เทศกาลสื่อสร้างสรรค์เท่าทันโทรศัพท์มือถือ

ข่าวทั่วไป Wednesday January 30, 2013 15:14 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ภาคอีสาน เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา โครงการเด็กอีสานรู้เท่าทันโทรศัพท์มือถือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.) ร่วมกับสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดอุบลราชธานี ศูนย์ประสานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน ( ศสอ.) และหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมกันจัดงานถนนเด็กเดินปีที่ 6 ประจำเดือนธันวาคม ภายใต้ชื่อ"เทศกาลสื่อสร้างสรรค์เท่าทันโทรศัพท์มือถือ" ณ ลานหน้าศาลหลักเมืองจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อสร้างสรรค์เท่าทันโทรศัพท์มือถือโดยกลุ่มเด็กเยาวชนสู่การขยายผลแก่สังคมสาธารณะ และส่งเสริมให้มีการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ เกี่ยวกับสถานการณ์ผลกระทบโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลต่อกลุ่มเด็กเยาวชน นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษาอย่างเหมาะสมและ รวมทั้งสื่อสารสังคมให้เห็นความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่เกิดขึ้นกับเด็กเยาวชนนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาต่อไปในอนาคต โดยมี นายประวิทย์ หลักบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 เป็นประธานในพิธีเปิด นายประวิทย์ หลักบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 กล่าวว่ากระแสเทคโนโลยียุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้า การสื่อสารต่าง ๆ ไร้พรมแดนครอบคลุมทุกพื้นที่ กลุ่มเด็กนักเรียน กลุ่มวัยรุ่น มีค่านิยม มีความอ่อนไหวที่จะถูกโน้มน้าวใจได้ง่าย ส่งผลให้กลุ่มเด็กเยาวชนนั้นได้ใช้โทรศัพท์มือถือในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การละเมิดสิทธิของผู้อื่น , เล่นเกม,มากกว่าการพูดคุยสื่อสารที่เป็นประโยชน์ ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทั้งที่ยังไม่มีรายได้ และนำไปสู่อาชญากรรมต่างๆ ฉนั้นเราจึงควรให้ตนเองรู้เท่าทัน และรู้จักใช้โทรศัพท์ให้เกิดประโยชน์ "เทศกาลสื่อสร้างสรรค์เท่าทันโทรศัพท์มือถือ ในครั้งนี้นับเป็นว่าการสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มเด็กนั้นได้มีพื้นที่ที่สร้างสรรค์ในการฝึกฝนตนเองและนำสื่อสร้างสรรค์ที่เกิดจากการผลิตโดยกลุ่มเด็กเยาวชนเอง ได้นำมาเผยแพร่และสื่อสารสู่สังคมเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโทษภัยของโทรศัพท์" นายประวิทย์ กล่าว ในงานครั้งนีมีกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กเยาวชนมากมาย ในรูปแบบซุ้มกิจกรรม 9 โซน การแสดงบนเวที และการเสวนาในหัวข้อ “ สถานการณ์ผลกระทบของโทรศัพท์มือถือที่ส่งผลต่อกลุ่มเด็กเยาวชนสู่แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ในสถานศึกษา ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ คุณวสันต์ ลำแพน คณะทำงานโครงการเยาวชนอีสานเท่าทันโทรศัพท์มือถือ คุณอัมพร วาภพ ผู้จัดการศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน (ศสอ.)นายธวัชชัยริ้วทอง อาจารย์โรงเรียนวารินชำราบ นายกัมปนาท ปานกลีบ เยาวชนจากกลุ่มพ้องเพื่อนฟลิ์ม และนางสาวสาลินี แช่เตีย นักเรียนจากโรงเรียนศรีปทุมวิทยาคาร จุดเน้นที่น่าสนใจของงานในครั้งนี้ คือการประกวดหนังสั้นเท่าทันสื่อของ น้องๆที่เคยเข้าร่วมโครงการเยาวชนอีสานเท่าทันโทรศัพท์มือถือ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวด อาทิเช่น 1) โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร ซึ่งส่งทีมเข้าประกวดถึง 2 ทีม แบ่งเป็นในระดับชั้นมัธยมต้น และ ชั้น มัธยมปลาย 2) โรงเรียนวารินชำราบ 3)โรงเรียนสำโรงวิทยาคาร และ 4) โรงเรียนสว่างวีระวงศ์ รวมแล้ว จำนวน 5 ทีม โดยมีคณะกรรมการซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชน ร่วมตัดสินการประกวด จำนวน 6 ท่านได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชื่น ศรีสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี อาจารย์จีณัฐชะญา จีปณัฐิกาญจน์สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อาจารย์สุรสมกฤษณะจูฑะ สาขาพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คุณอรทัย ครั้งพิบูล กลุ่มสื่อใสวัยทีน คุณศิลารักษ์เขียวสนาม กลุ่มเยาวชนเพาะรัก คุณศุภชัย ไตรไทยธีระ ศูนย์ประสานงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนภาคอีสาน(ศสอ.) ซึ่งหนังสั้น ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ชื่อเรื่อง แรงเงา เท่าทันสื่อ จากโรงเรียน สำโรงวิทยาคาร และเรื่องยอม (Surrender) จากโรงเรียนศรีปทุมพิทยาคารเป็นรางวัลอันดับสอง และเรื่องโทรศัพท์มือถือภัยใกล้ตัวเยาวชน.จากโรงเรียนวารินชำรายในรางวัลอันดับสามตามลำดับ ทางด้านนายคิด แก้วคำชาติ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเยาวชนสืบสานภูมิปัญญา ภาคอีสาน ผู้รับผิดชอบโครงการเยาวชนอีสานเท่าทันโทรศัพท์มือถือ กล่าวว่า เทศกาลสื่อสร้างสรรค์เท่าทันโทรศัพท์มือถือในครั้งนี้เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มเด็กนั้นได้มีพื้นที่ที่สร้างสรรค์ในการฝึกฝนตนเองและนำสื่อสร้างสรรค์ที่เกิดจากการผลิตโดยกลุ่มเด็กเยาวชนเอง ได้นำมาเผยแพร่และสื่อสารสู่สังคมเพื่อให้เกิดความตระหนักต่อไป "ทางโครงการขอขอบคุณกับความร่วมมืออันดีจากโรงเรียนและองค์กรภาคีต่าง ๆ ที่ได้ให้ความสำคัญต่อกิจกรรมสำหรับเด็กเยาวชนที่สร้างสรรค์เพื่อการเท่าทันสสื่อซึ่งจำเป็นกับสภาพกระแสสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อสร้างเด็กเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาสังคม และประเทศชาติต่อไปในอนาคต"นายคิด กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ