ฮอร์ติ เอเชีย ชี้อนาคตพื้นที่เพาะปลูกลดลง 'ผลไม้จะกลายเป็นทอง'

ข่าวทั่วไป Monday March 25, 2013 17:15 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 มี.ค.--มีเดีย พลัส คอนเนคชั่น ฮอร์ติเอเชีย ชี้อนาคตพื้นที่เพาะปลูกลดลง ‘ผลไม้จะกลายเป็นทอง’แนะเกษตรกรภาคใต้ยกระดับการผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ฮอร์ติเอเชีย (Horti ASIA) ร่วมเสริมความรู้ พัฒนาศักยภาพเกษตรกรไทย พร้อมรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้า และการผลักดันไทยให้เป็นหนึ่งในผู้นำด้านการเกษตรโลก ชี้พื้นที่คุณภาพสำหรับการเพาะปลูกลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้ผลไม้กลายเป็นสิ่งที่หายาก และมีค่ามาก พร้อมแนะเกษตรกรภาคใต้ ต้องปรับตัว ยกระดับการผลิตสินค้าผลไม้ไทย ด้วยการ ใช้เทคโนโลยี-นวัตกรรมสมัยใหม่ และผลิตตามแนวทางมาตรฐานการเกษตรที่เหมาะสม (GAP) ช่วยลดต้นทุนระยะยาว เพิ่มคุณภาพผลผลิต สร้างศักยภาพในการส่งออกผลไม้ไทยในตลาดอาเซียน และตลาดโลก จากการสัมมนาเกษตรกรก้าวหน้า ในหัวข้อ “ก้าวหน้า ก้าวไกล ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปศุสัตว์ และพืชผล” ครั้งที่ 4 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจัดโดย บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ผู้จัดงาน Horti ASIA 2013 งานแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้แห่ง ภูมิภาคเอเชีย ระบุว่าสถานการณ์พืชอาหารของโลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่ประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานในภาคอุตสาหกรรม และบริการก็เพิ่มขึ้น แต่เนื่องด้วยวิกฤตน้ำมันที่มีราคาสูงขึ้น จึงเกิดแรงผลักดันในการแสวงหาพลังงานทางเลือก ความต้องการพืชพลังงานในโลกจึงมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตพืชอาหารลดลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่เพาะปลูก และเทคโนโลยีการผลิตที่มีอยู่ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงกว่าปัจจุบันมากนัก ประกอบกับปัญหาผลกระทบจากสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดภัยธรรมชาติทั้งภัยแล้งและอุทกภัย ส่งผลต่อความเสียหาย ของผลผลิตทางการเกษตรของหลายประเทศ ดังนั้นจึงเกิดวิกฤตความสมดุลของพลังงานและอาหารขึ้น ซึ่งวิกฤตนี้จะทำให้ผลผลิตอาหารสู่ตลาดลดลง และพืชอาหารจะมีราคาสูงขึ้น ดังนั้นอนาคตของพืชและผลไม้ไทยยังสามารถเติบโตไปได้อีกไกล หากเกษตรกร ชาวสวน และผู้ประกอบการในห่วงโซ่ การเกษตร มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรแบบดั้งเดิมที่พึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ และเคมี สู่การนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม ทางการเกษตร เข้ามาร่วมพัฒนาระบบการเพาะปลูก ใช้นวัตกรรมการจัดการที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ลดการใช้สาร เคมีตามแนวทาง มาตรฐาน GAP ช่วยสร้างความปลอดภัยต่อทั้ง 3 สิ่ง อันได้แก่ ผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะกลายมาเป็นด่านหน้าในการพิจารณาสินค้าสำหรับการส่งออก ขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาทักษะด้านการตลาด ใช้ความรู้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ทั้งการสร้างแบรนด์หรือภาพลักษณ์สินค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย น่าสนใจ รวมถึงลดค่าใช้จ่าย สิ้นเปลืองต่างๆ อันเป็นสาเหตุ ของต้นทุนที่สูงขึ้น เพื่อให้ผลไม้ไทยมีคุณภาพที่ดีตามมาตรฐานส่งออก ภายในต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นได้ อาจาร์ยเปรม ณ สงขลา ผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเคหการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันเกษตรกร และชาวสวนผลไม้ส่วนใหญ่ มักจะล้มเลิกการทำสวนผลไม้ หันไปปลูกพืชพลังงาน หรือพืชเศรษฐกิจกันมากขึ้น อาทิเช่น ยางพารา หรือ ปาล์มน้ำมันแทน เพราะเห็นว่าได้ผลตอบแทนที่เร็ว และสูงกว่า หรือไม่ก็ขายที่ดินให้กับธุรกิจอุตสาหกรรม เนื่องจากสู้ต้นทุนการผลิตไม่ไหว และไม่มีความสามารถในการจัดการที่เหมาะสม ดังนั้นในอนาคตอาจเกิดภาวะขาดแคลนที่ดินในการเพาะปลูก ผลไม้ที่เข้าสู่ตลาดจะมีปริมาณลดลง ในขณะที่ความต้องการบริโภคยังคงมีอยู่ และเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอนาคตของผลไม้ไทยเป็นทองแน่นอน สิ่งที่เกษตรกร และชาวสวนต้องปรับนั่นคือ จะทำอย่างไรที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้ และจะต้องมีวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต และหาช่องทางการตลาดที่รับซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรม “ขณะเดียวกันเทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่เอง ก็สามารถช่วยผ่อนแรงทั้งแรงกายและแรงเงิน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการเพาะปลูกได้เป็นอย่างดี หากเกษตรกรรู้จักศึกษา และนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม อาทิเช่น เทคโนโลยีด้านระบบการชลประทาน ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการนำน้ำมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองโดยใช้เหตุ เป็นต้น ซึ่งหากระบบการจัดการเพาะปลูกมีมาตรฐาน ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพจริง ต้นทุนในการเพาะปลูกต่ำลง เกษตรกรก็มั่นใจได้ว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายทั้งในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศ ได้มากขึ้นกว่าเดิมอย่างแน่นอน” อาจารย์เปรม กล่าวเสริม สำหรับท่านใดที่มีความสนใจในการเสริมสร้างองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการเกษตร สามารถเข้าชมงานแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพืชพรรณ ผัก ผลไม้ ดอกไม้ และกล้วยไม้แห่งภูมิภาคเอเชีย หรือ Horti ASIA ได้ ในระหว่างวันที่ วันที่ 9 - 11 พฤษภาคม 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.hortiasia.net

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ