กรมทรัพย์สินทางปัญญา ร่วมกับ Google เปิด “Innovation Thailand” ภูมิปัญญาไทยเน้นศักยภาพของอินเทอร์เน็ตก่อเกิดนวัตกรรมระดับโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday December 19, 2012 14:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ธ.ค.--กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมชูตัวอย่าง “อินโนเวชั่นไอดอลคนไทย” ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ประกาศความร่วมมือกับ Google ในการส่งเสริมตัวอย่างนวัตกรรมของคนไทยที่มีความสร้างสรรค์ และตอกย้ำให้เห็นถึงปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนนนวัตกรรมของประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะสามารถเพิ่มศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจและเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) พร้อมมอบรายงาน Innovation Thailand ที่ชี้แนะปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนนวัตกรรม และรางวัล Innovation Thailand Idol กับบุคคลตัวอย่าง ที่ใช้อินเทอร์เน็ตสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อชุมชนและสังคม นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า “กรมทรัพย์สินทางปัญญามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ให้การสนับสนุนโครงการ Innovation Thailand เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทย ซึ่ง กรมฯ เห็นถึงศักยภาพที่จะพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอผ่านแนวนโยบายและการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในหลากหลายมิติ ทั้งนี้ กรมฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและโดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเทอร์เน็ต ซึ่งสามารถนำมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ให้เพิ่มมากขึ้น ตลอดทั้งสามารถเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้สังคมเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและสร้างเครือข่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในทุกระดับต่อไป” ในระหว่างการเขียนรายงาน Innovation Thailand มีการประชุมหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมไทย และพบ 4 ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนนวัตกรรมดังต่อไปนี้ การเข้าถึงระบบโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการพัฒนาทางด้านทรัพยากรบุคคล ระบบการกำกับดูแล ขยายการเข้าถึงแหล่งทุน การสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกภาคอุตสาหกรรรมและทุกธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งต่อไปในอนาคต โดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ให้เดินหน้าอย่างรวดเร็ว และรายชื่อเหล่านี้เป็นกลุ่มอินโนเวชั่นไอดอล ผู้มีส่วนร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อคนไทยที่ได้รับการพิจารณาและคัดเลือกให้เป็นตัวแทนรับรางวัลเกียรติยศ Innovation Thailand Idol รุ่นแรกในครั้งนี้ ประเภท: การทำงานเพื่อสังคม “ล่ามภาษามือออนไลน์” โดย ศูนย์บริการถ่ายทอดการสื่อสารแห่งประเทศไทย ประเภท: การส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “กระเป๋าผักตบชวา” โดย กลุ่มหัตถกรรมผักตบชวา บ้านสันป่าม่วงใต้ จังหวัดพะเยา ประเภท: ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม “ฑูตมวยไทยบนโลกออนไลน์” บริษัท ทัฟฟ์ จำกัด ประเภท: การให้บริการเพื่อสังคมจากภาครัฐ “ดีเอสไอ แมป (DSI Map)” โดย กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ประเภท: การส่งเสริมการศึกษา “องค์กรเยาวชนเพื่อการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน” โดย คิวบิกครีเอทีฟ ประเภท: การส่งเสริมสุขภาพและการรักษาพยาบาล “อุปกรณ์ถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงชนิดพกพา” โดย โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กรมแพทย์ทหารบก ประเภท: การให้บริการเพื่อสังคมจากภาครัฐ “G-box แพลทฟอร์ม” โดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นายอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Google ประเทศไทย กล่าวว่า “อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยน และนำความคิดมาใช้สร้างงาน อินเทอร์เน็ตมีส่วนสำคัญในการช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบอิสระ หรือการทำงานร่วมกัน อาทิ ผู้ประกอบการและศิลปินสามารถเข้าถึงชุมชนจากทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่มีอุปสรรคปิดกั้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตน อินเทอร์เน็ตช่วยให้ความคิดเล็กๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ด้วยการเข้าถึงข้อมูลและการทำงานร่วมกันอย่างสะดวกรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” ท่านสามารถดาวน์โหลดรายงาน พร้อมชมวิดีโอของเหล่าอินโนเวชั่นไอดอล และติดตามกิจกรรมใหม่ๆ จาก Innovation Thailand ได้ที่ www.innovationthailand.org เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนอื่นๆ ในสังคม ได้คิดค้นนวัตกรรมที่มีประโยชน์กับทุกคนต่อไปในอนาคต เว็บโดยรวมอีกด้วย Google มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ซิลิคอนวัลเลย์ และมีสำนักงานสาขาในทวีปอเมริกา ยุโรป และเอเชีย หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม http://www.google.com คุณสุจิรา ปานจนะ นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ กรมทรัพย์สินทางปัญญา อีเมลล์: pr-dip@hotmail.com เอมี่ กุลโรจน์ปัญญา หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารองค์กรเเละมวลชนสัมพันธ์ Google อินโดไชน่า อีเมล์: amykk@google.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ