ประสิทธิภาพของยาเอนเทคคาเวียร์ (entecavir) และข้อมูลของการดื้อยาจากการประชุมของสมาคมศึกษาโรคตับแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (APASL)

ข่าวทั่วไป Wednesday August 24, 2005 17:35 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--เวเบอร์ แซนวิค
ข้อมูลจากผลการศึกษาทั้ง 3 กรณีที่ได้นำเสนอในการประชุมของสมาคมศึกษาโรคตับแห่งภูมิภาคเอชียแปซิฟิค (Asian Pacific Association for the Study of the Liver - APASL) ครั้งที่ 15 ได้รับการเปิดเผยว่า ยาเอนเทคคาเวียร์ (entecavir) ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานมีประสิทธิภาพเหนือกว่าหรือใกล้เคียงกันกับยา lamivudine ในการรักษาผู้ป่วยหลายรายที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (HBV) ในการศึกษานี้มีผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ ได้แก่ กลุ่มที่เริ่มการรักษาโดยวิธีใช้ยาต้านไวรัสเป็นครั้งแรก (nucleoside-naieve) กลุ่มที่มีเคยได้รับการรักษาโดยใช้ยาต้านไวรัสมาก่อน (โดยใช้ยาชนิดอื่นที่ไม่ใช่ยาเอนเทคคาเวียร์) และกลุ่มที่ดื้อต่อยา lamivudine (หมายถึงกลุ่มที่ไม่มีปฎิกริยาตอบโต้ มีอาการทรุดลง หรือ กลุ่มดื้อยา)
ผลจากการศึกษาอีกกรณีได้รับการเปิดเผยว่าหลังจากได้รับการรักษาเป็นเวลา 1 ปี ไม่มีหลักฐานบ่งชี้แน่ชัดว่าผู้ป่วยในกลุ่ม nucleoside-naieve ซึ่งเป็นกลุ่มติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังว่ามีการดื้อต่อยาเอนเทคคาเวียร์ ยาเอนเทคคาเวียร์เป็นยาในกลุ่ม nucleoside analog และเป็นตัวยาที่ใช้ในการยับยั้งโรคไวรัสตับอักเสบบี
ศาสตราจารย์ ซี แอล ไล ผู้เชี่ยวชาญด้าน Medicine & Hepatology และเป็นหัวหน้าภาควิชา Gastroenterology & Hepatology แผนกเวชศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยฮ่องกง แห่ง Hong Kong SAR ประเทศจีน กล่าวว่า “แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงความเป็นไปได้ของการดื้อยาเมื่อต้องตัดสินใจว่าจะใช้ยาต้านไวรัสชนิดใดในการรักษาผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบี” และยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ฐานข้อมูลขั้นที่ 3 ของการวิเคราะห์ยาเอนเทคคาเวียร์ในปัจจุบันได้รับการเปิดเผยว่าไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้แน่ชัดว่ามีการดื้อยาเอนเทคคาเวียร์เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ป่วย nucleoside-naieve หลังจากได้รับการรักษาในระยะเวลา 48 สัปดาห์ มีเพียงร้อยละ 1 ของกลุ่มที่ดื้อยา lamivudine (lamivudine-refractory patients) ซึ่งได้รับการรักษาโดยการใช้ยาเอนเทคคาเวียร์นั้นยังมีไวรัสหลงเหลืออยู่ (หรือการตรวจพบระดับไวรัสหลงเหลืออยู่) เนื่องจากการดื้อยา
ศาสตราจารย์ ไจย์ จิดอน ประจำมหาวิทยาลัย Capital University of Medical Sciences ประจำโรงพยาบาลปักกิ่ง เฟร็นด์ชิพ ประเทศจีน กล่าวว่า “โรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังนี้เป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญในลำดับต้นๆ ของประเทศจีน” และได้กล่าวเสริมว่า “ผมเชื่อว่าเรามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการวินิจฉัยและรักษาในระดับเริ่มแรกด้วยวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อที่จะบ่งชี้ความซับซ้อนในระยะยาวซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในประเทศของเรา”
มีผู้ป่วยมากกว่าครึ่งล้านทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับขั้นแรกในแต่ละปี และมากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยโรคมะเร็งตับขั้นแรกมีสาเหตุมาจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง และมีประชากรจำนวน 400 ล้านคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้องรังนี้ โดยร้อยละ 75 อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย โรคมะเร็งตับขั้นแรกหรือ hepatocellular carcinoma (HCC) เป็นสาเหตุของการตายด้วยโรคมะเร็งในสามลำดับแรกของในหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย
- จีนเป็นประเทศที่มีปัญหาด้านโรคไวรัสตับอักเสบบีและโรคมะเร็งตับมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรประมาณ 130 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 10 ของจำนวนประชากรติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
- ในแต่ละปี มีประชากรประมาณ 360, 000 คนจากประเทศต่างๆ ในแถบตะวันออกของทวีปเอเชีย (ประเทศจีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลี) ตายด้วยโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
- ในประเทศอินเดีย มีประชากรประมาณ 1 ใน 20 คน ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง โดยคิดเป็นร้อยละ 1 ของการตายทั้งหมดในกลุ่มผู้ใหญ่เนื่องจากโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
- มีประชากรชาวสิงคโปร์ร้อยละ 6 หรือประมาณ 250, 000 คน ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง
ผลรายงานล่าสุดด้านการจัดการโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังประจำปี 2548 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้รับการเปิดเผยว่าการยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสเป็นสิ่งสำคัญในการลดหรือป้องกันการทำลายตับและการเจริญเติบโตของโรค และจุดประสงค์พื้นฐานของการรักษาคือการกำจัดหรือยับยั้งไวรัสตับอักเสบบีอย่างถาวร
การศึกษาในขั้นที่ 3 ได้ค้นคว้าเรื่องประสิทธิภาพของยาเอนเทคคาเวียร์ในการรักษาผู้ป่วยหลายประเภทที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังรวมถึงทั้งผู้ป่วยในกลุ่มที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นบวก (hepatitis B e-antigen) ผู้ป่วยในกลุ่ม nucleoside-na?ve ที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นลบ รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่ดื้อยา lamivudine ผู้ป่วยที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นบวกนั้นจะมีระบบการทำงานของตับแย่ลง เกิดภาวะตับแข็ง และมะเร็งตับ และคิดเป็นร้อยละ 25 ถึง 40 ของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ตรวจพบค่า HBeAg ได้ผลเป็นลบนั้นจะมีอาการซึ่งสามารถจำแนกตามเวลาการเจริญเติบโตของความรุนแรงที่ตับถูกทำลายร่วมกับการแสดงอาการในด้านลบในระยะยาว รวมไปถึงการเจริญเติบโตของภาวะตับแข็งและมะเร็งตับอย่างรวดเร็ว
ผลการศึกษาในขั้นที่ 3 ที่ได้รับการเปิดเผยจาก APASL มีดังต่อไปนี้
- ETV-023 คือการศึกษาทางคลินิกแบบสุ่มตัวอย่างของผู้ป่วย 519 คนซึ่งถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม และนำผลมาเปรียบเทียบกันโดยที่ทั้งสองกลุ่มไม่ทราบถึงการทดลองนี้ (double blinded study) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาเอนเทคคาเวียร์ในกลุ่มผู้ป่วย nucleoside-na?ve ซึ่งเป็นผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังในประเทศจีน ในการรักษาเป็นระยะเวลา 48 เดือน พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์ปริมาณ 0.5 มิลลิกรัม มีอาการดีขึ้นถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยใช้ยา lamivudine (มีระดับไวรัสตับอักเสบบีดีเอ็นเออยู่ในระดับกว่า [0.7 Meq/mL by bDNA assay
] และรักษาระดับของ ALT ในสภาวะปกติ โดยน้อยกว่า 1.25 เท่าของขีดจำกัดบนของสภาวะปกติ) ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการรักษาโดยใช้ยาเอนเทคคาเวียร์นั้นมีประสิทธิภาพในการลดจำนวนไวรัสดีกว่าอย่างเห็นได้ชัดโดยทางสถิติ (p

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ