กสอ. ลงพื้นที่โรงงานใจกลางกรุง 300 เอาอยู่ โชว์โมเดลความสำเร็จอุตสาหกรรมสิ่งทอ ใช้ 2 กลยุทธ์ลดต้นทุนกว่า 7 ล้านบาทต่อปี

ข่าวทั่วไป Monday February 11, 2013 14:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรมโชว์โมเดลความสำเร็จโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใจกลางเมือง ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน อันเป็นผลมาจากกลยุทธ์การส่งเสริมของ กสอ. ใน 2 โครงการอันได้แก่โครงการ LEAN และ MUที่สามารถลดต้นทุน กว่า 7 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันกสอ.ได้เร่งจัดตั้งมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการรายอื่นให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นภายใต้การจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทพร้อมต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กว่า 30% โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด5อันดับได้แก่ กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มการค้า กลุ่มบริการ กลุ่มการผลิตเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม กสอ. มั่นใจโครงการต่าง ๆของ กสอ. จะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้อย่างแท้จริง อาทิ โครงการ MDICP ซึ่งเป็นโครงการที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการปรับปรุงระบบการผลิต การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านการเงินและบัญชี การจัดการด้านตลาดและการพัฒนาบุคลากรกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEAN ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมถึงลดต้นทุนในการผลิตสินค้าให้ต่ำลงกิจกรรมปรึกษาแนะนำเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา (Multi Material Utilization) จะสามารถช่วยผู้ประกอบการลดต้นทุนได้อย่างน้อย 10 - 50 % สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่กสอ. 02 202 4414-16 นางศิริรัตน์ จิตต์เสรี รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทต่อวัน ที่รัฐบาลประกาศใช้เมื่อวันที่ 1มกราคม ที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องปรับตัวเพราะค่าแรงได้ผลักดันให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ประกอบการหลายรายมองว่า อาจจะต้องมีการเพิ่มราคาสินค้าอย่างน้อย 18% ถึงจะอยู่รอด ซึ่งอาจเป็นไปได้ยากในภาวะของการแข่งขันสูงในตลาดโดยในปัจจุบันผู้ประกอบการบางรายได้มีการปรับตัวและวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจใหม่ให้สามารถดำเนินต่อไปได้และยังสามารถดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอ บริษัทเซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ก็สามารถปรับตัวได้ หลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการ ฯ กับทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างไม่ขาดทุน นางศิริรัตน์ฯ กล่าวต่อว่าอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดนั้นเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเป็นจำนวนมากแต่มีสัดส่วนของกำไรสุทธิไม่มาก เช่น กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มอุตสาหกรรมการค้าและบริการ ซึ่งกลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มถือเป็นอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างสูง ตามมาด้วยอุตสาหกรรมการผลิตเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมการให้บริการอย่างธุรกิจโรงแรม และธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งหลังการปรับค่าแรงงานขั้นต่ำแล้ว หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนค่าแรงก่อนปรับขึ้นกับหลังปรับขึ้นนั้นต้นทุนค่าจ้างสำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในปี 2556 จะอยู่ที่ 25-28% เช่น ต้นทุนค่าแรงงานก่อนปรับ1 มกราคม2556 หากโรงงานนั้นมีคนงาน 150คน ได้รับค่าแรง 240บาทต่อวัน ทำงาน 26 วันต่อเดือน รวมทั้งสิ้น12 เดือน ในปีนั้นจะต้องจ่ายค่าแรง 11.232ล้านบาท แต่เมื่อปรับค่าจ้างแรงงานเป็น 300 บาทแล้วปีนั้นจะต้องจ่ายค่าแรงเพิ่มเป็น14.040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นปีละ2.808ล้านบาท หรือสูงขึ้น25% อย่างไรก็ตาม ทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้พยายามคิดหามาตรการเร่งด่วน ในการช่วยเหลือส่งเสริมผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ รวมถึงสถานประกอบการต่างๆอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นภายใต้การจ้างแรงงานขั้นต่ำ300 บาทต่อวัน ซึ่ง กสอ.จะมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุนการผลิตพร้อมกับชดเชยต้นทุนด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้นผ่านโครงการ ต่างๆ อาทิโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน หรือ MDICPซึ่งเป็นโครงการที่ให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการปรับปรุงระบบการผลิต การวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการด้านการเงินและบัญชี การจัดการด้านตลาด และการพัฒนาบุคลากร โครงการบริการเงินสมทบจ้างที่ปรึกษาเพื่อปรับปรุงการผลิตการจัดการ การตลาด และการบริการ (ConsultancyFund:CF)โครงการการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม (Total Energy Management : TEM)ด้วยแนวคิดในการประหยัดพลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าที่สุดโครงการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ : Enhancing SMEs Competitiveness Through IT (ECIT)โดยการนำระบบ IT มาช่วยในการบริหารจัดการภายในโรงงานกิจกรรมให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEAN ซึ่งเริ่มโครงการ ฯ มาตั้งแต่ ปี 51จนถึง ปี 55 รวมSMEs ที่เข้าโครงการฯ ทั้งสิ้นกว่า 315 ราย มีผลทำให้สถานประกอบการสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นภายในองค์กร รวมถึงลดต้นทุนในการผลิตสินค้าให้ลดต่ำลงมากที่สุดโดยเฉพาะในปี 2555มี SMEs เข้าร่วมโครงการ 105 ราย ทำให้ต้นทุนการผลิตที่ลดลงรวมเป็นจำนวน 593 ล้านบาทส่วนกิจกรรมการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ในอุตสาหกรรมรายสาขาเป็นกิจกรรมการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการ อาทิ ด้านเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดการ และการตลาด เป็นต้น ซึ่งกรมฯ ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 15 ปี มีสถานประกอบการเข้าร่วมกว่า 2,000 กิจการ โดยในปี 2555 มีสถานประกอบการเข้ารับบริการจำนวน 110 ราย สามารถเพิ่มผลิตภาพได้ทั้งสิ้นกว่า 2,200 ล้านบาทนางศิริรัตน์ฯ กล่าว นางศิริรัตน์ฯกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมามีผู้ประกอบการที่จ่ายค่าจ้างแรงงานในอัตราที่ต่ำกว่า 300 บาทและสูงกว่า300 บาท ซึ่งแต่ละรายอาจได้รับผลกระทบมากหรือน้อยแตกต่างกันไป โดยมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่เข้าร่วมโครงการ ฯ และกิจกรรมต่างๆกับทาง กสอ. ก่อนการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จำนวนกว่า 3,000 ราย ในปี 2555 และคาดว่าจะมีผู้ประกอบการไม่ต่ำกว่า 3,000 ราย เตรียมตัวเข้าโครงการ ฯ กับ กสอ. ในปี 2556 เพื่อหาแนวทางในการรับมือกับการปรับค่าแรงขึ้นดังกล่าว ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปแล้วเบื้องต้นนั้นทาง กสอ. มีโครงการและกิจกรรมต่างๆมากมายกว่า 40 โครงการ ที่จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะพิจารณาว่าแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีปัญหาอย่างไร และควรใช้แนวทางใดบ้างในการแก้ปัญหาโดยจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้และเหมาะสมที่สุด ซึ่งที่ผ่านมามีกรณีศึกษาของแต่ละประเภทอุตสาหกรรมที่หลากหลายและได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าแรงแต่เมื่อเข้าร่วมโครงการกับทาง กสอ. ก็สามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งหากผู้ประกอบการทั้งที่ได้รับผลกระทบและไม่ได้รับผลกระทบ ได้มีโอกาสในการรับรู้และสามารถเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมกับทาง กสอ.ก็จะมีภูมิคุ้มกันในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งมีทิศทางในการดำเนินธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น รวมทั้งยังสามารถลดการสูญเสียในส่วนที่ไม่จำเป็นลง ทำให้ต้นทุนลดลงได้ โดยแนวโน้มของการลดจำนวนแรงงานหรือปิดกิจการ คาดว่าจะลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้กว่า 80% ด้าน นายสุพจน์ ภาวจิตรานนท์ บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัดหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการกับทาง กสอ. กล่าวว่า บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด เป็นผู้ผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอขนาดกลางมีพนักงานจำนวน 650 คน โรงงานเล็งเห็นทิศทางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำมาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว รวมถึงปัญหาพนักงานขาดความรู้ในเรื่องการใช้วัตถุดิบ การทำงานไม่เป็นทีมเวิร์ค การขาดระบบการจัดเก็บข้อมูลสถิติ ส่งผลให้โรงงานมีต้นทุนในการผลิตสูง จึงได้เข้าร่วมโครงการของ กสอ. ตามลำดับดังนี้ 1. โครงการให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ SMEs ด้วยระบบ LEANคือลดการสูญเปล่าที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดต้นทุน ลดเวลาที่ใช้ในการผลิต และเพิ่มผลกำไรสำหรับความสูญเปล่าใน7 ด้าน ได้แก่ ผลิตมากเกินไป (Overproduction)มีกระบวนการมากเกินไป (Overprocessing)หรือกระบวนการที่ขาดประสิทธิผล (Non-effectiveprocess)การขนย้าย (Conveyance)ระหว่างกระบวนการมากการเก็บวัตถุดิบคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessarystock)การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessarymotion)การรอคอย (Waiting/Delay)การเกิดของเสียและการแก้ไขงานเสีย (Defect and rework) 2. โครงการปรึกษาแนะนำเชิงลึกในอุตสาหกรรมรายสาขา(Multi Material Utilization) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเช่นการปรับปรุงโรงงาน เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตพัฒนาบุคลากรซึ่งประกอบไปด้วยฝ่ายแรงงาน ฝ่ายเทคนิคฝ่ายบริหาร การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ ทั้งด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ R&D ซึ่งหลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว กสอ.ได้เข้ามาสำรวจและช่วยวิเคราะห์ปัญหา ตลอดจนหาแนวทางแก้ไขเพื่อช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ด้วยการให้คำปรึกษาจนนำไปสู่การจัดตั้งระบบการใช้วัตถุดิบเชิงลึก การจัดอบรมการทำงานเป็นทีมให้แก่พนักงานทุกระดับ พร้อมการทำ Work Shop การออกแบบฟอร์มการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบมากขึ้น ซึ่งแต่ละกระบวนการสามารถลดการสูญเสียในเรื่องของต้นทุนได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของแรงงาน เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประสิทธิภาพ วัตถุดิบผ้ามีวิธีการนำมาใช้ที่ถูกต้องและลดการสูญเปล่าได้มากขึ้นกว่า 20% รวมถึงระบบการบริหารงานภายในเป็นขั้นตอนและมีความชัดเจนเพิ่มขึ้นซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อวิเคราะห์ในภาพรวม สามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยได้กว่า 7 ล้านบาทต่อปี จากที่เมื่อ 2ปี ที่แล้ว โรงงานเคยให้ค่าแรงขึ้นต่ำ วันละ 215 บาทและปรับมาเป็นการจ้างแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ไม่ใช่อุปสรรคอีกต่อไป นายสุพจน์ฯ กล่าว สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่างๆกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ 02 202 4414 -16 หรือ www.dip.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ