูนย์รวมข้อมูล ในปัจจุบันอินเทลยังได้ร่วมมือกับ แม็คอาฟี (McAfee)เพื่อพัฒนาศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยโดยผนวกรวมความปลอดภัยของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เข้าด้วยกัน ทั้งนี้เรเนยังได้เชิญ ไมเคิล เดอซีซาร์ ผู้บริหารจากทีมแม็คอาฟีร่วมบรรยายบนเวทีในครั้งนี้ด้วย โดยได้กล่าวเสริมถึงบทบาทความสำคัญของระบบการรักษาความปลอดภัย พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงภัยคุกคามที่มาในหลากหลายรูปแบบและซับซ้อนมากขึ้น นอกจากนี้ เดอซีซาร์ ยังได้กล่าวชักชวนให้นักพัฒนาทั้งหลายได้มีโอกาสมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เดอซีซาร์ กล่าวถึงโครงการความร่วมมือกับอินเทลว่า สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจว่าระบบประมวลผลกำลังเดินหน้าไปในทิศทางใด เดอซีซาร์ได้ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของแอพพลิเคชั่นต่างๆ ซึ่งกำลังมุ่งหน้าสู่ระบบคลาวด์ และระบบไอทีซึ่งกำลังมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อการประหยัดพลังงาน การจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ รวมไปถึงแนวทางการใช้งานที่เน้นถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก (Consumerization) อีกด้วย เขายังได้กล่าวเสริมถึงความสำคัญของการออกแบบรูปแบบการใช้งานที่เข้าใจง่ายและเอื้อต่อการทำงานของผู้ใช้ พร้อมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ “แม็คอาฟี แอนไท-เธฟ” (McAfee Anti-Theft)หรือระบบป้องกันการขโมยที่แม็คอาฟีพัฒนาขึ้นเพื่อปกป้องทรัพย์สินและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอัลตร้าบุ๊ก โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผลงานความร่วมมือกับอินเทล เพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ในการรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์และป้องกันการขโมยข้อมูล ในช่วงท้ายเดอซีซาร์ ยังได้กล่าวถึงโอกาสทองของเหล่าบรรดานักพัฒนาต่างๆที่จะได้มีโอกาสเข้าร่วมกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรด้านนวัตกรรมความปลอดภัยของแม็คอาฟี (McAfee Security Innovation Alliance- SIA) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีเพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย การผสานการทำงานของระบบต่างๆให้มีประสิทธิภาพ และการปรับปรุงเพื่อช่วยให้การลงทุนที่มีอยู่เดิมของลูกค้าเกิดประโยชน์สูงสุด โครงการดังกล่าวยังมีเป้าหมายที่จะช่วยลดระยะเวลาในการแก้ปัญหา และลดต้นทุนในการดำเนินงานอีกด้วย การเข้าถึงทรัพยากรและแหล่งข้อมูลของนักพัฒนา เรเนยังได้เปิดตัว “อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน” (Intel Developer Zone) ซึ่งเป็นโครงการใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับกลุ่มธุรกิจและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นช่องทางในการเข้าถึงเครื่องมือ ชุมชน และแหล่งข้อมูล สำหรับการมีส่วนร่วมในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งปัจจุบันต้องเผชิญเงื่อนไขและความท้าทายในรูปแบบต่างๆ อาทิเช่น การคิดริเริ่มรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ ความคาดหวังเกี่ยวกับการใช้งานผ่านหน้าจอระบบสัมผัส อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และการเข้าถึงระบบคลาวด์ เป็นต้น โครงการนี้มุ่งเน้นเพื่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูลของนักพัฒนาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และปรับตัวอย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการตลาด รวมทั้งผลักดันให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการทำงานและพัฒนาโดยระบบการปฏิบัติงานและแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ทรัพยากรและแหล่งข้อมูลเพื่อการพัฒนา:เครื่องมือและอุปกรณ์ในรูปแบบของซอฟต์แวร์ การฝึกอบรม คู่มือสำหรับนักพัฒนา โค้ดตัวอย่าง ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสามารถสร้างรูปแบบการใช้งานรูปแบบใหม่ๆข้ามแพลตฟอร์มได้ โดยภายในไตรมาศที่ 4 ของปี 2555 นี้ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน จะเปิดตัว ดิเวลล็อปเปอร์ โซน สำหรับ HTML5 ซึ่งจะมุ่งเน้นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นข้ามแพลตฟอร์ม รวมถึงการให้คำแนะนำนักพัฒนาเกี่ยวกับการใช้งาน HTML5 ผ่านApple*iOS*, Google* Android*, Microsoft* Windows* และ Tizer* ทรัพยากรและแหล่งข้อมูลเชิงธุรกิจ: โอกาสทางการขายและช่องทางการจัดจำหน่ายซอฟต์แวร์ในระดับโลกจะมีให้ผ่านศูนย์ร้านค้า Intel AppUp? และผ่านทางการทำตลาดร่วมกัน นักพัฒนายังสามารถส่งและเผยแพร่แอพพลิเคชั่นไปยังเครือข่ายพันธมิตรของศูนย์ Intel AppUp ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการทำงานบนอุปกรณ์ อัลตร้าบุ๊กแทบเบล็ต และพีซีได้อีกด้วย นอกจากนี้ อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน ยังเปิดโอกาสให้เผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายธุรกิจซอฟต์แวร์ การสาธิตผลิตภัณฑ์และแผนงานการทำงานตลาดร่วมกันอีกด้วย การมีส่วนร่วมต่อกลุ่มแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน: อินเทล ดิเวลล็อปเปอร์ โซน ยังเปิดโอกาสให้นักพัฒนาได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสานสัมพันธ์กับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทั้งจากอินเทลและแวดวงอุตสาหกรรมเดียวกัน ในชุมชนอัลตร้าบุ๊ก ผู้ใช้ยังจะได้พบกับนักพัฒนาระดับชั้นนำซึ่งจะมาแบ่งปันความรู้และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับวินโดวส์* 8 ของไมโครซอฟท์* และเพื่อใช้ร่วมกับอุปกรณ์อัลตร้าบุ๊กที่เป็นระบบหน้าจอสัมผัสและระบบเซนเซอร์อีกด้วย อินเทลเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมการประมวลผลรวมทั้งการออกแบบ และสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่เป็นพื้นฐานการพัฒนาอุปกรณ์ประมวลผลระดับโลก ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอินเทล สามารถเข้าชมได้ที่www.intel.com/pressroom , www.intel.com/th, blogs.intel.com, ทวิตเตอร์ @Intelthailand และ เฟสบุ๊ค IntelThailand Intel, Ultrabook, Core, Atom และ โลโก้ของ Intel เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของอินเทล คอร์ปอเรชั่นหรือสำนักงานสาขาในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ขอสงวนสิทธิ์ ติดต่อ: สุภารัตน์ โพธิวิจิตร อรวรรณชื่นวิรัชสกุล บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 648-6022 โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: suparat.photivichit@intel.com e-Mail: orawan@carlbyoir.com.hk

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ