รัฐบาลประกาศยุติการค้าเนื้อและหนังสุนัขในประเทศไทย

ข่าวทั่วไป Monday December 17, 2012 16:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ การสัมมนาที่จัดขึ้น ณ หอประชุมกองทัพเรือ มีผู้แทนเข้าร่วมเสวนาจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติฝ่ายสุนัขและม้าตำรวจ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกรมควบคุมโรคสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประสานความร่วมมือเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีประกาศวาระแห่งชาติ ว่าด้วยเรื่องการยุติการค้าและการบริโภคเนื้อสุนัข นอกจากนี้ยังเดินหน้ารณรงค์มุ่งให้ความรู้ทั้งในหลักสูตรการศึกษาและแคมเปญการศึกษาในหมู่ประชาชนคนไทย โดยมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นความรับผิดชอบและปลูกจิตสำนึกทางสังคม นายนิรันดร เอื้องตระกูลสุข อดีตอธิบดีกรมปศุสัตว์และประธานสัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย เชื่อว่า แม้ว่าการปรับปรุงบทกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการปรับปรุงสวัสดิภาพของสัตว์และการต่อต้านการทารุณในสัตว์ จะสามารถช่วยจัดการปัญหาการค้าสุนัขในปัจจุบันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งยังไม่เพียงพอที่จะกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ให้หมดสิ้นได้ เนื่องจากการทุจริตที่ยังคงแพร่ระบาดอยู่ในประเทศไทย มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (Soi Dog Foundation: SDF) ยินดีเข้าร่วมโครงการฯ โดยเชื่อว่าจะเป็นแรงกดดันในประเทศและต่างประเทศ ในการการออกบทบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับการค้าสุนัขโดยไม่มีใบอนุญาตทางการค้าและใบรับรองตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยเห็นด้วยกับ นายนิรันดร ที่ว่าการทุจริตนั้นเป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาดังกล่าว มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยเห็นตรงกับนาย พ.ต.ท. ชัชชัย เศรษฐีพันล้าน สว.งานฝึกอบรมสุนัขประธานกรรมการคัดเลือก ว่าควรมีการลงโทษกับกลุ่มผู้ค้าสุนัขเถื่อน ซึ่งในกฎหมายปัจจุบันกำหนดบทลงโทษผู้ค้าสุนัขเถื่อน มีโทษจำคุกไม่ต่ำว่า 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่การบทลงโทษดังกล่าวไม่เคยถูกบังคับใช้อย่างเป็นทางการ (พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2542 มาตรา 4 มาตรา 21, 2499 วรรคหนึ่งและสอง) ทางมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยอยากวิงวอนให้กรมสอบสวนคดีพิเศษลงพื้นที่ตรวจสอบ เพราะเชื่อว่ามีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้าสุนัข เกี่ยวกับผลตอบแทนจำนวนมหาศาลประมาณ 1 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งแน่นอนว่าไม่ผ่านการเสียภาษี และอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดและการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายอีกด้วย มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยยังมีรายละเอียดหลักฐานของเหล่าผู้กระทำความผิดที่แสดงออกอย่างเปิดเผยด้วย จังหวัดสกลนคร เป็นจังหวัดที่ข้องเกี่ยวกับการค้าสุนัขในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและเป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีอัตราการทุจริตสูงจังหวัดหนึ่งในประเทศ รัฐบาลเคยมุ่งเสนอแผน 4 ปีต่อต้านการทุจริตตั้งแต่พ.ศ. 2552 ซึ่งจะครบกำหนดในพ.ศ. 2555 นับเป็นโอกาสอันดีที่จะสามารถมุ่งประเด็นไปที่การแก้ปัญหาการค้าเนื้อสุนัขได้ มูลนิธิฯยังประสานความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทั้งในประเทศไทยและประเทศลาว ร่วมกันหาข้อมูลแก๊งค์ลักลอบค้าสุนัข และส่งผ่านข้อมูลไปยังผู้มีอำนาจ อย่างไรก็ตามยังมีความกังวลเกี่ยวกับการลดจำนวนการส่งออกสุนัขในประเทศไทย จะทำให้จำนวนสุนัขที่ส่งออกจากประเทศลาวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ทางมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยได้มีการประชุมหารือกับกลุ่มสวัสดิภาพสัตว์ประจำภูมิภาคต่างๆ รวมถึงมูลนิธิเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ (Change for Animal Foundation) มูลนิธิเพื่อสัตว์ประจำภูมิภาคเอเชียและมนุษยธรรมสังคมนานาชาติ จัดตั้งโดยกลุ่มผู้พิทักษ์สัตว์ผสานความร่วมมือยุติการค้าสุนัขในภูมิภาคเอเชีย กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน อย่างประเทศไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ร่วมกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ จับมือกันให้สัตย์ปฏิญาณสนับสนุนโครงการ ’กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า’ ให้หมดสิ้นไปภายใน พ.ศ. 2563 การอนุญาตให้ทำการค้าได้อย่างถูกต้องนั้น ก่อให้เกิดการเพิกเฉยต่อคำแนะนำในการควบคุมโรคขององค์กรต่างๆ อาทิองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และองค์การอนามัยโลก (WHO) การค้านั้นจะอำนวยโอกาสให้โรคพิษสุนัขสามารถแพร่กระจายได้มากยิ่งขึ้น ทางมูลนิธิร่วมมือกับรัฐบาลประสานงานปิดพรหมแดน เพื่อสกัดกั้นการค้าสุนัขบริเวณรอยต่อของประเทศ ทั้งนี้สุนัขนั้นเป็นพาหะนำเชื้อพิษสุนัขบ้าสู่คนได้ คิดเป็นร้อยละ 99 จากการศึกษาการแพร่ระบาดของไวรัสโรคพิษสุนัขบ้าในระดับเซลล์ โดยการเก็บตัวอย่างสมองสุนัข 100 ตัวจากโรงฆ่าสัตว์ทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม และ 76 ตัวจากทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ผลจากห้องปฏิบัติการวิจัยพบว่า ร้อยละ 2.0 ของตัวอย่างที่เก็บจากทางตอนเหนือ และ ร้อยละ 16.4 ของตัวอย่างที่เก็บจากทางตอนใต้ รวมถึงจังหวัดแถบเทือกเขาสูง พบการติดเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า การวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าเชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้านั้น สามารถแพร่ระบาดจากเวียดนามสู่หลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย และสามารถแพร่ระบาดไปทั่วทั้งเวียดนามได้ การวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าระหว่างภูมิภาค เนื่องจากยังมีสุนัขตามชายแดนจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว รัฐบาลท้องถิ่นประจำเมืองลาวไค จังหวัดทางตอนเหนือของเวียดนาม เริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงนี้ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 เมื่อการค้าและโรงฆ่าสุนัขส่งเสริมการระบาดของโรค นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จากกระทรวงสาธารณสุขในเวียดนามยังระบุว่ามีการเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคจากอุตสาหกรรมเนื้อสุนัขด้วย การขนส่งสุนัขข้ามประเทศที่ปราศจากการควบคุมพบมากในประเทศไทยนั้นเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยมีหลักฐานรายงานชี้ชัดถึงการขโมยสุนัขจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นจังหวัดทางตอนใต้ของไทย ห่างจากจังหวัดสกลนครศูนย์กลางการค้าสุนัขถึง 1,400 กิโลเมตรด้วย ผู้แทนจากกระทรวงสาธารณสุขเผย การรับประทานเนื้อสุนัขไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียงในจังหวัดสกลนคร มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยยังพบหลักฐานการขายเนื้อสุนัขอย่างเปิดเผยในจังหวัดอื่นๆ รวมทั้งเชียงใหม่ จำนวนสุนัขที่บันทึกในรายงานตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2554 มีจำนวน 9,402 ตัว รวมถึงสุนัขที่ได้รับการช่วยเหลือจำนวน 1,968 ตัว จากศูนย์กักกันสุนัข บ้านท่าแร่ จังหวัดสกลนครยังไม่มีรายงานที่แน่ชัด สุนัขน้อยกว่า 80 ชีวิตที่จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ ร้อยละ 75 มักตายอยู่ในศูนย์พักพิงของกรมปศุสัตว์ เพราะอะไร? กรมปศุสัตว์ ได้รับมอบหมายความรับผิดชอบให้ความช่วยเหลือสุนัขที่ยึดมาจากขบวนการค้าสุนัข ถึงไม่มีงบประมาณในการจัดการดูแล ปัจจุบันมีสุนัขในการดูแล 2,500 ตัวจากศูนย์พักพิงทั้งหมด 4 แห่ง จะอาศัยหนาแน่นอยู่ที่จังหวัดนครพนมและอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี อีกส่วนจะอยู่ที่บุรีรัมย์และอำเถอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ขณะนี้ศูนย์พักพิงที่เพชรบูรณ์ มีสุนัขที่ได้รับการช่วยเหลือจาการบุกจับที่ศูนย์กักกันที่อำเภอท่าแร่อย่างน้อย 80 ชีวิต ปัจจุบันอยู่ที่ทองผาภูมิ ติดตามรายงานการสืบสวนย้อนหลังได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=5WSQExWtFVM&feature=youtu.beสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย และมูลนิธิเพื่อนสัตว์จรจัดได้ที่ www.soidog.orgและwww.SCADbangkok.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ