มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประกาศความสำเร็จในการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย ครบ 2 ล้านคัน เตรียมเสริมความแข็งแกร่งด้าน R&D เพื่อก้าวสู่ตลาดเออีซี

ข่าวยานยนต์ Thursday March 21, 2013 11:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มร. โอซามุ มาสุโกะ ประธานบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางมาร่วมแสดงความยินดีในโอกาสฉลองการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตโดยมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ทุกรุ่นครบ 2 ล้านคัน ได้กล่าวแสดงความชื่นชมว่า “นับตั้งแต่ปี 2531 ที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้ตัดสินใจลงทุนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย และเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรก ที่มุ่งมั่นพัฒนาการผลิต ไปถึงขั้นการส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้ด้วยการผลิตฝีมือของคนไทย เราได้เปิดหน้าแรกของประวัติศาสตร์การส่งออกรถยนต์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2531 โดยการส่งรถยนต์มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แชมป์ จำนวน 420 คัน ไปจำหน่ายยังประเทศแคนาดา นับเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกของไทยที่ส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศ และล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ได้บันทึกความสำเร็จอีกครั้ง ด้วยการส่งออกรถยนต์มิตซูบิชิทุกรุ่นที่ผลิตโดยฝีมือคนไทย ครบจำนวน 2 ล้านคัน สะท้อนการเป็นฐานการผลิตที่มีคุณภาพสูงและได้มาตรฐานของโลก ซึ่งทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ตัดสินใจที่จะเสริมความแข็งแกร่งของหน่วยงานวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย ภายใต้ภารกิจหลัก 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก มุ่งพัฒนาคุณภาพของรถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย ให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยได้อย่างรวดเร็ว ประการที่สอง เพิ่มบทบาทในการพัฒนารุ่นไมเนอร์ เชนจ์ สำหรับตลาดเมืองไทย ด้วยการยกระดับการสรรหาชิ้นส่วน ประการที่สาม เพื่อค้นคว้าข้อมูลแนวโน้มการตลาดและเทคโนโลยี ในตลาดกลุ่มอาเซียน ซึ่งแนวทางในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งครั้งนี้ จะนำมาซึ่งการถ่ายโอนงานด้านวิจัยและพัฒนาบางส่วน จากบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น มายังมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย โดยมีแผนงานจะเพิ่มจำนวนวิศวกรทั้งไทยและญี่ปุ่นในสังกัดฝ่าย R&D จากปัจจุบัน 40 คนให้เป็น 120 คนในอนาคต และรวมถึงการเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ และสนามทดสอบรถยนต์ด้วย” มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทยได้บรรลุยอดการส่งออกรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศไทยไปยังตลาดทั่วโลก ครบ 2 ล้านคัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ โดยในจำนวนนี้ มีทั้งรถยนต์ประกอบสำเร็จรูป (CBU) แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง (แลนเซอร์ และ มิราจ) 95,726 คัน รถกระบะ (สตราดา แอล 200 และไทรทัน) 1,436,146 คัน และรถพีพีวี (ปาเจโร สปอร์ต) 181,464 คัน และชิ้นส่วนสำเร็จรูป (CKD) ประมาณ 300,000 คัน ปัจจุบันตลาดส่งออกหลักของรถยนต์สำเร็จรูป ได้แก่ กลุ่มประเทศอาเซียน ตะวันออกกลาง ยุโรป แอฟริกา ออสเตรเลีย ขณะที่ตลาดส่งออกชิ้นส่วนสำเร็จรูป ได้แก่ แถบอเมริกาใต้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นรถกระบะ “ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ส่งออกรถยนต์มิตซูบิชิ ไปยังประเทศต่างๆ กว่า 140 ประเทศทั่วโลกนั้น มาตรฐานการผลิต และฝีมือแรงงานของคนไทย ได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจเสมอมา แม้กระทั่งที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทแม่ ก็ยังได้นำรถมิตซูบิชิมิราจ ที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยไปจำหน่าย และได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ส่วนหนึ่งของความสำเร็จนี้ เกิดขึ้นจากการวางแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมีวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทย ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอ โครงการสร้างรถกระบะให้เป็นโปรดักแชมเปี้ยนรุ่นที่หนึ่ง และโครงการสร้างรถยนต์อีโค คาร์ ให้เป็นโปรดักแชมเปี้ยนรุ่นที่สอง ความสนับสนุนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญยิ่งที่ทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประสบความสำเร็จในการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศไทยครบ 1 ล้านคัน และการผลิตเพื่อส่งออกครบ 2 ล้านคัน ซึ่งผมขอขอบคุณในการสนับสนุนของทุกหน่วยงานไว้ ณ ที่นี้ และเราเชื่อมั่นว่าจะก้าวไปสู่หลักล้านต่อๆ ไป ได้ในเวลาอันใกล้ ปัจจุบันโรงงานผลิตรถยนต์ทั้ง 3 แห่ง และโรงงานผลิตเครื่องยนต์อีกหนึ่งแห่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ประเทศไทย ได้เป็นฐานการผลิตที่สำคัญที่สุดของกลุ่มมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ด้วยกำลังการผลิต (Capacity) ปีละ 460,000 คัน ซึ่งมากเป็นอันดับสองรองจากโรงงานที่มิซูชิมา ประเทศญี่ปุ่น และมีจำนวนการผลิตจริง (Utilization) สูงที่สุดในบรรดาโรงงานมิตซูบิชิทั่วโลก ผมรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมแสดงความยินดี และขอบคุณในความทุ่มเททำงานของพนักงานชาวไทย ตลอดเวลาที่ผ่านมาและต่อไปในอนาคต” มร. มาสุโกะ กล่าวเพิ่มเติม ก่อนหน้านี้ ในปี 2555 มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ได้ลงทุน 16,000 ล้านบาท เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่ 3 ในประเทศไทย เพื่อผลิตรถยนต์ขนาดเล็กตามโครงการโกลบอล สมอล์ ซึ่งตรงกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานขนาดเล็กของรัฐบาลไทย โดยเริ่มต้นที่การผลิตรถมิตซูบิชิ มิราจ ด้วยกำลังการผลิตเบื้องต้น 150,000 คันต่อปี และเตรียมจะขยายการผลิตเพิ่มเป็น 200,000 คัน ภายในปีงบประมาณ 2556 นี้ โดยมีแผนงานจะใช้ประเทศไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์ขนาดเล็กส่งไปจำหน่ายทั่วโลก สำหรับนโยบายการสร้างความแข็งแกร่งให้หน่วยวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย สะท้อนถึงความเชื่อมั่นระดับสูง ที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มีต่อมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย และทีมงานวิศวกรชาวไทย นับเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาแห่งแรกของมิตซูบิชิ ในทวีปเอเชีย รายละเอียดธุรกิจของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ข้อมูล โรงงาน #1 โรงงาน #2 โรงงาน #3 โรงงาน MEC ก่อตั้ง 1992 1996 2012 2008 การลงทุน ไม่ระบุ ไม่ระบุ 1.6 billion Bt* ไม่ระบุ พื้นที่(m2) 242,000 244,000 65,000 กำลังการผลิต 90 K 220 K 150 K 362 K การจ้างงาน** 1,607 3,511 1,974 897 ผลิตภัณฑ์ Lancer EX, Triton Mirage Engine (Diesel and Benzyl) Pajero Sport Pajero Sport * เงินลงทุนโรงงานที่ 3 : (1) การก่อสร้างโรงงาน 10,000 ล้านบาท (27 พันล้านเยน) (2) กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (เช่น R&D หรืออื่นๆ) 6,000 ล้านบาท (18 พันล้านเยน) ** การจ้างงาน: จำนวนรวม ทั้งพนักงานประจำ และสัญญาจ้าง, รวมสำนักงานใหญ่จะมีจำนวน 8,377 คน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ประวัติการดำเนินธุรกิจของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย 2504 ก่อตั้ง บริษัท สิทธิผล มอเตอร์ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายรถยนต์มิตซูบิชิในประเทศไทย 2507 ก่อตั้ง บริษัท สหพัฒนายานยนต์ จำกัด (UDMI) เพื่อบุกเบิกอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ 2530 เริ่มกิจการของบริษัท เอ็ม เอ็ม ซี สิทธิผล จำกัด โดยการควบรวมระหว่าง บริษัท สิทธิผล มอเตอร์ จำกัด และ บริษัท สหพัฒนายานยนต์ จำกัด 2531 เริ่มการส่งออกรถยนต์นั่ง มิตซูบิชิ แลนเซอร์ แชมป์ ไปยังประเทศแคนาดา นับเป็นการส่งออกรถยนต์ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ยานยนต์จากประเทศไทย 2539 เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่สอง ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มุ่งเน้นการผลิตรถกระบะขนาด 1 ตัน 2546 เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (เอ็ม เอ็ม ที เอช) 2550 ฉลองการส่งออกรถกระบะครบ 1 ล้านคัน 2551 เปิดโรงงาน MEC เพื่อผลิตเครื่องยนต์ ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี 2553 ฉลองการผลิตรถยนต์ทุกรุ่น ครบ 2 ล้านคัน 2555 เปิดโรงงานผลิตรถยนต์แห่งที่สาม เพื่อผลิตรถยนต์ขนาดเล็ก รุ่นมิตซูบิชิ มิราจ 2556 ฉลองการส่งออกรถยนต์ทุกรุ่น ครบ 2 ล้านคัน รายละเอียดเพิ่มเติม ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 02-529-9000

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ