ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ เกาะกระแสทิศทางเศรษฐกิจโลก จัดประชุมนานาชาติ “การศึกษาและตลาดแรงงาน นโยบายและความท้าทาย”

ข่าวทั่วไป Tuesday March 19, 2013 08:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย สมาคมเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ในหัวข้อ ทิศทางเศรษฐกิจโลก ได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับโลก Professor Joseph E. Stiglitz นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิกฤติเศรษฐกิจโลก มาอธิบายให้เห็นถึงปัญหาวิกฤติของเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจโลก พร้อมชี้แนวทางการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า การจัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติในครั้งนี้ถือเป็นปีที่ 3 ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและทิศทางของเศรษฐกิจโลกได้มีโอกาสรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิชาการชั้นนำของโลก อีกทั้งยังระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทิศทางการปรับตัวของตลาดแรงงานไทย พร้อมแนวทางการพัฒนาในการยกระดับคุณภาพของแรงไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของระบบอุดมศึกษาไทย เพื่อให้สอดคล้องกับโอกาสและความท้าทายในการเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน “เป็นโอกาสดีที่ผู้เข้าร่วมการประชุมจะได้ทราบถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก และแนวทางการปรับตัวที่เหมาะสม โดยนำเอาแนวคิดที่ได้ไปปรับใช้ในเหมาะสมกับสังคม ชุมชน และขนาดของธุรกิจ และนโยบายที่เหมาะสมในระดับประเทศต่อไป” ดร.เกียรติอนันต์ กล่าว โดยในการสัมมนาครั้งนี้ยังมีหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ “การสัมมนาบริหารจัดการความเสี่ยงของภาครัฐ” โดยมีนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของโลกมาร่วมระดมความคิดเห็น เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมกับภาครัฐ โดย Professor Nicholas Barr จาก London School of Economics (LSE), Professor Bruce Chapman จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย, Dr.Jamil Salmi ผู้เชี่ยวชาญนโยบายการศึกษาของธนาคารโลก และ การประชุมวิชาการนานาชาติ เรื่อง “การศึกษาและตลาดแรงงาน” โดย Professor David E. Card จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Professor Christoph M. Schmidt ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย ESSEN ซึ่งจะแนะแนวทางในการปรับตัวของตลาดแรงงานในประเทศกำลังพัฒนา พร้อมการเตรียมตัวด้านตลาดแรงงานของประเทศในประชาคมอาเซียน และยังมีนักวิชาการ 6 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดแรงงานจากประเทศไทย ออสเตรเลีย มาเลเซีย อินโดนิเซีย มาร่วมเสนอผลงานวิจัยด้านตลาดแรงงานในประเทศ รวมไปถึงการประชุมวิชาการเรื่อง “ก้าวต่อไปของอุดมศึกษาในอาเซียน” โดย Professor Glenn Withers ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งจะมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการปรับตัวของอุดมศึกษาในอาเซียน และบทเรียนจากออสเตรเลีย นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการด้านการศึกษาจากประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของไทย ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ศาสตราจารย์ ดร.เมธี ครองแก้ว, ศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ เป็นต้น ฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โทร.0-2954-7300 ต่อ 722 โทรสาร.0-2580-0050 E-mail: pr_dpu@dpu.ac.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ