มูลนิธิไทยคม หนุนโรงเรียนบ้านสันกำแพงโชว์ผลงาน นักเรียน-ครู "คิดเป็น ทำเป็น" คว้ารางวัลระดับชาติ

ข่าวทั่วไป Tuesday March 5, 2013 10:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 มี.ค.--มูลนิธิไทยคม งานเปิดบ้านวิชาการโรงเรียนบ้านสันกำแพง จากโรงเรียนประชาบาลประจำอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จนในปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียนที่มีผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานเข้าเรียนมากที่สุด เน้นการเรียนการเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) ตามสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ เน้นปฏิบัติจริง ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ สังเคราะห์ และพรีเซนต์ได้ และภายในงานจะมีการนำเสนอโครงงานของนักเรียนและคุณครูที่ได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน จากการประกวดระดับชาติ 3 รายการ เริ่มจากการแข่งขันของนักเรียนและคุณครูของโรงเรียนบ้านสันกำแพง อ.สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้รับรางวัลการประกวดระดับเหรียญทองในระดับภาค ทำให้ได้รับสิทธิ์เข้าประกวดระดับชาติ ในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 62 ณ เมืองทองธานี ซึ่งทั้งนักเรียนและคุณครูได้คว้ารางวัลกลับโรงเรียน 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน คือ - รางวัลเหรียญเงิน การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลองช่วงชั้นที่ 2 (ป.4-6) จากโครงงานเรื่อง “เชื้อเพลิงแข็งจากเศษสบู่” ของนักเรียนชั้นป. 5 - รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันศาสตร์คณิตชีวิตประจำวัน สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (เด็กสมาธิสั้น) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 หมวด การศึกษาพิเศษ (โรงเรียนเรียนร่วม) โดยด.ช.เกียรติศักดิ์ ถาจันทร์ และด.ช.ธราธิป กันตีมูล ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - รางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ด้านนวัตกรรม สาขาบูรณาการ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. ( OBEC AWARDS ) ได้แก่ อาจารย์โสภาพรรณ ชื่นทองคำ นายบพิธ โกมลภิส ผู้อำนวยการโครงการมูลนิธิไทยคม กล่าวว่า “คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าจากจำนวนนักเรียนที่มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เริ่มจากปี 2545 จนถึงในปัจจุบันที่โรงเรียนต้องมีการควบคุมจำนวนผู้เรียนเพื่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนเป็นการยืนยันว่าการเรียนการสอนแบบโครงงาน (Project Base Learning) ทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ ซึ่งนับจากจุดเริ่มต้นในปี 2542 ผู้บริหารของโรงเรียนบ้านสันกำแพงตัดสินใจนำโรงเรียนเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (Constructionism) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มูลนิธิไทยคมเชื่อมั่นและมุ่งมั่นให้การสนับสนุน ด้วยการจัดเรียนการสอนที่เน้นให้เด็กเรียนรู้ผ่านโครงงาน (Project Base Learning) ซึ่งเป็นการเรียนตามสิ่งที่ผู้เรียนสนใจ เด็กจะได้ลงมือทำ ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ได้ นอกจากนี้ การเรียนจะใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นสื่อการเรียนในการค้นคว้าหาข้อมูล โดยคุณครูจะทำหน้าที่เป็น Facilitator คือ ผู้แนะนำ ชี้แนะ ให้คำปรึกษาและคิดงานร่วมกับนักเรียน ก่อนที่จะบูรณาการโครงงานเข้าสู่รายวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรภาคบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคม ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ ส่วนนักเรียนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดหัวข้อที่ต้องการเรียน มีการค้นคว้าหาข้อ มูลเกี่ยวกับโครงงานที่ตนสนใจเรียนรู้ มีการฝึกเขียน Mind Mapping ทำให้เด็กคิดเป็นระบบ สามารถมองภาพแบบองค์รวมได้ จากการเรียนรู้ ทดลอง พัฒนาการเรียนผ่านโครงงานเรื่อยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันของโรงเรียน ทำให้ได้แนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เรียกว่า กระบวนการ 5 S ซึ่งได้แก่ 1.จุดประกายความคิด(Sparkling) 2.สะกิดให้ค้นคว้า (Searching) 3.นำพาสู่การปฏิบัติ (Studying) 4.จัดองค์ความรู้(Summarizing) 5.นำเสนอควบคู่การประเมิน (Show and Sharing)” ขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ในการเรียนแบบ Project Base Learning ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการทางการเรียนในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งด้านผลการเรียนและความประพฤติ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ไตร่ตรองและมีวิสัยทัศน์ มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น กล้าแสดงออก และสามารถนำเสนอผลงาน ทำให้โรงเรียนสามารถผ่านการประเมินผลคุณภาพ 3 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านผู้บริหาร มาตรฐานด้านผู้สอน และมาตรฐานด้านผู้เรียน จากการประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ. หรือแม้กระทั่งผลสอบวัดและประเมินผลระดับชาติ (National Test) ของนักเรียนชั้น ป.3 และ ป.6 ในทุกๆปี ก็ได้ผลที่น่าพอใจ โดยได้คะแนนเป็นอันดับต้นๆของเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งจากผลประเมินผลของ สมศ. และรางวัลในการประกวดระดับชาติทั้ง 3 รายการ เป็นการสะท้อนให้เห็นได้เป็นอย่างดีว่า เป็นความสำเร็จอันเกิดจากการจัดการเรียนการสอนแบบ Project Base Learning

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ