เตือนเอกชน-พันธมิตรปรับตัวให้สอดรับกับกฎหมาย UCA ของมะกัน เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธุรกิจ ทำส่งออกสะดุด ชี้เร่งขยายตลาดเพิ่ม เล็งจีน ยุโรปตะวันออก รัสเซีย

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 22, 2012 17:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--22 ต.ค.--กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายภูมิ สาระผล รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงกรณีบริษัท ณรงค์ซีฟูด จำกัด ตกลงกับอัยการรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐฯ เพื่อจ่ายค่าปรับจำนวน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ในข้อหาฐานที่ได้เคยใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการประกอบกิจการผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งจากไทยไปยังสหรัฐฯ ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (Unfair Competition Act — UCA) ว่า ถือเป็นการใช้มาตการทางกฎหมายที่เข้มแข็งขึ้นของประเทศผู้ซื้อ-ผู้นำเข้า และกรณีนี้จะเป็นกรณีตัวอย่างที่ผู้ประกอบการของไทยต้องตระหนักถึงการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯและประเทศผู้นำเข้าอื่นๆ จะใช้เป็นตัวอย่างให้สามารถทำธุรกิจต่อไปได้อย่างไม่ติดขัด ทั้งนี้กรมฯหวังว่า กรณีดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการไทยและพันธมิตรทางธุรกิจตื่นตัว เพื่อตรวจสอบกิจการของตนเองและเครือข่ายใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภายในองค์กร เพื่อให้แน่ใจได้ว่าสามารถประกอบธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติสิขสิทธิ์ของไทย และเร่งดำเนินการในการปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธุรกิจ รวมทั้งเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างไม่สะดุด นางศรีรัตน์ กล่าวถึงการส่งออกกุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูปในปี 2555ว่า คาดว่าจะมีมูลค่า 3,256.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 8 % คิดเป็นปริมาณ 361,226 ตัน หรือลดลง 5% โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.-ส.ค.)ส่งออกไปทั่วโลกแล้วมีปริมาณ 210,498 ตัน ลดลง 11% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยแบ่งเป็นกุ้งสดแช่เย็น- แช่แข็ง ปริมาณ 118,280 ตัน หรือ ลดลง 6 % และกุ้งแปรรูป ปริมาณ 92,218 ตัน หรือ ลดลง16 % ทั้งนี้ สาเหตุที่การส่งออกกุ้งมีมูลค่าการส่งออกในช่วง 8 เดือนแรกลดลง เป็นผลจากการที่คู่แข่งสำคัญของไทย คือ อินโดนีเซีย สามารถผลิตกุ้งออกสู่ตลาดมากขึ้นจากที่เคยประสบปัญหาโรค IMNV ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับอินเดียหันมาเลี้ยงกุ้งขาว ทำให้มีปริมาณวัตถุดิบกุ้งในตลาดโลกมากส่งผลให้ราคาสินค้ากุ้งในตลาดโลกปรับตัวลดลง นอกจากนี้ ตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก (สัดส่วน 37 % ) มีมูลค่าการส่งออกลดลง 31 % เนื่องจากผู้นำเข้ามีการชะลอการสั่งซื้อสินค้าจากไทย เพราะราคาสินค้าของไทยสูงกว่าคู่แข่ง โดยส่วนหนึ่งหันไปนำเข้าสินค้ากุ้งจากอินโดนีเซีย อินเดีย และประเทศในกลุ่มอเมริกาใต้เพิ่มขึ้น คาดว่าการส่งออกในปี 2555 จะมีปริมาณการส่งออกและมูลค่าการส่งออกลดลงจากปี 2554 อย่างไรก็ตามการผลิตและส่งออกกุ้งของไทย มีจุดแข็งหลายด้าน เชื่อว่าจะยังรักษาตลาดและสถานภาพความเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการเป็นผู้ผลิตอาหาร เนื่องจากเป็นประเทศที่มีพื้นฐานด้านการผลิตทางการเกษตร อีกทั้งคุณภาพสินค้า และกระบวนการผลิตสินค้ากุ้งของไทย มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ สำหรับกลยุทธ์การเพิ่มการค้าสินค้ากุ้ง กรมฯได้สนับสนุนให้ตรวจสอบสุขอนามัยทั้งในเรื่องการจัดระเบียบปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการแพกุ้ง การยกระดับมาตรฐานด้านสถานที่แปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้น เป็นต้น การส่งเสริมความหลากหลายของสินค้าและขยายตลาดให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดจีน ยุโรปตะวันออก รัสเซีย สนับสนุนให้ไทยเป็นฐานการแปรรูปสินค้ากุ้งในภูมิภาคอาเซียน เป็นต้น ประเทศ มูลค่า:ล้านUSD อัตราขยายตัว:ร้อยละ สัดส่วน:ร้อยละ 2554 2555 2554 2555 2554 2555 (ม.ค-ส.ค) (ม.ค-ส.ค) (ม.ค-ส.ค) 1.สหรัฐอเมริกา 1,645.48 693.79 13.33 -31.15 46.49 37.06 2.ญี่ปุ่น 791.32 492.85 25.89 -0.92 22.35 26.67 3.สหราชอาณาจักร 184.40 128.90 34.49 10.42 5.21 6.77 4.แคนาดา 208.75 121.88 26.32 -0.78 5.90 6.38 5.เยอรมนี 98.66 69.18 5.36 10.44 2.79 3.67 6.เกาหลีใต้ 76.47 53.15 34.57 6.53 2.16 2.86 7.ออสเตรเลีย 85.92 52.56 11.70 20.02 2.43 2.82 8.เวียดนาม 42.81 45.96 38.14 202.90 1.21 2.64 9.ฝรั่งเศส 61.71 24.55 9.17 -40.45 1.74 1.34 10.ไต้หวัน 33.68 22.38 4.00 19.76 0.95 1.21 รวม10ประเทศ 3,229.54 1,705.19 18.28 -13.71 91.23 91.38 อื่นๆ 310.54 160.82 -5.95 -15.93 8.77 8.62 มูลค่ารวม 3,540.08 1,866.01 15.66 -13.91 100.00 100.00 สำนักประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ โทร.(02) 507-7932-34

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ