“Difference” is not “Conflict” หรือ “ความแตกต่าง” ย่อมต้องไม่สร้าง “ความขัดแย้ง”

ข่าวทั่วไป Wednesday March 6, 2013 13:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--เอ๊ซ ร.ศ. สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและอดีตกรรมการ กทช. ได้ให้สัมภาษณ์ทางรายการวิทยุแห่งประเทศไทยสถานี 92.5 เมื่อเช้าวันที่ 5 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมาว่า “ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมทีสื่อสารมวลชนเป็นเจ้าของโดยรัฐบาล ทุกประเทศเหมือนกันหมด เพราะมีบทบาทหน้าที่ คือเพื่อสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปและรัฐบาลเกิดความเข้าใจที่ตรงกันพร้อมๆ กับการที่ได้รับข้อมูลทั่วถึงและต่อเนื่องอีกด้วย สื่อสารมวลชนแบบนี้มีข้อเสียเหมือนกันเฉกเช่นในประเทศเยอรมันหรือแอฟริกาที่เจ้าของสื่อใช้การสื่อสารทั้งโทรทัศน์และวิทยุชุมชนโน้มน้าวโดยใส่ความคิดเห็นของสื่อลงไปในสื่อด้วยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้เป็นต้นเหตุของการเกิดสงครามในเยอรมันสมัยฮิตเลอร์ และสงครามระหว่างเผ่าที่เกลียดชังกันอย่างรุนแรงและยาวนานในทวีปแอฟริกา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่เห็นต้องเป็นแบบนั้นเลยเพราะคนเรา จริงๆ แล้ว ธรรมดามาก ที่ความคิดเห็นแตกต่างกันได้แต่ต้องไม่ใช่ขัดแย้งกันหรือสู้รบกัน ผมขอยืมภาษาอังกฤษมาใช้.... “Difference” จะต้องไม่มีความหมายเทียบเท่ากับ “Conflict” ในประเทศที่ผู้บริโภคสื่อมีดุลพินิจย์ในการวิเคราะห์สื่อเป็นอย่างเรา มาในสมัยปัจจุบัน ก็มีสื่อสารมวลชนอีกประเภทหนึ่งเกิดขึ้น คือสื่อที่เป็นเจ้าของโดยภาคเอกชน ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความเป็น Journalism สูงมาก และมุ่งมั่นที่จะใช้วิชาชีพที่ตนเองร่ำเรียนมาประกอบใช้ในการปฏิบัติทำงานจริงให้และถูกหลักการณ์ของวิชาชีพสื่อ สื่อประเภทนี้จะเสนอเพียงข้อ “ข้อเท็จจริง” หรือ “Fact” เท่านั้น โดยไม่ใส่ความคิดเห็นร่วมไปกับการเสนอข่าวด้วยแต่อย่างใดเลย การนำเสนอสารจึงไม่หวือหวา แต่จะมีความเป็น Journalism หรือความเป็นมืออาชีพสูงมาก ผมคิดว่าในประเทศไทยของเราอย่าได้ดูถูกผู้บริโภคข่าวเลยเชียวว่า เค้าไม่มีความรู้ ผมไม่เห็นด้วย ผมว่าผู้บริโภคข่าวไทยมีความรู้หรือที่เรียกว่า “วิญญูชน” และมี “ความรู้เท่าทันสื่อ” หรือ “Media Literacy” สูงมาก ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่สื่อสารมวลชนประเภทแรกจะใส่ความคิดเห็นส่วนตัวหรือประโยคที่โน้มน้าวลงไปในการนำเสนอข่าวด้วย ประชาชนไทยคิดเองเป็นแล้ว น่าแปลกที่สื่อภาคเอกชนนั้นมีความแข็งแรง มี Self Regulation มี Journalism และมีความเป็นมืออาชีพ สูงกว่าสื่อสารมวลชนของภาครัฐมากๆ และถึงแม้ต่อไปผู้บริโภคสื่อจะมีความเห็นต่อสารหรือข่าวที่ต่างกัน แต่ก็ไม่จำเป็นเลยที่ต้องแบ่งพักแบ่งพวกทะเลาะกัน เพราะเราคือวิญญูชน ที่แยกแยกเป็น..... ผมคิดว่าในเมื่อเราเองกำลังจะเปิดเสรีทางการค้าและเศรษฐกิจหรือ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ในปี 2558 ที่จะถึงนี้ การสื่อสารทั้งในประหว่างประเทศ เรายิ่งต้องมีมาตราฐานและหลักการณ์ที่แข็งแรงมากๆ โดยเฉพาะเมื่อหลายหน่วยงานปักธงว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของหลายสิ่งหลายอย่าง ดังนั้นการสื่อสารมวลชนเรายิ่งจะต้องมีความเป็น Journalism สูง และมีความเป็นมืออาชีพจริงๆ จึงจะปักธงให้ชาติเราแบบนั้นได้... ทางหอการค้าฯ เล็งเห็นความสำคัญว่าประเด็นนี้ควรมีการหยิบยกหรือนำมาพูดถึงในวงการสื่อสารของไทยได้แล้ว และในอนาคตจะต้องบริหารจัดการเรื่องนี้กันอย่างจริงจังต่อเนื่องยาวนานจนกว่าจะสัมฤทธิ์ผล แต่ไม่ริเริ่มพูดถึงไม่ได้ จึงร่วมมือกับสถาบัน IIC ซึ่งเป็นหน่วยงานจากมหาวิทยาลัย Oxford จากลอนดอน ที่เป็นผู้กำหนดกฏเกณฑ์ด้านการบริหารจัดการเรื่องสื่อและประกอบไปด้วยผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ด้านการกำกับดูแลสื่อจากทั่วโลก และกลุ่ม Digital Agenda Thailand ซึ่งประกอบไปด้วย สถาบัน APaR ม. หอการค้าไทย สถาบัน ISEP และเอ๊ซ จัดงานสัมมนา Digital Agenda Thailand หรือ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย” ครั้งที่ 7 ว่าด้วยเรื่อง “จุดสมดุลย์ของสิทธิเสรีภาพ และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสื่อในยุคดิจิทัล” หรือ “Freedom, Conflict and Roles of Media in the Digital Age.” ในวันพฤหัสที่ 7 มีนาคมนี้ ณ โรงแรมอโมนา เป็นลักษณะของ High Tea & Talk ซึ่งจะมี พณ ท่าน วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายก ให้เกียรติมาเปิดงานและกล่าวปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง “Roles of Media in Thailand” ด้วย” สนใจสำรองที่นั่งได้ที่เอ๊ซ โทร 02 254 8282 — 3 หรืออีเมล์ info.acethailand@gmail.com ติดต่อ: บริษัท เอ๊ซ จำักัดโทร 02 254 8282 — 3 หรืออีเมล์ info.acethailand@gmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ