BOSCH รุกหนัก ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ชูบริการแผนกวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์ / ตลาดธุรกิจเทคโนโลยีเครื่องยนต์โต

ข่าวทั่วไป Thursday November 18, 2004 11:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ย.--โอเอซิส มีเดีย
บ๊อช ผู้นำด้านอะไหล่รถยนต์ เตรียมขยายธุรกิจสู่เอเชียแปซิฟิกล่าสุดใช้ไทยเป็นฐาน จัดการประชุมระดับภูมิภาคในหัวข้อของ ตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทน (Automotive Aftermarket) ภายในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2547 ณ โรงแรม เพนนินซูลา กรุงเทพ
ในฐานะผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลกในตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทน (Automotive Aftermarket) กล่าวว่า ธุรกิจการตรวจวิเคราะห์ระบบเครื่องยนต์ (Diagnostics) ที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง น่าจะผลักดันให้เกิดการเติบโตทางกลยุทธ์ในแผนก Automotive Aftermarket ของกลุ่มต่อไป
ดร. รูดอล์ฟ โคล์ม สมาชิกคณะกรรมการบริหาร โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช กล่าวว่า การเติบโตในตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีศักยภาพการขยายตัวที่สูงที่สุด เมื่อเทียบกับตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทนทั่วโลก และตลาดในภูมิภาคนี้ยังเป็นตลาดหลักของธุรกิจอะไหล่รถยนต์ บ๊อช อีกด้วย
“ตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทน (IAM) ของบ๊อชในภูมิภาคนี้มีรายได้ต่อปีมากกว่า 340 ล้านยูโร และ และเราจะขยายส่วนแบ่งทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น ด้วยการนำโปรแกรมต่างของ ตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทน ที่เข้าใจง่ายมาสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในตลาดยุโรปและรถในเอเซียน
สำหรับกลยุทธ์การเติบโตของ บ๊อช ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังได้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานในอุตสาหกรรมอะไหล่รถยนต์จากระบบเครื่องกลมาสู่ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาโรงงานรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์กลไกลแบบดั้งเดิมสามารถใช้เครื่องมือ และ วิธีการทางเครื่องกลในการซ่อมและประกอบรถยนต์แต่ละคันได้ แต่ขณะนี้การให้บริการดังกล่าวได้กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของเปอร์เซ็นต์ส่วนประกอบทางอิเล็กทรอนิกส์ในยวดยานต่างๆ จาก 25 เปอร์เซ็นต์ในปี 2545 มาเป็น 35 เปอร์เซ็นต์ในปี 2553 และส่วนประกอบเฉพาะของยวดยานแต่ละรุ่นก็ถูกพัฒนากลายเป็นระบบที่มีการบูรณาการมากยิ่งขึ้น
ในสภาพต่างๆแบบนี้ การตรวจวิเคราะห์ที่เหมาะสมน่าจะเป็นไปได้กับระบบการตรวจวิเคราะห์ที่สลับซับซ้อนเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้นการตรวจวิเคราะห์ และการให้บริการยวดยานต่างๆ ให้ได้ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ศูนย์ซ่อมรถยนต์ต่างๆ จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์ในการตรวจวิเคราะห์และการทดสอบที่ก้าวหน้าที่สุด
มร. ยูจีน คอนราด ประธานแผนก ตลาดอะไหล่รถยนต์ทดแทน โรเบิร์ต บ๊อช จีเอ็มบีเอช เปิดเผยว่า “ ปัจจุบัน รถยนต์ เสมือนเป็น คอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ อาทิ รถยนต์บีเอ็มดับบลิว ซีรี่ 7 โฉมล่าสุด มีการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์มากกว่ายานอวกาศ อพอลโล 11 เสียอีก และด้วยด้วยเทคโนโลยีการวิเคราะห์ของบ๊อช ศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ จะสามารถเชื่อมต่อไปยังคลังสมองของยวดยานเพื่อใส่ข้อมูล ตรวจสอบแผนการเดินสายไฟ ติดตามอะไหล่เฉพาะรุ่น ต่างๆ และกำหนดวิธีการซ่อมได้อย่างดีเลิศ
สิ่งที่ทำให้ บ๊อช เป็นผู้นำการแข่งขัน คือ เราไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตชั้นนำในเรื่องของอะไหล่รถยนต์ที่ได้คุณภาพ OE เท่านั้น แต่เรายังมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เครื่องยนต์อีกด้วย ดังนั้น บ๊อช จึงเหมาะสมกับตำแหน่งผู้ให้บริการด้านอะไหล่รถยนต์ทดแทนเพียงรายเดียว ที่ให้บริการทั้งอะไหล่และอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์เครื่องยนต์ในการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรในที่แห่งเดียว เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างสมบูรณ์แบบ ด้วยเทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์เครื่องยนต์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลรักษาและการซ่อมแซม ยวดยานที่มีอุปกรณ์ทางอิเล็คทรอนิคส์ที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน
การพัฒนานวัตกรรมของ บ๊อช เป็นไปตามแนวคิดที่เรียกว่า “ Parts and Bytes From One Single Source” มีองค์ประกอบของการให้บริการกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ แบบครบถ้วนทุกโซลูชั่น ไม่ว่าจะเป็น อะไหล่รถยนต์ การตรวจสอบเครื่องมือ ข้อมูลเกี่ยวกับยวดยานต่างๆ รวมถึงการฝึกอบรมด้านเทคนิคและ ฮอตไลต์สายด่วนเพื่อตอบปัญหาด้านเทคนิคอีกด้วย
นอกเหนือจาก การให้บริการกับศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ บ๊อช ยังสามารถให้บริการการแก้ปัญหาระบบการจัดการต่างๆของเครื่องยนต์ เครื่องมือและอุปกรณ์ การอบรมการบริการและสนับสนุนงานเทคนิค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานคุณภาพ OE และ บ๊อช ยังพร้อมเสนอระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และ แก๊สโซลีน ซึ่งเป็น ทำให้ศูนย์บริการซ่อมรถยนต์ต่างๆสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพและได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่สุด
ออด จอเกนรุด รองประธานฝ่ายขายภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิค แผนก อะไหล่รถยนต์ทดแทน โรเบิร์ต บ๊อช (เอสอีเอ) กล่าวว่า บ๊อชมุ่งมั่นในการในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะในตลาดการตรวจวิเคราะห์ระบบรถยนต์ อย่างเต็มรูปแบบในอีก 2 ถึง 3 ปีข้างหน้า
“ บ๊อช มีเป้าหมาย เพิ่มเครือขายศูนย์ Bosch Car Service ในภูมิภาคต่างๆ จาก 2,300 แห่งในปี 2547 เป็น 3,000 แห่งในปี 2549 โดยใช้เงินงบประมาณการสนับสนุนประจำปีจำนวน 10 ล้านยูโร เพื่อนำไปใช้ในตลาดระบบวิเคราะห์รถยนต์ Data Warehousing การสร้างฐานข้อมูลแบบรวบยอดเกี่ยวกับอะไหล่ ข้อมูลการซ่อมแซม อีกทั้งส่วนหนึ่งยังมีการจัดสรรเพื่อ ใช้ในเรื่องการพัฒนาการใช้ยวดยานพาหนะของเอเชีย อีกด้วย
ด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนรถยนต์ใหม่ๆทั่วภูมิภาค ตลอดจนการพัฒนาการใช้ประโยชน์รถยนต์อย่างเต็มประสิทธิภาพที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สอดคล้องกับ รถยนต์ รูปโฉมใหม่ๆ ที่หลากหลายในอุปกรณ์ภายในรถที่มี ส่วนประกอบอิเล็คทรอนิคส์ที่ซับซ้อนมากขึ้น นั่นคือความเหมาะสมที่ บ๊อช ให้ความสำคัญกับระบบตรวจวิเคราะห์รถยนต์และอะไหล่รถยนต์อย่างต่อเนื่อง นั่นเอง
บ๊อช กรุ๊ป ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างมหาศาลต่อเนื่องทุกปี ปี 2546 ใช้เงินถึง 2.7 พันล้านยูโร (7%ของเงินลงทุนทั้งหมด)เพื่อการนี้ อีกทั้ง บ๊อช มีแผนกเฉพาะในการคิดสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ โดยใช้ความรู้และความสามารถของผู้ที่มีประสบการณ์ จากทั่วโลก บ๊อช มีนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และช่างเทคนิครวม 21,000 คน เพื่อทำงานเกี่ยวกับการค้นคว้าฟังก์ชั่นใช้งานและรักษาความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ และพัฒนาระบบและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในปี 2546 เพียงปีเดียว บ๊อช ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์ มากกว่า 2,748 ชนิด ส่งผลให้ บ๊อช เป็นผู้สมัครจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศเยอรมนี และเป็นอันดับที่ 3 ที่สำนักงานจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของทวีปยุโรป
ต้องการข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ ประชาสัมพันธ์
บริษัท โอเอซิส มีเดีย จำกัด บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด
คุณธนะพน เขียวหวาน หรือ คุณฤดี ธรรมเทียร คุณยุพารัตน์ เหล่าธนภัทร
โทรศัพท์ 0-2937-4518-9 แฟกซ์ 0-2937-4596 โทรศัพท์ 0-2631-1879-98 แฟกซ์ 0-2631-1992
อี-เมล์: [email protected] อี-เมล์: [email protected]จบ--

แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ