กสอ. ชี้รายย่อยไทยต้องเร่งสร้างมาตรฐาน เพื่อรับมือการค้าปี 58

ข่าวทั่วไป Friday December 7, 2012 15:34 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--กสอ. - กสอ. จับมือผู้ประกอบการใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม ร่วมโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน หลังจากประสบความสำเร็จในการผลิตผู้ประกอบการไทยระดับคุณภาพไปแล้วกว่า 700 ราย รวมมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท - ปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม มีจำนวนกว่า 3 ล้านกิจการ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 38 ของ GDP รวมทั้งประเทศ และมูลค่าการส่งออกกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เผยแนวทางการพัฒนาและบริหารธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ผ่านโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน หรือ MDICP โครงการยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมไปสู่มาตรฐานระดับสากล เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบมีศักยภาพในแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเตรียมพร้อมกับการแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศที่จะมีเพิ่มอีกมากกว่า 10,000 ราย เมื่อเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 โดยการพัฒนาเน้นการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรม ใน 11 กลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มเซรามิกส์และแก้ว กลุ่มพลาสติก กลุ่มยาและเคมีภัณฑ์ กลุ่มโลหะการ ฯลฯ ตลอดจนในปี 2556 ตั้งเป้าปั้นผู้ประกอบการอีกกว่า 60 รายทั่วประเทศไทย และเบื้องต้นได้นำร่องลงนามความร่วมมือกับผู้ประกอบการกลุ่มแรกประจำปี 2556 จำนวน 25 รายทั่วประเทศไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยตั้งแต่ปี 2542 มีผู้ประกอบการผ่านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของโครงการ MDICP ไปแล้วกว่า 700 ราย และสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ได้ในเชิงประจักษ์ สร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP) สามารถสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนาการจัดการอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทร. 02-202-4526 หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.th นายโสภณ ผลประสิทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน หรือ โครงการ MDICP เป็นโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการสูงขึ้นในหลายๆ ด้านพร้อมๆ กัน และยกระดับไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มประเทศอาเซียนและนานาประเทศ ด้วยการจัดหาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และประสบการณ์จากภาครัฐและเอกชน ไปให้คำปรึกษาแนะนำในสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ อันประกอบไปด้วยโครงการย่อยจำนวน 3 โครงการ อันได้แก่ โครงการ MDICP 3 แผนงาน MDICP — SP และโครงการ MDICP — PIA โดยตลอดระยะเวลากว่า 13 ปี นับตั้งแต่ปี 2542 มีผู้ประกอบการผ่านการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของโครงการ MDICP ไปแล้วกว่า 700 ราย และสามารถสร้างผลสัมฤทธิ์ได้ในเชิงประจักษ์ สร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจของประเทศโดยรวมไม่น้อยกว่า 15,000 ล้านบาท โดยในปี 2556 กรมฯ ตั้งเป้าหมายในการคัดสรรผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ จำนวน 56 กิจการ แบ่งเป็นสถานประกอบการในภูมิภาค จำนวน 31 กิจการ และสถานประกอบการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล อีกจำนวน 25 กิจการ อันประกอบด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ครอบคลุม 11 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มอาหาร กลุ่มไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง กลุ่มเซรามิกส์และแก้ว กลุ่มพลาสติก กลุ่มยาและเคมีภัณฑ์ กลุ่มโลหะการ กลุ่มไม้และเครื่องเรือน กลุ่มเครื่องหนัง กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่มห่ม โดยเบื้องต้นได้นำร่องลงนามความร่วมมือกับผู้ประกอบการกลุ่มแรกประจำปี 2556 จำนวน 25 รายทั่วประเทศไทยในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ บริษัทผลิตเครื่องสำอาง บริษัทผลิตขนมขบเคี้ยว บริษัทผลิตหินลับมีด-หินเจียรอุตสาหกรรม บริษัทผลิตเฟอร์นิเจอร์เด็กทำจากไม้ บริษัทผลิตเครื่องปรุงรส ฯลฯ โดยภายในพิธีลงนามยังมีกิจกรรมสัมมนาชี้แจงรายละเอียดแผนการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ในเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงการผลิต การเสริมสร้างความสามารถทางการบริหารการเงินและการลงทุน การตลาด การบริหารทุนบุคลากร ฯลฯ นายโสภณ กล่าว นายโสภณ กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ถือว่าเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อมกว่า 3 ล้านกิจการ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 38 ของ GDP รวมทั้งประเทศ และมูลค่าการส่งออกกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ แต่การดำเนินธุรกิจภายใต้การเปลี่ยนแปลงยุคโลกาภิวัตน์อย่างในปัจจุบัน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา ต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ รวมทั้งการหาพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อโอกาสทางการค้าการลงทุนที่จะขยายตัวต่อไป ซึ่งภาครัฐโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีบริการในหลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริมผู้ประกอบการในการสร้างความสามารถในการแข็งขันที่ไม่ใช่เพียงการแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่ นักลงทุนจากต่างชาติที่ลงทุนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) ในปี 2558 ซึ่งคาดว่าจะมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั้งรายเล็กและรายใหญ่เข้ามาลงทุนในประเทศอีกมากกว่า 5,000 ราย สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP) สามารถสอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2202-4414-18
แท็ก อุตสาหกรรม   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ