นักช้อปไทยท็อปเอเชียชอบลองชิมสินค้าใหม่ ได้รับอิทธิพลการตัดสินใจซื้อมากที่สุดผ่านทีวี

ข่าวทั่วไป Thursday February 7, 2013 09:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--นีลเส็น ? 97% ของนักช้อปไทยชอบเลือกซื้ออาหารและเครื่องดื่มที่ออกใหม่เป็นที่หนึ่งในเอเชียโดย 8 ใน 10 ซื้อสินค้าออกใหม่มามากกว่า 4 อย่าง ภายใน 6 เดือน ? ผู้บริโภคไทยเปิดใจให้แบรนด์ในประเทศมากกว่าผู้บริโภคอื่นๆ ทั่วเอเชีย แต่ก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ลังเลกับการเปลี่ยนไปใช้แบรนด์ที่ไม่คุ้นเคยและการเปลี่ยนไปซื้อสินค้าที่แพงขึ้นมากที่สุด ? ในบรรดาประเทศทั้งหมดในเอเชียแปซิฟิค โฆษณาโทรทัศน์มีอิทธิพลต่อคนไทยมากที่สุด ในการแนะนำและชักชวนให้ซื้อสินค้าใหม่ จากการสำรวจของนีลเส็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อและทัศนคติต่อของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าออกใหม่พบว่า นักช้อปไทยเกือบทุกคน (97%)เคยซื้อสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ออกใหม่ในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคไทยจัดเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่ตื่นตัวที่สุดในภูมิภาคกับสินค้าบริโภคออกใหม่ นีลเส็นทำการสำรวจพฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าออกใหม่จากผู้บริโภค 29,000 คน ในทั้งหมด 58 ประเทศ ผ่านทางอินเตอร์เนต พบว่า ผู้บริโภคไทยเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีความกระตือรือร้นต่อสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่มที่ออกใหม่มากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตามมาด้วยประเทศจีน และฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ความคุ้นเคยต่อแบรนด์ก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการเลือกซื้อสินค้าออกใหม่ โดย 68% เลือกที่จะซื้อสินค้าออกใหม่จากแบรนด์ที่คุ้นเคย และคนไทยเพียง 3 ใน 10 คนเท่านั้นที่สนใจจะเปลี่ยนไปเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ไม่เคยใช้ “การสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์เดิมที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าแล้วน่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ผลิตที่ต้องการส่งสินค้าใหม่ๆเข้าสู่ตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วอย่างประเทศไทย” อัลบานี วู รองประธานกรรมการฝ่าย Innovation ระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจากนีลเส็นกล่าว จากการสำรวจพบว่า แม้ว่าผู้บริโภคไทย 2 ใน 3 คน (66%) จะพอใจที่ได้มีตัวเลือกเพิ่มขึ้นจากสินค้าออกใหม่ แต่คนไทยจำนวนเดียวกันนี้ (66%) ก็ยังต้องการรอจนกว่าสินค้าออกใหม่จะเป็นที่ยอมรับในตลาดก่อน จึงจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้านั้น ๆ โดยมีเพียง 1 ใน 3 ที่เต็มใจจะจับจ่ายซื้อสินค้าใหม่ที่มีราคาสูงกว่าเดิม นอกจากนี้ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ผู้บริโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิคมักจะชื่นชอบสินค้าภายใต้แบรนด์ระดับโลก ยกเว้นเพียงประเทศไทย ที่เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริโภค (45%) ที่จะโน้มเอียงความนิยมมาทางแบรนด์ในประเทศมากกว่า “ในบรรดาตลาดที่กำลังเติบโตในเอเชีย ที่โดยมากผู้บริโภคจะให้ความนิยมกับแบรนด์ระดับโลกมากกว่าอย่างเห็นได้ชัดไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุผลทั้งทางด้านภาพลักษณ์หรือทัศนคติเกี่ยวกับคุณภาพของสินค้า เป็นที่น่าสนใจว่าผู้บริโภคไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในภูมิภาคที่มีการตอบรับต่อสินค้าออกใหม่จากแบรนด์ในประเทศดีเทียบเท่าหรือมากกว่าแบรนด์ระดับโลก” อัลบานี วูให้ข้อสังเกตุ “หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ผู้บริโภคไทยมีทัศนคติที่ดีต่อแบรนด์ในประเทศอาจเป็นเพราะความนิยมในการเลือกซื้อสินค้าใหม่ของผู้บริโภคไทยเน้นไปที่หมวดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งประเทศไทยมีบริษัทผู้ผลิตยักษ์ใหญ่ในประเทศที่กำลังก้าวสู่ตลาดโลกจำนวนมาก อันช่วยยกระดับความนิยมและทัศนคติที่ผู้บริโภคไทยมีต่อแบรนด์ในประเทศให้ใกล้เคียงจนแทบไม่แตกต่างมากจากแบรนด์ระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความนิยมที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในประเทศอื่นๆในภูมิภาค” ในแง่ของการโฆษณา เมื่อเทียบกับผู้บริโภคทั้งภูมิภาค ผู้บริโภคไทยเป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยคนไทยจำนวนมากถึง 6 ใน 10 ระบุว่าโทรทัศน์ถือเป็นแหล่งข้อมูลแรกที่ตนได้รับทราบเกี่ยวกับสินค้าออกใหม่ และ 8 ใน 10มีแนวโน้มจะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าออกใหม่ตามโฆษณาที่เห็นผ่านทางโทรทัศน์ นอกจากนั้น การสำรวจยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดวางชั้นสินค้าในร้านค้า โดยมากกว่า 8 ใน 10 ของผู้บริโภคไทย (84%) ทดลองซื้อสินค้าออกใหม่จากการเห็นสินค้าบนชั้นวาง ซึ่งแตกต่างจากผู้บริโภคอื่นในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับคำบอกเล่าปากต่อปากจากเพื่อนและคนในครอบครัวมากกว่า “การทำตลาดสำหรับสินค้าออกใหม่ให้ประสบความสำเร็จนั้นไม่มีสูตรที่แน่นอนตายตัว ” อัลบานี วู กล่าว “ถึงแม้ว่าเราจะเล็งเห็นถึงอัตราการเจริญเติบของตลาดทั่วภูมิภาคเอเชียแฟซิฟิค รวมไปถึงความต้องการที่มากขึ้นในหมู่ผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นข้อรับรองว่าการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ๆ จะประสบความสำเร็จเสมอ สามสิ่งที่ผู้ผลิตควรคำนึงถึงอันเป็นหัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จในการพัฒนาและทำตลาดสินค้าออกใหม่คือการค้นหา ‘โจทย์’ ของผู้บริโภคที่ไม่เคยมีใครตอบได้มาก่อน, การนำเสนอจุดขายของสินค้าที่มีความแตกต่างจากในตลาดอย่างชัดเจน, และการพัฒนาสินค้าให้พร้อมวางตลาดได้ทันที ผู้ผลิตใดสามารถตอบโจทย์ทั้งสามข้อนี้ได้จะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จมากกว่าคู่แข่งในตลาดสินค้าใหม่ในประเทศไทย”

แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ