ดีลอยท์เผยผลสำรวจความสามารถในการแข่งขันเวียดนามจะแซงหน้าประเทศไทยในอีกห้าปีขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมจะเป็นดาวดวงใหม่

ข่าวทั่วไป Monday December 3, 2012 14:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--PRdd ผลการสำรวจของดีลอยท์ระบุชัด ปีนี้ประเทศไทยมีความ สามารถในการแข่งขันอยู่ในอันดับ 11 ของโลก แต่ในอีกห้าปีข้างหน้าไทยจะตกไปอยู่อันดับที่ 15 ขณะที่คู่แข่งสำคัญคือเวียดนามจะทะยานจากอันดับ 18 ในปีนี้ไปอยู่ในอันดับที่ 10 ของโลก อย่างไรก็ตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มส่องประกายสดใสในแง่ความสามารถในการแข่งขัน ในขณะที่จีนผงาดเป็นอันดับหนึ่งอย่างไร้เทียมทานโดยมีอินเดียตามมาติดๆ และ มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา-เยอรมัน-ญี่ปุ่นต้องทบทวนกลยุทธ์อย่างหนัก นางสาวนวลใจ กิตติศรีบูรณ์กุล หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญสายงานธุรกิจอุตสาหกรรม ดีลอยท์เซาท์อีสต์เอเชีย (Manufacturing Industry Leader, Deloitte Southeast Asia) กล่าวถึง ผลการสำรวจดรรชนีศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกปี 2556 ของดีลอยท์ ซึ่งเปิดเผยเมื่อเร็วๆนี้ว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีศักยภาพสูงในแง่ของการแข่งขัน โดยประเทศในภูมิภาคนี้ เช่น สิงคโปร์, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และ เวียดนาม สามารถเกาะกลุ่มอยู่ใน 20 อันดับแรกของโลก และคาดว่าในอีกห้าปีข้างหน้าประเทศที่กล่าวมาส่วนใหญ่ จะเลื่อนอันดับสูงขึ้นหรืออย่างน้อยก็รั้งอันดับเดิมไว้ได้ โดยเฉพาะตลาดชายขอบที่กำลังมาแรง อย่างเวียดนามและอินโดนีเซีย อินโดนีเซียซึ่งปีนี้อยู่อันดับที่ 17 คาดว่าในอีกห้าปีจะเลื่อนขึ้นไปอยู่อันดับที่ 11 ส่วนประเทศยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอย่างประเทศจีนซึ่งขณะนี้อยู่ในอันดับ 1 นั้น อีกห้าปีก็จะยังสามารถรักษาอันดับไว้ได้เหมือนเดิม ในขณะที่ยักษ์ใหญ่อีกรายคืออินเดียจะเลื่อนจากอันดับ 4 ในปัจจุบัน เป็น อันดับ 2 รองจากจีน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจคือ แม้จีนและอินเดียจะยังโดดเด่นในอุตสาหกรรมการผลิต แต่ในความเป็นจริงผู้ผลิตเริ่มหันความสนใจไปยังตลาดชายขอบมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความต้องการตลาดท้องถิ่นที่เติบโตขึ้น รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการผลิตที่มีความสำคัญในห่วงโซ่สายการผลิตโลก ขณะเดียวกันมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเดิมต่างประสบภาวะสั่นคลอนอย่างรุนแรง ในอีกห้าปีข้างหน้า สหรัฐอเมริกาจะหล่นจากอันดับ 3 ไปอยู่ที่ อันดับ 5 ตามมาด้วยเกาหลีใต้ในอันดับ 6 เยอรมนีซึ่งปัจจุบันอยู่ในอันดับ 2 จะหล่นไปอยู่อันดับ 4 ตามหลังบราซิลซึ่งจะขึ้นมาเป็นอันดับ 3 แทนที่สหรัฐอเมริกา แม้กระทั่ง ญี่ปุ่นซึ่งตอนนี้อยู่อันดับ 10 จะร่วงหลุดจากโผท้อปเท็นลงไปอยู่อันดับที่ 12 ยิ่งไปกว่านั้น ความสามารถในการแข่งขันจะของประเทศต่างๆในยุโรปจะลดลงอย่างมาก เปิดทางให้เอเชียผงาดขึ้นมาแทนที่ “อเมริกากับยุโรปคงต้องทำตาปริบๆเมื่อเห็นตลาดเกิดใหม่เมื่อราวสิบปีที่แล้ว มีความเข้มแข็ง ขึ้นจนกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญในวันนี้” มร. เครก กิฟฟิ รองประธานดีลอยท์สหรัฐอเมริกา (Deloitte LLP) และหัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยและร่วมเขียนรายงานวิจัยชิ้นนี้ กล่าว “ถึงแม้ว่าภูมิภาคอเมริกาจะยังมีศักยภาพที่ดีอยู่ เพราะตอนนี้สหรัฐอเมริกา บราซิล แคนาดา และเม็กซิโกยังติดกลุ่ม 15 อันดับแรก แต่อีกไม่นานปัจจัยหลายๆอย่างจะหนุนให้ทวีปเอเชียได้ก้าว ขึ้นมาแทน ซึ่งในอีกสิบปีข้างหน้า สิบประเทศจากเอเชียจะติดอยู่ใน 15 อันดับแรกของประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขัน” มร. กิฟฟิ กล่าว นาง เดบอราห์ แอล. วินซ์-สมิธ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สภาการแข่งขันแห่งสหรัฐอเมริกา แสดงทัศนะว่า การตกอันดับของภูมิภาคอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วอีกหลายประเทศ จัดว่าเป็นแนวโน้มอันตรายที่ผู้เกี่ยวข้องต้องร่วมกันหาทางกำหนดมาตรการจัดการโดยด่วน “เราต้องตีโจทย์ให้แตกถึงความซับซ้อนและความเชื่อมโยงที่เป็นตัวขับเคลื่อนอนาคตของอุตสาหกรรมการผลิต และการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างหลายอย่างที่เกิดขึ้นที่ทำให้โฉมหน้าเศรษฐกิจโลกเปลี่ยนไป ตลาดเกิดใหม่ทั้งหลายเติบโตอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งมาก นโยบายและการจัดการที่ชาญฉลาดจะเป็นปัจจัยที่ทำให้อเมริกาเข้มแข็งขึ้น” นางวินซ์-สมิธ กล่าว การสำรวจดรรชนีศักยภาพการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกปี 2556 หรือ 2013 Global Manufacturing Competitiveness Index จัดทำโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการผลิต ดีลอยท์สหรัฐอเมริกา (Deloitte Touche Tohmatsu Limited’s (DTTL) Global Manufacturing Industry group) ร่วมมือกับ สภาการแข่งขันแห่งสหรัฐอเมริกา U.S. Council on Competitiveness ผลสำรวจนี้ได้มาจากการวิเคราะห์เจาะลึกของข้อมูลจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้นำระดับ แนวหน้าของบริษัทผู้ผลิตต่างๆ ทั่วโลกจำนวน 550 คน ผลการสำรวจอันดับความสามารถในการแข่งขันปี 2556 อันดับความสามารถในการแข่งขันในปัจจุบัน อันดับในห้าปีข้างหน้า อันดับ ชื่อประเทศ ระดับคะแนน อันดับ ชื่อประเทศ ระดับคะแนน 10=สูง1=ต่ำ 10=สูง1=ต่ำ 1 จีน 10 1 จีน 10 2 เยอรมนี 7.98 2 อินเดีย 8.49 3 สหรัฐอเมริกา 7.84 3 บราซิล 7.89 4 อินเดีย 7.65 4 เยอรมนี 7.82 5 เกาหลีใต้ 7.59 5 สหรัฐอเมริกา 7.69 6 ไต้หวัน 7.57 6 เกาหลีใต้ 7.63 7 แคนาดา 7.24 7 ไต้หวัน 7.18 8 บราซิล 7.13 8 แคนาดา 6.99 9 สิงคโปร์ 6.64 9 สิงคโปร์ 6.64 10 ญี่ปุ่น 6.60 10 เวียดนาม 6.50 11 ไทย 6.21 11 อินโดนีเซีย 6.49 12 เม็กซิโก 6.17 12 ญี่ปุ่น 6.46 13 มาเลเซีย 5.94 13 เม็กซิโก 6.38 14 โปแลนด์ 5.87 14 มาเลเซีย 6.31 15 สหราชอาณาจักร 5.81 15 ไทย 6.24 16 ออสเตรเลีย 5.75 16 ตุรกี 5.99 17 อินโดนีเซีย 5.75 17 ออสเตรเลีย 5.73 18 เวียดนาม 5.73 18 โปแลนด์ 5.69 19 สาธารณรัฐเช็ค 5.71 19 สหราชอาณาจักร 5.59 20 ตุรกี 5.61 20 สวิตเซอร์แลนด์ 5.42 21 สวีเดน 5.50 21 สวีเดน 5.39 22 สวิตเซอร์แลนด์ 5.28 22 สาธารณรัฐเช็ค 5.23 23 เนเธอร์แลนด์ 5.27 23 รัสเซีย 5.04 24 แอฟริกาใต้ 4.92 24 เนเธอร์แลนด์ 4.83 25 ฝรั่งเศส 4.64 25 แอฟริกาใต้ 4.77 26 อาร์เจนตินา 4.52 26 อาร์เจนตินา 4.58 27 เบลเยี่ยม 4.50 27 ฝรั่งเศส 4.02 28 รัสเซีย 4.35 28 โคลัมเบีย 4.01 29 โรมาเนีย 4.09 29 โรมาเนีย 3.98 30 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3.93 30 เบลเยี่ยม 3.63 31 โคลัมเบีย 3.85 31 สเปน 3.63 32 อิตาลี 3.75 32 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 3.58 33 สเปน 3.66 33 ซาอุดิอาระเบีย 3.46 34 ซาอุดิอาระเบีย 3.57 34 อิตาลี 3.45 35 โปรตุเกส 3.39 35 อียิปต์ 3.45 36 อียิปต์ 3.24 36 ไอร์แลนด์ 3.03 37 ไอร์แลนด์ 3.23 37 โปรตุเกส 2.87 38 กรีซ 1.00 38 กรีซ 1.00 ที่มา: Deloitte Touche Tohmatsu Limited and U.S. Council on Competitiveness. 2013 Global Manufacturing Competitiveness Index

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ