ศาสตราจารย์ ซาอิด อิรานดูสท์ อธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) ไม่เคยเป็นคนวิ่งหนีปัญหา

ข่าวทั่วไป Monday February 11, 2013 11:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--Midas PR จากการพัวพันในการต่อสู้ครั้งสำคัญของวิชาชีพอันเนื่องมาจากหายนภัยธรรมชาติ และจากนั้นไม่นานตามด้วยความวุ่นวายทางการเมืองเรื่องธรรมาภิบาล เขากล่าวว่า นี่ไม่ใช่เวลาที่คุณจะเห็นเขาหันหนีจากปัญหา ด้วยวาระการเป็นอธิการบดีจะสิ้นสุดในเดือนกรกฎาคม 2013 และจะส่งมอบมรดกเพื่ออนาคตของเอไอที ในการสัมภาษณ์อย่างเปิดเผยและลงลึก ศาสตราจารย์อิรานดูสท์พูดถึงชีวิตของเขา ความปรารถนาของเขา และเรื่องราวต่างๆ ที่สถาบันซึ่งเขาเป็นผู้นำอยู่ในประเทศไทยนี้กำลังเผชิญอยู่ ... กว่าสองชั่วโมงท่านอธิการบดีอธิบายทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่ทฤษฎีสมคบคิด, การโจมตีต่างๆ และสถานภาพปัจจุบันของเอไอที เกิดอะไรขึ้น และทำไม? เขาขึ้นชื่อทั่วทั้งสถาบันเรื่องเสื้อนอกสีสด — ที่ติดตราเอไอทีสีเขียวเสมอ เขาแสดงคารมว่า ไม่มีเหตุผลอะไรต้องทำตัวน่าเบื่อและใส่เสื้อผ้าน่าเบื่อ เขาเชื่อว่าการมีสีสันสดใสและคึกคักในมหาวิทยาลัยนานาชาติเป็นเรื่องดี เขายังขึ้นชื่อในความเป็นผู้นำที่แกร่ง ไม่กลัวการตัดสินใจที่ยากลำบาก — เมื่อถึงคราวจำเป็น; เขาบอกว่า เขาก็เป็นคนอย่างนั้นเอง อธิการบดีเอไอทีพูดจามีจังหวะจะโคน — สำเนียงเกือบจะเหมือนทำนองเพลง — อันเป็นส่วนผสมระหว่างถิ่นกำเนิดทาบริส กับสวีเดนซึ่งเป็นบ้านเขาอยู่นานกว่ายี่สิบห้าปี เห็นได้ชัดทันทีว่าเขาเป็นกันเองและเปิดเผย แต่เมื่อถูกถามถึงเรื่องสาหัสสากรรจ์ที่เขาและเอไอทีกำลังเผชิญ เขาเคร่งเครียดและจริงจังขึ้นมาทันที ถ้อยคำของเขาหนักแน่นชัดเจน — เอไอทีต้องเดินหน้าต่อไป ผมได้ทำหน้าที่ของผม และผมต้องดูแลให้อนาคตของเอไอทีเปลี่ยนผ่านอย่างโปร่งใสไปอยู่ในมือผู้ที่มีความสามารถโดยผ่านการควบคุมของคณะกรรมการบริหาร นี่เป็นความมุ่งมั่นในบุคลิกของเขา ซึ่งเขาบอกว่าเขามีมาตลอดตั้งแต่เด็ก เห็นได้เลยว่าเขาใส่ใจและปกป้องสถาบันซึ่งเขาทำงานมากว่าเจ็ดปี และเวลาพูด เขาไม่เคยอ้ำอึ้งลังเล ปัญหาเป็นความท้าทายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับผู้นำ และเขาได้เตรียมพร้อมตลอดมาเพื่อสิ่งนี้ ปัญหาก็คือความท้าทายเหล่านี้คาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ และเราต้องพร้อมไว้เสมอ — และเมื่อมาถึงเรื่องการให้ความมั่นคงแก่อนาคตของเอไอที ศาสตราจารย์อิรานดูสท์ได้ต่อสู้ด้วยความจริงจังเร่าร้อนและมานะอุตสาหะ วัยเด็กแสนสุขในถิ่นที่ไม่มั่นคง เขาเกิดในทาบริส ซึ่งอยู่ในเขตอาเซอร์ไบจันทางตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่าน โดยชาติพันธุ์ ซาอิดเป็นชาวเติร์กเชื้อสายอาเซอร์ไบจัน เขามาจากครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อเป็นนักวิชาการทำงานบริหารวิทยาลัยและโรงเรียนมัธยม “ในครอบครัวผมการศึกษาสำคัญเสมอ แม่ผมให้ความเอาใจใส่อย่างมากในเรื่องที่เกี่ยวกับการศึกษาและการเป็นอิสระด้วยทักษะความชำนาญและการศึกษา ดังนั้นสำหรับผมก็เป็นธรรมดาที่ผมจะจริงจังเกี่ยวกับการเรียนของผม ผมมีความมุ่งมั่นกระตือรือร้นเสมอสมัยเป็นนักเรียน” ซาอิดนึกย้อนอดีต เขาเป็นลูกคนกลางอยู่ระหว่างพี่ชายสองคนกับน้องสาวหนึ่งคน เขาเล่าว่าเขาพยายามอย่างหนักเพื่อให้พี่ๆ นับถือและผลที่ได้รับ คืองานบ้านสารพัด “ผมต้องทำงานหนักเพราะเป็นลูกชายคนเล็กสุด ทุกอย่างถูกโยนมาให้ผม ผมหั่นขนมปังมื้อเช้า และอะไรต่ออะไรพรรค์นั้น แต่มันทำให้เราพึ่งตัวเองได้ตั้งแต่เล็กๆ ด้วย ผมขยันและตั้งใจมากเสมอ ผมมีแต่ความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับวัยเด็ก” เมื่ออายุ 17 ปีเขาเข้ามหาวิทยาลัยทาบริส เรียนวิชาเคมี และวิทยาศาสตร์ แต่ความไม่สงบทางการเมืองในอิหร่านเวลานั้นเริ่มใกล้เข้ามา “ผมเข้าเรียนได้แค่สามหรือสี่วัน เพราะอิหร่านตอนนั้นมีความโกลาหลวุ่นวายหนัก ผู้บริหารมหาวิทยาลัยตัดสินใจปิดการเรียน และพ่อแม่ผมแนะนำให้ผมย้ายไปมหาวิทยาลัยอื่นในประเทศอื่น” หนุ่มวัยรุ่นตกอยู่ท่ามกลางการปฏิวัติอิหร่านในปี ค.ศ. 1979 ซึ่งโค่นล้มราชวงศ์ปาห์ลาวีของกษัตริย์ชาห์โมฮัมมัด เรซา ปาห์ลาวี และเปลี่ยนเป็นสาธาณรัฐอิสลามภายใต้การนำของอยาตอลลาห์ รูฮอลลาห์ โคไมนี, ผู้นำการปฏิวัติ “ผมอยู่ท่ามกลางเหตุการณ์ทั้งหลายทั้งปวงเมื่อการลุกฮือเริ่มขึ้น สำหรับผมมันน่าตื่นเต้นทีเดียวเพราะคุณสามารถรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนแปลง และประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น” พี่ชายของเขากำลังศึกษาในสวีเดนอยู่แล้ว พ่อแม่ของซาอิดจึงจัดการให้เขาตามพี่ชายไปเนื่องจากความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ชีวิตมหาวิทยาลัยและความก้าวหน้าทางวิชาการในสวีเดน ซาอิดออกจากอิหร่านด้วยเที่ยวบินท้ายสุดของสายการบิน SAS ในเดือนมกราคม 1979 ไปยังประเทศสวีเดนแดนหิมะ “ทุกอย่างน่าตื่นเต้นไปหมดสำหรับผม แต่จุดหลักของผมคือการเรียนเสมอ พ่อแม่ผมเสียสละเพื่อส่งผมมาเรียน ฉะนั้น นี่คือสิ่งที่ผมต้องทำ ผมเริ่มเรียนวิศวกรรมเคมีที่มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชาลเมอร์ส” แม้จะต้องเรียนภาษาใหม่อีกภาษาหนึ่ง แต่ความขยันหมั่นเพียรของเขาทำให้เขาสำเร็จการศึกษาควบปริญญาตรี-โท หกเดือนก่อนกำหนด เขาเรียนต่อทันทีในระดับปริญญาเอกสาขาวิศวกรรมปฏิกิริยาเคมี “นั่นเรียกว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุดสมัยนั้น แต่ผมชอบเพราะมันคือความท้าทาย ปี 1989 ผมจบปริญญาเอกด้วยหัวข้อเรื่อง monolithic reactors.” หลังจากออกจากสวีเดนไปทำวิจัยหลังจบปริญญาเอกในประเทศแคนาดา เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยวอเตอร์ลูในรัฐออนทาริโอ ไม่นานเขาได้รับเชิญกลับมาเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยชาลเมอร์สในสวีเดนอีก “ผ่านไปสี่ปีผมได้เลื่อนเป็นรองศาสตราจารย์ ถึงปี 1998 ก็ได้เป็นศาสตราจารย์เต็มตัว ตอนนั้นผมอายุ 38 มันจึงเป็นเกียรติยิ่งใหญ่มาก อีกปีหนึ่งหลังจากนั้นผมได้รับแต่งตั้งเป็นรองอธิการบดีของชาลเมอร์ส เพียงยี่สิบปีก่อนหน้านี้ผมต้องไปเรียนหนังสือในประเทศใหม่ แล้วตอนนี้ผมได้เป็นรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเดียวกัน มันจึงทำให้ผมเห็นว่า ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจทำงานหนัก” ในปี 2001 เขาได้รับการเสนอเข้ารับตำแหน่งรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยโบราส สวีเดน และอยู่ที่นั่นอย่างประสบความสำเร็จสี่ปีครึ่ง “หน้าที่ของผมคือสร้างความแข็งแกร่งด้านการวิจัย เราทำได้ดี ในเวลาสี่ห้าปีเราสามารถยกระดับมาตรฐานการวิจัยขึ้นอย่างมาก และทุกวันนี้โบราสเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสาขาการวิจัยบางสาขา” มาถึงเอไอทีและวิกฤติฉับพลัน ในช่วงนี้เองที่เกิดมีโอกาสสำหรับตำแหน่งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (เอไอที) สถาบันนี้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1959 เป็นวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาขององค์การความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เอไอทีเริ่มด้วยภารกิจพัฒนาบุคลากรมืออาชีพที่มีคุณสมบัติและความทุ่มเทอย่างสูง ซึ่งจะมีบทบาทนำในการพัฒนาแบบยั่งยืนของภูมิภาคนี้ และในการร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลก สถาบันเอไอทีฉลองวาระครบรอบห้าสิบปีไปเมื่อปี ค.ศ. 2009 ขณะนี้มีชื่อเสียงเป็นมหาวิทยาลัยอันดับสูงในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนโดยมีทิศทางแบบมหาวิทยาลัยนานาชาติ ศิษย์เก่าของสถาบันฯ ยังรวมถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและการสื่อสารของประเทศจีน เหมาชีโกว และอดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกบุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ประวัติศาสตร์อันทรงเกียรตินี้เองที่ดึงดูดความสนใจของซาอิด “ผมเริ่มงานที่เอไอทีเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2005 เมื่อโอกาสมาถึง ผมตื่นเต้นมาก ภูมิภาคนี้กำลังเติบโตและมีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ผมจึงอยากมาที่นี่” แล้วปัญหาท้าทายก็มาเคาะประตูเรียกอีกครั้ง ทันที่ที่เขามาถึงเอไอที “ในปี 2005 มีไม่กี่คนที่รู้ว่าเอไอทีเกือบจะล้มละลายแล้ว ผมต้องทำการตัดสินใจที่ยากลำบากมากหลายครั้ง — ไม่ใช่สิ่งที่คุณอยากจะทำเมื่อมาเป็นอธิการบดีคนใหม่ ผมต้องตัดลดเงินเดือน และปรับขนาดองค์กรลดคนลง 230 คน และจัดจ้างคนภายนอกทำภาระหน้าที่บางอย่างแทน” “ผมเป็นคนมุ่งเน้นที่เป้าหมายเสมอมา — ตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ความเห็นของคนส่วนใหญ่ต้องมาก่อน เมื่อต้องเป็นผู้นำองค์กร แน่นอนว่าผมฟังทุกคน แต่คุณก็ตระหนักด้วยว่าต้องมีใครสักคนตัดสินใจในเรื่องที่ผู้คนไม่ชอบ” คุณจะรักษาตำแหน่งงานเพื่อคน 200 คน หรือคุณจะเอางานของคน 1000 คนไปเสี่ยง? บางครั้งคุณต้องเลือกระหว่างแย่ กับแย่มาก ผมไม่กลัวที่ต้องตัดสินใจเรื่องยากๆ นี่ละผม ผมชอบความท้าทาย ผมชอบทำให้ทุกอย่างดีขึ้นเสมอ” การตัดสินใจเรื่องยากๆ เหล่านี้นี่เองที่ซาอิดบอกว่าช่วยให้สถาบันอยู่รอดปลอดภัยเสมอมา “สถาบันขาดดุลทางการเงินมาหลายปี ก่อนที่ผมจะมาเมื่อกลางปี 2005 แต่เมื่อถึงปลายปี 2006 เราก็เสมอดุลทางด้านการเงิน ปลายปี 2009, จากที่เริ่มโดยไม่มีอะไร เราได้สร้างสมทุนสำรองได้เกือบ 550 ล้านบาทด้วยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เราดำเนินการไป” “เราเริ่มวิเคราะห์วิกฤติการเงินของเอไอทีด้วย สถาบันฯ ก่อตั้งเมื่อปี 1959 เป็นโครงการทางการเมืองยุคสงครามเย็น แต่เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุดลง — ทุกอย่างในโลกเปลี่ยนไป ผมเริ่มตระหนักว่าเอไอทีไม่ได้ปรับตัวเข้ากับความเป็นจริงใหม่นี้เลย” เอไอทีมีลักษณะเฉพาะและมีอภิสิทธิ์พิเศษในแวดวงอุดมศึกษาของยุคนั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป เริ่มมีการแข่งขัน เนื่องจากประเทศต่างๆ ในเอเชียเริ่มสร้างโครงสร้างพื้นฐานและระบบการศึกษาอุดมศึกษาแห่งชาติของตัวเอง หลังจากทำให้เอไอทีมีความมั่นคงทางการเงิน ในปี 2006 ภายใต้การชี้แนะของคณะกรรมการอำนวยการและอำนวยการโดยคณะกรรมการบริหาร ซาอิดและคณะผู้บริหารของเขาเริ่มพัฒนา “ยุทธศาสตร์ 2013” เพื่อขยายขอบเขตความสามารถของสถาบัน “เราตัดสินใจเป็นส่วนเสริมแก่มหาวิทยาลัยในประเทศไทยและในภูมิภาค ซึ่งหมายความถึงการพัฒนาหลักสูตรที่เป็นที่ต้องการ เช่นหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอกของผู้เชี่ยวชาญ และเพิ่มความแข็งแกร่งในสาขาที่เราทำได้ดีอยู่แล้ว เราจึงเริ่มทำศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในบริบทของการเปลี่ยนแปลงในสภาพภูมิอากาศและความริเริ่มนวัตกรรมอื่นๆ ทำนองเดียวกัน” “โดยการชี้แนะของคณะกรรมการบริหาร เราเริ่มสำรวจหาแบบแผนใหม่ในการหาทุนสนับสนุนสำหรับเอไอที ซึ่งจะทำให้เอไอทีสามารถขึ้นอันดับเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยผ่านดาวเทียมในหลายๆ ประเทศ เพื่อหล่อเลี้ยงวิทยาเขตหลัก เริ่มหลักสูตรปริญญาตรี สำรวจความเป็นไปได้ในการจัดการศึกษาออนไลน์ เข้าร่วมกิจกรรมของภาครัฐและภาคเอกชนอย่างแข็งขัน และอื่นๆ” สถานภาพทางกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้ก่อตั้งเอไอทีสร้างเอไอทีให้เป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะนานาชาติ แต่กระบวนการทำให้เอไอทีมั่นคงในฐานะองค์กรระหว่างประเทศภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศไม่เคยเสร็จสมบูรณ์ หมายความว่า เอไอทีไม่เคยมีเจ้าของและหน่วยงานบริหารที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน ในระหว่างนั้น ประเทศไทยซึ่งเป็นเจ้าบ้านก็มีความเจริญพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากตั้งแต่ปี 1959 กลายเป็นสัญญาณไปยังผู้บริจาคสนับสนุนสถาบันซึ่งมองว่าเอไอทีเป็นสถาบันของไทย ให้หยุดการให้เงินทุน ระหว่างช่วงเวลานี้ประเทศไทยต้องแบกรับภาระส่วนใหญ่ในการสนับสนุนด้านการเงินแก่เอไอที ขณะกำลังสำรวจ จัดการ และดำเนินการตามแบบแผนทางเลือกใหม่เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับเอไอที งานสำคัญอีกอย่างหนึ่งเพื่อประกันว่าเอไอทีจะมีสถานภาพทางกฎหมายที่รัดกุมชัดเจนก็กำลังดำเนินไปตั้งแต่ปี 2004 เพื่อที่จะยกระดับเอไอที และทำให้สอดคล้องยิ่งขึ้นกับการร่วมงานกับภาครัฐและภาคเอกชน เป็นความรับผิดชอบของซาอิดในการทำสิ่งเหล่านี้ให้สำเร็จตามทิศทางที่ชี้แนะโดยประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเจ้าบ้าน และคณะกรรมการอำนวยการของเอไอที “ความคิดนี้เริ่มก่อนวาระของผม ตั้งแต่ปี 2004 โดย ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ซึ่งตอนนั้นเป็นประธานของเอไอที เมื่อผมมาปี 2005 ผมก็แค่รับงานต่อภายใต้การอำนวยการของคณะกรรมการอำนวยการ และประธานในขณะนั้น ท่านอานันท์ ปันยารชุน และต่อจากนั้นก็ ดร. เตช บุนนาค กระบวนการนี้นำโดยรัฐบาลไทยเพราะพวกเขาตระหนักว่าเอไอทีสามารถมีประโยชน์ต่อประเทศไทยได้มากขึ้น ถ้ามีสถานภาพระหว่างประเทศ และระหว่างรัฐ” “เราทำงานอย่างแข็งขันร่วมกับคณะกรรมการบริหารของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าเอไอทีมีสถานภาพทางกฎหมายแบบองค์กรระหว่างรัฐ-ระหว่างประเทศ เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ของสหประชาชาติ - เพราะบัญญัติจัดตั้งของเราเหมือนกัน สำหรับศาสตราจารย์อิรานดูสท์ ประโยชน์ของการมีสถานภาพทางกฎหมายเป็นสถาบันระหว่างรัฐ ระหว่างประเทศดังที่สรุปไว้ในกฎบัตรฉบับใหม่ที่กำลังขับเคี่ยวกันอยู่ตอนนี้ ซึ่งมีผลบังคับเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2012 นั้นชัดเจนอยู่แล้ว “แนวความคิดทั้งหมดนั่นก็เพื่อยืนยันความเป็นนานาชาติของเอไอที และส่งเสริมประเทศไทย, ประเทศเจ้าบ้านของเอไอที, ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค เหมือนอย่างสิงคโปร์” ใช้เวลาจนถึงเดือนสิงหาคม 2010 กฎบัตรใหม่นี้ที่จะรับรองเอไอทีเป็นองค์กรระหว่างรัฐจึงเสร็จสมบูรณ์ ตามวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งเมื่อปี 1959 และนี่ก็เป็นเรื่องตรงไปตรงมาในตอนเริ่มแรก ซาอิดกล่าว “กฎบัตรร่างเสร็จสมบูรณ์ นำมาใช้ ลงนาม และรับรองโดยประเทศไทยประเทศเจ้าบ้าน รัฐบาลไทยขณะนั้นเปิดให้ชาติต่างๆ ลงนาม และมีสิบสองประเทศกับหนึ่งองค์กรระหว่างประเทศลงนามกฎบัตรนี้ในพิธีที่จัดโดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2010. และตามเกณฑ์ที่วางไว้ในกฎบัตร ทันทีที่มีห้าประเทศให้สัตยาบันโดยผ่านรัฐสภาและระบบกฎหมายของประเทศตน หลังจากนั้นหกเดือน เอไอทีจะทำหน้าที่ในฐานะองค์กรระหว่างประเทศ” ประเทศที่ห้าที่ให้สัตยาบันกฎบัตรคือปากีสถาน ซึ่งได้ดำเนินการให้สัตยาบันกับรัฐบาลไทยเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2011 หกเดือนหลังจากนั้น คือวันที่ 30 มกราคม 2012 นับจากวันนั้นเป็นต้นมา โดยการอำนวยการของคณะกรรมการอำนวยการขณะนั้นและบัญชาการโดยรัฐบาลไทย, และตามบทเฉพาะกาลของกฎบัตร เอไอทีเริ่มดำเนินการในฐานะองค์กรระหว่างประเทศ และระหว่างรัฐบาล แต่ก็ยังคงมีหน้าที่และวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้เมื่อครั้งก่อตั้งเอไอทีในปี 1959 และตามที่ตราไว้ในกฎบัตรปี 1967. “สำหรับเรานี่เป็นวันที่ยิ่งใหญ่ เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นการให้ความยอมรับผลงานเราห้าสิบปีในประเทศไทย และจะเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้แก่เรา” แต่ก่อนถึงวันเริ่มใช้กฎบัตรในเดือนมกราคม ปัญหาเริ่มก่อตัวขึ้นสำหรับอิรานดูสท์และเอไอที ประการแรกมหาอุทกภัยปี 2011 ท่วมพื้นที่ของเอไอทีทั้งหมด ทุกอย่างจมอยู่ใต้น้ำและผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นต้องอพยพออกหมด — นี่เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสถาบัน “เราสูญหมดทุกอย่าง — มีน้ำท่วมสูงสามเมตร หลังจากสู้กับน้ำท่วมอยู่สามสัปดาห์ วันที่ 21 ตุลาคม 2011 เราถูกบังคับให้อพยพเพราะน้ำมากเกินไป เป็นช่วงเวลาที่น่ากลัวมาก แต่หลังจากวันอพยพเราเริ่มปฏิบัติงานจากสถานที่ใหม่ทันที นักศึกษาได้สำเร็จการศึกษาในเดือนมกราคม 2012 ล่าช้าไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ ทั้งที่งานด้านวิชาการของสถาบันต้องปิดทำการไปกว่าหกสัปดาห์ระหว่างช่วงน้ำท่วม “มองในแง่นั้นมันก็เป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ๋ แต่เพียงหกวันหลังจากเอไอทีจมอยู่ใต้น้ำและต้องอพยพ และเรากำลังดิ้นรนเพื่ออยู่รอด การโจมตีอย่างหนักด้วยการกล่าวหาเท็จก็เริ่มเล่นงานเรา” “อีเมล์นิรนามที่เต็มไปด้วยการใส่ร้ายป้ายสีและข้อกล่าวหาเท็จถูกเผยแพร่ ขณะที่การโจมตีทางสื่อสังคมออนไลน์ก็เริ่มขึ้น ความเป็นนิรนามไม่เปิดเผยชื่อนี่เองทำให้ยากต่อการติดตามหาตัวการ ผ่านไปพักหนึ่งบางส่วนของสมาคมศิษย์เก่าเอไอทีประเทศไทยก็เริ่มส่งเสริมการโจมตีนิรนามแบบเดียวกัน และเริ่มการโจมตีของตัวเองด้วย คนที่ไม่พอใจจากอดีตก็เริ่มสนับสนุนการโจมตีเหล่านี้” แต่ซาอิดกล่าวว่า เขาได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับเหตุจูงใจต่างๆ ที่พวกนั้นเริ่มโจมตีเอไอที เมื่อเอไอทีกำลังอ่อนแรง “เรายังคงทำได้เพียงคาดเดาเหตุจูงใจต่างๆ บางคนชี้ว่า มีเหตุผลน่าเชื่อว่ามันเกี่ยวกับเงิน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นใคร พวกเขารู้ว่าเอไอทีจะได้เงินชดเชยจากรัฐบาลหลังน้ำท่วม และเงินประกันความเสียหาย ดังนั้นถ้าพวกเขาสามารถบังคับฝ่ายบริหารด้วยวิธีใดก็ตามให้ร่วมมือกับพวกเขาโดยอาศัยการข่มขู่ต่างๆ เงินน้ำท่วมบางส่วนก็จะไปตกอยู่ในกระเป๋าใครบางคนได้ “วิธีของพวกเขาคงจะเป็นว่า กดดันให้ผมลาออก จะได้เอาคนที่ถูกใจพวกเขาเข้ามาแทนที่ผม เพื่อร่วมมือกับพวกเขา แต่แน่นอนเราจะไม่ทำอย่างนั้น ผมมีความรับผิดชอบต่อเอไอที และในฐานะผู้บริหารสูงสุด ผมต้องทำให้แน่ใจว่าผลประโยชน์สูงสุดของเอไอทีต้องมาก่อนเสมอ” ข้อกล่าวหาที่โจมตีซาอิดและคณะผู้บริหารของเขาในจุดนี้ ซาอิดบอกว่า “น่าหัวเราะ” “ไม่ว่าเราตัดสินใจเรื่องอะไร พวกเขาคัดค้านหมดและโยงไปเรื่องแผนการสมรู้ร่วมคิด มีข้อกล่าวอ้างว่าเรากำลัง “ขาย” เอไอทีให้บริษัทเอกชน ว่าผมจงใจให้น้ำท่วมเอไอทีเพื่อทำลายหลักฐาน ข้อกล่าวหาพวกนี้เป็นเท็จ แต่มีผลเสีย คุณนึกไม่ถึงหรอกว่าการโจมตีเหล่านี้มันเลวร้ายและไม่ถูกต้องแค่ไหน” ซาอิดขมวดคิ้วนิ่วหน้า “ผมรู้ว่ามันไม่จริง ฉะนั้นผมต้องจดจ่อกับภารกิจฟื้นฟูหลังน้ำท่วม มันเป็นช่วงเวลาที่ลำบากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตผม” กำหนดเวลาที่เกิดการโจมตีนี้ทำให้ซาอิดเห็นชัดว่า กลุ่มเหล่านี้ไม่ใช่มิตรของเอไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกนั้นกำลังใช้ประโยชน์จากความอ่อนแออย่างหนักเนื่องมาจากอุทกภัย และกำลังเอาองค์ประกอบที่เปราะบางที่สุดของเอไอที —คือนักศึกษา- เป็นตัวประกัน “ถ้าพวกเขากังวลแทนเอไอทีอย่างจริงใจ พวกเขาน่าจะพยายามช่วยกอบกู้สถาบันก่อนเป็นอย่างแรก” ท่ามกลางความตึงเครียดนานาประการ กฎบัตรเริ่มมีผลบังคับในปลายเดือนมกราคม 2012 และสถาบันเปิดให้เข้าอยู่ได้อีกครั้งในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงนี้เองที่บางคนเริ่มคัดค้านกฎบัตรอย่างเปิดเผยโดยใช้แนวชาตินิยม บอกว่าเอไอทีควรอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศไทยต่อไป “ในความเห็นผม มีสิ่งอันตรายสองอย่างที่สามารถใช้ได้สำหรับทุกจุดประสงค์ ไม่ว่าดีหรือร้าย อย่างหนึ่งคือศาสนา อีกอย่างคือชาตินิยม” ซาอิดว่า แต่เดือนพฤษภาคม 2012 เป็นช่วงที่ซาอิดบอกว่าเขาถูกเล่นงานโดยไม่รู้ตัว เมื่อกระทรวงการต่างประเทศของไทยเลิกความพยายามทั้งหลายที่จะให้สัตยาบันกฎบัตรเอไอที เนื่องจาก “จดหมายร้องเรียน” ที่ยื่นโดยสมาคมศิษย์เก่าเอไอทีประเทศไทย เอไอทีมีสาขาสมาคมศิษย์เก่า 27 แห่ง และสาขาหลักหนึ่งแห่ง “เพราะจดหมายนั้น เราได้รับแจ้งว่ารัฐบาลจะไม่ปล่อยเงินฟื้นฟูให้เอไอที — หรืองบประมาณสำหรับทุนการศึกษาประมาณ 130 ล้านบาทต่อปี และจะไม่ดำเนินการให้สัตยาบันสำหรับกฎบัตรเอไอทีฉบับใหม่ แม้ว่าเราจะได้รับคำมั่นสัญญาแล้วว่า เราจะไม่มีปัญหาเกี่ยกับกฎบัตรใหม่ระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านและจนกว่าประเทศไทยจะให้สัตยาบันกฎบัตรใหม่ พวกเขาบอกว่า เนื่องจากเราไม่ได้ให้สัตยาบัน คุณก็ดำเนินการในประเทศไทยไม่ได้ พวกเขาบอกว่า เราต้องกลับไปใช้กฎบัตรเดิม ไม่งั้นเราก็ผิดกฎหมาย และปริญญาของเอไอทีจะใช้ไม่ได้ในประเทศไทย” ที่เจ็บปวดสำหรับท่านอธิการบดีคือ จนบัดนี้เขายังคงไม่ทราบว่าในจดหมายร้องเรียนเขียนว่าอย่างไรบ้าง เป็นสิ่งที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนในกรณีเช่นนี้ “สิ่งแรกที่เราทำคือ ขอให้เปิดเผยข้อความในจดหมาย เพื่อเราจะชี้แจงได้ในประเด็นต่างๆ ที่อ้าง มีการลงมติที่สำคัญสามอย่างเกี่ยวกับเอไอที โดยไม่เปิดเผยจดหมาย เรายังคงไม่รู้ว่าในจดหมายมีอะไรบ้าง และยังคงเดือดร้อนเพราะผลจากจดหมายนั่น “นักศึกษาย่อมวิตกกังวลเพราะมีคนตั้งข้อสงสัยกับปริญญาของพวกเขา ก็อาจารย์เดียวกัน นักศึกษาคนเดียวกัน คุณภาพเดียวกัน — ทำไมสงสัยความถูกต้องสมบูรณ์ของปริญญา?” สถานการณ์น่าวิตกนี้กลายเป็นว่า กฎบัตรฉบับใหม่ไม่ได้รับการลงสัตยาบันโดยรัฐบาลไทย และปริญญาไม่มีผลในประเทศไทย โดยที่งบประมาณ 292 ล้านสำหรับซ่อมแซมหลังน้ำท่วมที่ได้รับอนุมัติก่อนหน้านี้แล้ว และอีกประมาณ 200 ล้านที่ประมาณการว่าจะได้รับถูกระงับ ซาอิดและทีมงานของเขาได้ดำเนินหลากหลายวิธีการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ “เนื่องจากคณะกรรมการอำนวยการได้ยุบไปเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2012 และเอไอทีได้รับคำชี้แนะให้ปฏิบัติงานภายใต้สภาสถาบันเอไอที ซึ่งประกอบด้วยเก้าประเทศที่ได้ให้สัตยาบันกฎบัตรฉบับใหม่แล้ว ที่จริงสภาสถาบันเอไอทีสามารถประชุมเป็นทางการและเดินหน้าต่อไปเพื่อเอไอที แต่ด้วยความเคารพในประเทศเจ้าบ้าน ในการประชุมครั้งแรกสุด สภาสถาบันเอไอทีตัดสินใจว่าจะรอจนประเทศไทยให้สัตยาบันกฎบัตร และเข้าร่วมในสภาเสียก่อน และก่อนถึงเวลานั้นจะไม่ตัดสินใจเชิงยุทธศาสตร์ใดใดที่เกี่ยวกับเอไอที แต่เนื่องจากปัญหาได้ขยายใหญ่โตอย่างคาดไม่ถึง เอไอทีได้ทำงานกับเก้าประเทศเหล่านี้เพื่อเจรจาอย่างจริงจังกับประเทศไทยและหาทางออกซึ่งเป็นผลดีที่สุดสำหรับนักศึกษา นี่เป็นประเด็นเปราะบางมากเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ, การตีความของรัฐบาลไทยเกี่ยวกับสถานการณ์นี้ และภาระผูกพันของประเทศต่างๆ เรื่องนี้จะสามารถแก้ไขได้โดยเปิดประตูพูดคุยกัน ด้วยการไกล่เกลี่ยและการแก้ปัญหาเพื่อผลทางการปฏิบัติตามวิถีเอเชียเท่านั้น” แม้ว่าคนที่ร้องเรียนกล่าวหาเอไอทีไม่เคยเปิดเผยจดหมายร้องเรียนลับของตน การโจมตีอย่างต่อเนื่องที่ซาอิดและเอไอทีได้รับเรื่อยมา ซึ่งถูกขยายออกไปอื้ออึงโดยสมาชิกบางคนของสมาคมศิษย์เก่าเอไอทีในไทยผ่านทางสื่อหลักและสื่อสังคมออนไลน์ ก็คือ ซาอิดกำลังพยายามจะ “ขาย” เอไอที ซาอิดหัวเราะให้กับข้อกล่าวหานี้ “คุณเคยได้ยินว่ามีใครสามารถ “ขาย” องค์กรระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐได้บ้างไหม? ข้อกล่าวหาพวกนี้มันจะไร้สาระไปถึงไหน? “ตอนนั้นเอไอทีกำลังเผชิญปัญหาทางการเงินและด้วยมาตรการเฉพาะหน้าซึ่งเราได้ดำเนินการทันทีหลังจากที่ผมมาเป็นอธิการบดี สถาบันก็สามารถอยู่รอดมาได้ แต่ว่า เอไอทีก็ต้องมีแผนระยะยาวเพื่อความยั่งยืนของสถาบัน ดังนั้น คณะกรรมการอำนวยการในขณะนั้นและคณะกรรมการบริหารในขณะนั้นได้จ้างที่ปรึกษาอิสระเพื่อทำการศึกษาวิจัยแวดวงการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภูมิภาค และศึกษาว่าเอไอทีควรจะก้าวต่อไปอย่างไร ตามที่การศึกษาวิจัยนี้ได้แนะนำ จึงมีการริเริ่มหลักสูตรปริญญาตรีที่เอไอที ซึ่งได้รับการรับรองอย่างสมบูรณ์โดยคณะกรรมการอำนวยการในขณะนั้นและคณะกรรมการบริหารในขณะนั้น นี่ทำให้เกิดการโจมตีอย่างมากจากบางภาคส่วนของสมาคมศิษย์เก่าไทย เพราะพวกเขาคงจะคิดว่าเรากำลังส่งผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขา “โดยคำแนะนำของการศึกษาวิจัยนี้ และโดยการแนะแนวทางของคณะกรรมการอำนวยการ เรากำลังดูเรื่องพัฒนามหาวิทยาลัยผ่านดาวเทียมทั่วเอเชีย และนอกเอเชีย และการศึกษาออนไลน์ที่เป็นไปได้ เอไอทีไม่มีทรัพยากรที่จะทำสิ่งนี้และเราก็มองหาเงินกู้ ซึ่งก็หาไม่ได้เลย การร่วมทุนระหว่างรัฐ-เอกชนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ หลังจากชั่งน้ำหนักทางเลือกต่างๆ เหล่านี้ คณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหารในขณะนั้นให้เอไอทีเซ็นบันทึกความเข้าใจกับบริษัท Laureate Education Inc., ลงนามร่วมโดยตัวผมเอง และประธานคณะกรรมการบริหาร “ในปี 2008, เอไอทีเชิญชวนผู้แสดงความสนใจ มีสามบริษัทตอบกลับ ในสามบริษัทที่ได้แสดงความสนใจนี้ บริษัท Laureate Education Inc., ซึ่งประธานกิตติมศักดิ์คือบิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา มีความเข้มแข็งและมีประวัติผลงานแบบที่เอไอทีกำลังมองหา ดังนั้นจึงมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจแบบไม่ผูกมัด เพื่อสำรวจความเป็นไปได้ของการเป็นหุ้นส่วนร่วมมือกัน ทว่า กลุ่มเดิมในสมาคมศิษย์เก่าไทยนั้นก็เริ่มโจมตีว่าเอไอทีกำลังจะถูกขาย บันทึกความเข้าใจครบกำหนดไปเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2012.” การพูดคุยเกี่ยวกับการสำรวจเรื่องร่วมมือเป็นหุ้นส่วนกันกับ Laureate Education Inc. ได้เริ่มขึ้นในปี 2008 ทั้งที่ทุกอย่างถูกเปิดเผยชัดเจน ศิษย์เก่าไทยบางคนซึ่งเคยร่วมทำธุรกิจกับ Laureate ไม่ค่อยชอบใจที่เอไอทีได้พูดคุยกับ Laureate ในฐานะหุ้นส่วน “สถาบันไหนก็ไม่อาจดำเนินการตามความเพ้อและจินตนาการของศิษย์เก่าที่ขุ่นเคือง,” ซาอิดโอดครวญ “คณะกรรมการและคณะผู้บริหารต่างก็ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปเพื่อให้ได้รูปแบบใหม่ในการจัดหาทุน เพื่อที่เอไอทีจะมีความมั่นคงยั่งยืนได้ แต่ทั้งหมดนี้ถูกหยุดไว้เพราะศิษย์เก่าที่มีอำนาจบางคนไม่พอใจ” เอไอทีต้องก้าวต่อไป แล้วบุรุษซึ่งเป็นผู้นำคณาจารย์มาเจ็ดปีครึ่งรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการพลิกผันของเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยที่เขาภาคภูมิใจมาก? “มันน่าผิดหวัง มันยากมากที่จะจัดการกับข่าวลือต่างๆ เพราะมีการให้ข้อมูลผิดๆ และการโจมตีก็จัดระบบอย่างดีด้วยข้อกล่าวหาต่างๆ และพวกเขาใช้สื่อสังคมออนไลน์ซึ่งแพร่กระจายได้รวดเร็ว ตรวจสอบยาก และยากที่จะโต้ตอบได้อย่างเหมาะสม “ทุกอย่างไปได้ดีสำหรับคณะบริหารของผม ในเรื่องประสิทธิภาพ ผลงาน และความสำเร็จ เรากอบกู้เอไอทีจากการล้มละลาย, ริเริ่มสิ่งใหม่ๆ เช่นหลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตรต่อเนื่องปริญญาตรีและปริญญาโท หลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกสำหรับผู้เชี่ยวชาญ และเสริมความเข้มแข็งผลงานด้านวิจัยของสถาบันเรามีฐานการเงินที่มั่นคงและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเรามีแผนการดีๆ สำหรับอนาคต” ด้วยข้อโต้แย้งทั้งหลายเกี่ยวกับกฎบัตรใหม่นี้ แต่เขาก็ชัดเจนว่าสถานภาพองค์กรระหว่างประเทศจะทำให้เอไอทีมีหลักประกันสำหรับอนาคตของสถาบันและสร้างความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ “ประเทศไทยไม่ต้องการมหาวิทยาลัยของชาติอีกแห่งหนึ่ง — มีมหาวิทยาลัยดีๆ อยู่มากแล้ว สิ่งที่ไทยต้องการคือสถาบันอุดมศึกษาชนิดใหม่ — อย่างเอไอที ถ้าพวกเขาเปลี่ยนเอไอทีเป็นสถาบันของไทยสำเร็จ ผมก็จะบอกว่าเอไอทีก็จบกัน เหตุที่พูดอย่างนี้ก็เพราะว่า “ดีเอ็นเอ” ของเอไอทีมีลักษณะนานาชาติมาตลอด และเราต้องการให้มีสถานภาพที่เหมาะกับลักษณะนั้น กฎบัตรใหม่จะเปิดประตูใหม่ๆ สำหรับเอไอที ในด้านความร่วมมือกับองค์กรอื่นและการยอมรับในวงกว้างขึ้น” ซาอิดบอกว่าผู้สนับสนุนกฎบัตรใหม่ไม่ใช่มีเพียงตัวเขา แต่มีคนไทยชั้นน้ำอีกหลายคน — อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตประธานคณะกรรมการอำนวยการ ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน และ ฯพณฯ ดร. เตช บุนนาค อดีตประธานคณะกรรมการอำนวยการอีกท่านหนึ่ง และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย “ความคิดนี้มีมาตั้งแต่ประมาณปี 2004 สมัยคุณอานันท์ซึ่งมีวิสัยทัศน์ชัดเจนสำหรับเอไอที เป็นประธาน ท่านตระหนักในประโยชน์แก่ประเทศไทยของเอไอทีที่เป็นองค์กรระหว่างประเทศ กฎบัตรใหม่เริ่มมีผลในปี 2012, ฉะนั้น กระบวนการก็ดำเนินมาหลายปีแล้ว” ซาอิดได้เดินทางไปประเทศผู้บริจาคหลายประเทศกับ ดร. เตช เพื่อประชาสัมพันธ์ให้เอไอที และหาทุนสนับสนุนแก่เอไอที อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทราบดีว่าเอไอทีจะไม่ได้รับทุนสนับสนุนในแบบเดิมๆ และการยกระดับสถานภาพของเอไอทีเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ระหว่างรัฐ เป็นหนทางหนึ่งในไม่กี่ทางที่ผู้บริจาคจะยังคงสนับสนุนเอไอทีต่อไป “ด้วยการที่ประเทศไทยไม่มีคุณสมบัติสมควรรับเงินจากผู้บริจาค โดยเฉพาะประเทศกลุ่ม OECD, ขณะเดียวกันเอไอทีก็ไม่สามารถรับการบริจาคจากรัฐบาลต่างๆ เพราะสถานภาพทางกฎหมายที่ไม่ชัดเจน ในทางกฎหมายเอไอทียังคงได้รับการปฏิบัติจากผู้บริจาคเสมือนเป็นสถาบันของไทย และพวกเขาจะไม่ให้เงินทุนแก่สถาบันของไทย” “ทั้งคุณอานันท์ และ ดร. เตช เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่ที่ได้ทำเพื่อประเทศไทยมามาก ถ้าท่านได้ต่อสู้อย่างมากเพื่อกฎบัตรใหม่สำหรับเอไอที หมายความว่า นี่เป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้อง ทั้งสองท่านไม่เคยทำสิ่งใดที่ขัดกับประโยชน์ของประเทศไทย เหตุผลหนึ่งในหลายๆ เหตุผลสำคัญที่ผู้คนสนใจมาเรียนที่เอไอที และสนใจให้ความร่วมมือเป็นพันธมิตร ก็คือความเป็นกลาง และความเป็นนานาชาติของเอไอที ทันทีที่มหาวิทยาลัยได้รับการรับรองในฐานะองค์กรระหว่างประเทศ นั่นก็เป็นเครื่องหมายของคุณภาพระดับหนึ่งด้วย “ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ