เผยความคืบหน้าบิ๊กโปรเจคต์ Thai Town เมืองคุนหมิง เตรียมดัน SMEs ไทยไปบุกตลาดจีน

ข่าวทั่วไป Thursday November 8, 2012 15:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 พ.ย.-- ทันทีที่มีข้อตกลงเรื่องการค้าเสรีอาเซียน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของแต่ละประเทศก็เริ่มขยับทิศทางเพื่อช่วงชิงควมได้เปรียบและสร้างโอกาสให้ผู้ค้าในประเทศของตนให้มากที่สุด ในฐานะยักษ์ใหญ่ทางการค้าที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดอย่าง “จีน” ก็ไม่ได้เพิกเฉย มีการเปิดเขตเศรษฐกิจเพื่อจัดโปรโมชั่นแก่นักลงทุนและผู้ประกอบการ เร็วๆ นี้ มีการแถลงข่าวของกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ Ashima Group (อาซือหม่า กรุ๊ป) ผู้นำด้านจิวเวลรี่และอสังหาริมทรัพย์อันดับต้นของจีน ร่วมกับ Power Unity Group (เพาเวอร์ ยูนิตี้ กรุ๊ป) กลุ่มธุรกิจผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศไทย จีน และกัมพูชา มากว่า 10 ปี แถลงข่าวสร้าง Thai Town โครงการศูนย์สรรพสินค้าส่งไทยในคุนหมิง มณฑลยูนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นโครงการฯ นำร่อง ก่อนที่จะขยายไปเมืองอื่นๆ หากได้รับผลตอบรับที่ดี แน่นอนว่าโครงการฯ ดังกล่าวเป็นความร่วมมือที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการค้าการลงทุน ตลอดจนการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย อันเป็นอัตลักษณ์ของชาติที่งดงามและมีเสน่ห์ไปสู่สายตาชาวจีน คาดว่าจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการ SMEs สินค้าท้องถิ่นไทยในการขยายและบุกเบิกตลาดการค้าในจีนที่มีความต้องการมหาศาลรออยู่ รุ่งโรจน์ เหมันต์สุทธิกุล ที่ปรึกษาผู้แทนการค้าไทย และผู้บริหารโครงการ Thai Town เผยว่า “ในฐานะที่ปรึกษาผู้แทนการค้าไทยประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน มีภารกิจ 1 มุ่งขยายตลาดการค้า การลงทุนของผู้ค้าไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน 2.ส่งเสริมการค้า ขยายตลาดรองรับ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs. ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มั่นคงและยั่งยืน 3.แสวงหาความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาปรเทศ ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ถามว่าอะไรคือความยั่งยืนของ SMEs.ไทย? ในอดีตเป็นไป 3 สเตป คือ พ่อค้าไทย ส่งไปพ่อค้าจีน ก่อนจะถึงตลาดผู้บริโภคจีน ไม่นับรวมระยะเวลาการเดินทางขนส่ง ซึ่งใช้เวลานานและมีข้อจำกัดมาก ปัจจุบันดีขึ้น พ่อค้าไทยส่งไปพ่อค้าจีน ทางรถ ทางเครื่องบิน ถึงตลาดผู้บริโภคได้รวดเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ ภาษี รวมถึงการแข่งขันอื่นๆ แต่อนาคตหลังเปิดเสรีการค้า ไม่มีกำแพงเชิงพาณิชย์มากีดกัน และเส้นทางขนส่งสะดวกรวดเร็วขึ้น จะทำให้พ่อค้าไทย ไปถึงพ่อค้าจีน และถึงตัวผู้บริโภคจีนอย่างรวดเร็ว ซึ่งตลาดเมืองจีนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก เติบโตทั้งสินค้าอุปโภค บริโภค แต่สิ่งที่จะเป็นไลด์เซ่นของสินค้าไทยคือสินค้าหัตถกรรม ซึ่งเขาทำเหมือนบ้านเราไม่ได้” เส้นทางโลจิสติก ขนส่งทางบก R3A (คุน-มั่น กงลู่) จะเป็นพระเอกเชื่อมทั้งสองตลาดเข้าด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ เชียง เชียงของ 900 Km-ห้วยทราย- 250 Km หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง 837 Km ใช้เวลาเดินทาง 2-3 วัน การสร้าง Thai Town ศูนย์สรรพสินค้าไทยในเมืองคุนหมิง เชื่อว่าจะ Win-Win ทั้งสองฝ่าย และเตรียมตั้งให้เป็นโรลโมเดลเพื่อขยายไปเมืองใหญ่อื่นๆ ของจีน ซึ่งทางกลุ่มมีพื้นที่รองรับไว้หมดแล้วด้วย ในส่วนของรายละเอียดโครงการ Thai Town ศูนย์สรรพสินค้าไทยในเมืองคุนหมิง ที่จะเกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจยิ่งนัก เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านผู้แทนการค้าเผยว่า ?? โครงการ Thai Town มีเป้าหมายหลักที่จะทำให้ไทย-จีน มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าที่ดีต่อกันมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจระดับท้องถิ่น SMEs และจะเป็นเวทีให้สินค้าไทยได้เข้าสู่ตลาดจีนซึ่งมีความต้องการสินค้าไทยเป็นอย่างมาก โดยจะเป็นเวทีให้ผู้ประกอบการไทยนำสินค้าเข้าสู่ตลาดโดยเริ่มจาก "คุนหมิง" เมืองหลักเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของมณฑลยูนาน โดยนายต่ง หง ฉี ย้ำว่า Thai Town เป็นโครงการที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งไทยและจีน กล่าวคือโครงการนี้จะสร้างงานสร้างรายได้ โดยประมาณว่าจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนเพิ่มในธุรกิจ SMEs อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท โดย Ashima Group ได้วางไว้ว่าจะใช้เงิน 15 ล้านหยวน เพื่อผลักดันโครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จ หลังจากนี้ยังมีแผนงานที่จะขยายโครงการ Thai Town ไปสู่เมืองหยางโจว และเสินเจิ้น ภายในระยะเวลา 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้สินค้าไทย และสินค้าเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทยเข้าสู่จีนได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ความคืบหน้าของโครงการฯ เสร็จสิ้นประมาณ 90% เตรียมเปิดตัวอย่างเป็นทางการในต้นปีหน้า สาเหตุที่เลือก เมืองไทย และทำไมต้องเป็น คุนหมิง ??? ก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปสำรวจลู่ทางการลงทุนมาหลายประเทศทั้งกัมพูชา มาเลเซีย พม่าและเวียดนาม แต่สุดท้ายได้เลือกลงทุนในประเทศไทย เพราะโดยส่วนตัวชอบเมืองไทยมาก มีความลงตัวในทุกด้าน ทั้งเรื่องศิลปวัฒนธรรม อาหาร ผู้คน ฯลฯ และถ้าหากพิจารณาในแง่การลงทุนระหว่างประเทศแล้ว ประเทศไทยมีปัจจัยเหมาะสำหรับตั้งโครงการที่เอื้อต่อนานาชาติ เพราะโครงการไทยทาวน์ มีเป้าหมายให้ไทย จีน รวมไปถึงประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับประโยชน์ร่วมกันจากการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่อันดับ 3 ของโลก มีประชากรรวมกัน 1,900 ล้านคน ขณะเดียวกันประเทศไทยมีความมั่นคงทั้งการเมือง เศรษฐกิจการค้า มีโอกาสพัฒนาต่อเนื่องในอนาคตได้อย่างมั่นคง ที่สำคัญอุตสาหกรรมการผลิตไทยและจีน เกื้อหนุนซึ่งกันและกันได้ จึงเป็นข้อได้เปรียบในการรองรับโอกาสใหม่ๆได้ ส่วนคำถามทำไมต้องเป็นคุนหมิง ขออธิบายเป็นภาพใหญ่ก่อน ด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้จีนเป็นประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจเป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งการเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้จีนเร่งพัฒนาการเปิดพรมแดนการค้าในหลายภูมิภาค รวมถึงนครคุนหมิง ซึ่งจีนได้วางไว้เป็นแหล่งธุรกิจอันดับ 8 ของประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คุนหมิงเป็นเขตเศรษฐกิจที่น่าจับตามองทุกด้าน แบ่งเป็น 1.ด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลจากศูนย์สถิติเศรษฐกิจจีน พบว่าอัตราการเจริญเติบโตรายได้เฉลี่ยของประชากรในเขตตะวันตกทั้ง 2 มณฑล รายได้เฉลี่ยต่อหัว (GDP) คือ มณฑลเสฉวน 13.3% และมณฑลยูนนาน 14.3% จึงคาดว่าจะเป็นฐานผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อสูงเฉลี่ยมากกว่า 300,000 ล้านหยวนต่อปี 2. ด้านการลงทุน ด้วยการเติบโตของนครคุนหมิงทำให้รัฐบาลกำหนดเป็นเขตเศรษฐกิจอันดับที่ 8 และออกนโยบายแต่งตั้งเป็น เขตเศรษฐกิจพิเศษจิงไค ใช้กลยุทธ์ดึงดูดกลุ่มผู้ลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์ทางการค้ามากมาย จึงส่งผลดีในหลากหลายแง่มุมทั้งการขนส่งสินค้า, เขตปลอดภาษี, ได้รับการดูแลพิเศษจากศุลกากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโซนส่งออกและแปรรูป 3.ด้านโลจิสติก ความพิเศษด้านภูมิศาสตร์สามารถขนส่งสินค้าผ่านถนน R3A เข้าสู่จีนด้วยระยะทางเพียง 1,987 กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง 2-3 วัน (เชียงของ-ห้วยทราย-หลวงน้ำทา-บ่อหาร-จิ่งหง-ซือเหมา-คุนหมิง) และทางการจีนมีแผนส่งเสริมให้สำนักงานรถไฟนครคุนหมิง นครเฉินตู นครหนานหนิง เชื่อมโยงการค้ากันอย่างสะดวก 4. ด้านท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ตามที่รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมการค้าและวัฒนธรรม เพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน มีการวางเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิงมุ่งสู่ลาว ไทย สิ้นสุดเส้นทางที่สิงคโปร์ จึงมีผลโดยตรงทั้งเรื่องอุตสาหกรมและการท่องเที่ยว ฉะนั้นถือเป็นโอกาสสำคัญในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมความเป็นไทย Thailand Cultural Trade Center ด้วย กลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ? เบื้องต้นแบ่งเป็น Core Target นักธุรกิจจีนที่มีความต้องการกระจายสินค้าไทยในจีน, ผู้ประกอบการไทย ที่มีศักยภาพในการผลิตสินค้าไทย, ประชาชนในเมืองคุนหมิง โดยเฉพาะย่านเขตเศรษฐกิจจิงไค และ Secondary Target ประชาชนในมณฑลใกล้เคียงในจีน ที่สนใจในเรื่องการค้าและวัฒนธรรมไทย, นักเรียน นักศึกษา ที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้โครงการ, นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวเมืองคุนหมิง ซึ่ง Thai Town ตั้งอยู่ในโครงการ Internation Jewlry City of Kunming (มูลค่าโครงการ 300ล้านหยวน) เป็นอาคาร 10 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ตารางเมตร ลักษณะเป็น Convention Hall + Supermarket ชั้น2-3 Thai Handicraf ชั้น 4 Jewelry ชั้น 5 Food Pavilion ชั้น 6 Exclusive Thai Restaurant ชั้น 7-9 Government & Education ชั้น 10 Exclusive Thai SPA ถือเป็น Best Location เพราะแวดล้อมด้วย มหาวิทยาลัยคุนหมิง หอพักอาจารย์ หอพักนักศึกษา อาคารไอทีมอลล์ สถานีรถไฟ กลุ่มอาคารคอนโด ศูนย์บริการ สำนักงานศุลกากร ผลที่คาดว่าจะได้รับ? เกิดเป็นศูนย์กลางการค้าส่งสินค้าไทยในคุนหมิง และสามารถกระจายสินค้าไปยังมณฑลเสฉวน ลาซา และฮาร์บิน เพื่อต่อยอด การทำการค้าไปยังพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ที่ยังไม่มีคู่แข่งมากนัก คาดว่ามีมูลค่าการส่งออกผ่านทางถนนสาย R3A โดย Thai Town เป็นผู้กระจายสินค้าไทยสู่จีน ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท, ช่วยสร้างธุรกิจแบบยั่งยืนให้กับ SME ไทย อย่างน้อย 100 ราย ภายใน 5 ปีและเป็น HUB ของการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย นอกจากนี้ นายรุ่งโรจน์ ยังเผยว่า โครงการไทยทาวน์มีการแบ่งคลัสเตอร์สินค้าออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นกลุ่มสินค้าหัตถกรรม กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสินค้าจิวเวลรี่ 3.กลุ่มสินค้าอาหาร และ 4.กลุ่มสินค้าผ้าไหม โดยความนิยมของสินค้าไทยจะเกาะกลุ่มอยู่ที่มณฑลยูนนาน มณฑลเสฉวนและมณฑลกุ้ยโจว ซึ่งมีประชากรประมาณ 300 กว่าล้านคน โดยกลุ่มมณฑลต่างๆเหล่านี้มีการรับรู้สินค้าของไทยเรามานานจึงเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ของเรา และเป็นที่มาของการบุกเจาะตลาดจีน ในโครงการไทยทาวน์ โดยสินค้าของ SMEs ประเทศไทยมีเสน่ห์มาก เรามีวัตถุดิบที่ไม่ซ้ำกับจีน จากที่เราเป็นเมืองเขตร้อน ดังนั้นวัตถุดิบจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น งานเฟอร์นิเจอร์บ้านเราจะใช้ไม้มะม่วงซึ่งที่จีนไม่มี เราสามารถวางตัวของเราและตั้งราคาได้เองสินค้าบางชนิดตั้งไว้ที่เป็นแสนบาทต่อชิ้น ดังนั้นงานเราดีงานเราแตกต่างสามารถตั้งราคาสูงและฟันกำไรได้มากเลยทีเดียวอย่างน้อย 50%ขึ้นไป สำหรับโครงการไทยทาวน์กำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 1 เมษายน 2556 เชื่อว่าโครงการไทยทาวน์ เป็นโครงการที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน ทั้งไทยและจีน กล่าวคือโครงการนี้จะสร้างงานสร้างรายได้ โดยประมาณว่าจะสามารถสร้างเงินหมุนเวียนเพิ่มในธุรกิจ SMEs อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ