นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คว้ารางวัลสุดยอดสิ่งประดิษฐ์ปฏิวัติการจัดการน้ำในประเทศไทย บนเวทีประกวดนวัตกรรมการจัดการน้ำด้วย 3R ปี 3

ข่าวทั่วไป Thursday April 4, 2013 08:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับบลิครีเลชั่นส์ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ โชว์ 10 ผลงานสิ่งประดิษฐ์ในงานประกาศผลผู้ชนะ “โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการนำด้วย 3R ปี 3” การประกวดสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยใช้แนวคิดในการนำนวัตกรรมการใช้ให้น้อยลงและลดความฟุ่มเฟือยทรัพยากรน้ำ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ หรือนวัตกรรม 3R (Reduce Reuse และ Recycle) เพื่อพัฒนาประเทศไทยด้วยพลังทางความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชนไทย ระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษา ซึ่งจะมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต ได้แก่ ผลงาน Household Gray water manage system ผลงาน Urinal 3Rs ผลงานระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องจักรชีวภาพในบึงประดิษฐ์ผลงานประโยชน์สามต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียการผลิตยางแผ่น ผลงานนวัตกรรมเครื่องซักผ้าและชักโครกประหยัดน้ำผลงาน 3R Electro Sorption ผลงานกตัญญู (รักษ์โลก) ผลงานระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดย่อม ผลงานระบบซักผ้า 3R เพื่อโรงแรมสีเขียว และผลงาน 3R New Generation Filter โดยภายนอกจากมีการจัดแสดงผลงาน จำนวน 10 ผลงานยังมีกิจกรรมการประกาศผลผู้ชนะเลิศรับเกียรติบัตรและถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมทุนการศึกษา 150,000 บาท และการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน 2556 ณ จามจุรีสแควร์ กรุงเทพฯ นาย เจริญสุข วรพรรณโสภาค รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก(จำกัด) มหาชน ประธานการจัดโครงการฯ เปิดเผยว่าว่า โครงการ “ประกวดนวัตกรรมการจัดการน้ำด้วย 3R ปี 3” เป็นโครงการที่บริษัทได้จัดขึ้น เพื่อตระหนักถึงปัญหาการจัดการด้านน้ำ บริษัทจึงมีแนวคิดในการนำนวัตกรรมการใช้ให้น้อยลงและลดความฟุ่มเฟือยทรัพยากรน้ำ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ หรือนวัตกรรม 3R Reduce Reuse และ Recycle มาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จึงนำไปสู่การจัดโครงการประกวดนวัตกรรม 3R ขึ้น ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดขึ้นปีแรกเมื่อปี 2553 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดี และในปีนี้มีนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษา และอาชีวศึกษาทั่วประเทศให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก และส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกว่า 50 ทีมโดยบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะจัดกิจกรรมเช่นนี้เป็นประจำทุกปี และหวังว่าโครงการนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยได้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ มีทักษะใหม่ที่สร้างสรรค์ด้านการจัดการน้ำระดับประเทศ และสามารถนำไปพัฒนาการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศได้ต่อไป นายเจริญสุข กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาของ “โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการนำด้วย 3R ปี 3” แต่ละทีมนั้นได้แสดงความสามารถและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์กันอย่างเต็มที่ เพื่อให้สามารถนำมาใช้บริหารจัดการน้ำได้จริงและมีประสิทธิภาพ โดยมี 10 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรอบสุดท้าย จากการตัดสินโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ 1. ทีม BRAVO มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงานHousehold Gray water manage systemเป็นผลงานที่สามารถลดปริมาณการใช้น้ำในครัวเรือนได้สูงสุดกว่าร้อยละ 30 และสามารถรีไซเคิลน้ำที่ใช้แล้ว เพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. ทีม KMUTT GreenTechมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงานUrinal 3Rs (โถปัสสาวะประหยัดน้ำพร้อมระบบผลิตปุ๋ย)ที่รีไซเคิลน้ำปัสสาวะ เพื่อแยกยูเรียมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และน้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้วยหลักการ 3Rโดยที่น้ำที่ผ่านการบำบัดสามารถนำกลับมาใช้.oกิจกรรมอื่นๆได้ เนื่องจากไม่มีเชื้อโรค 3. ทีม KMUTT Hydroมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงาน 3R ElectroSorption (กระบวนการอิเลคโทรซอร์บชันเพื่อแยกเกลือออกจากน้ำ)ซึ่งมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดสภาพการนำไฟฟ้าจำเพาะ และความเค็มของน้ำที่ผ่านการบำบัด หากน้ำที่ผ่านการบำบัดมีสภาพการนำไฟฟ้าจำเพาะ และความเค็มในเกณฑ์ที่กำหนดน้ำจะถูกนำไปเก็บไว้ในถังพัก เพื่อใช้ในการเกษตร หากน้ำที่ผ่านการบำบัดมีสภาพการนำไฟฟ้าจำเพาะ และความเค็มสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สัณญาณเตือนจะแสดงขึ้นมาที่บริเวณเครื่อง 3R ElectroSorption 4. ทีม Marmoset สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังกับผลงานกตัญญู (รักษ์โลก)ที่สามารถบำบัดน้ำยากัดแผ่น PCB ให้มีค่า pH เป็นกลาง ด้วยการเติม NaOH 5. ทีม UTC-BIOMACHINE วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี กับผลงานระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเครื่องจักรชีวภาพในบึงประดิษฐ์ด้วยกลไกการทำงานของเครื่องจักรชีวภาพในการบำบัดน้ำเสีย น้ำเสียจากการอุปโภคบริโภคจะไหลลงสู่ตะแกรงกรอง เพื่อดักจับของแข็งแขวนลอย จากนั้นไหลตกลงสู่ถังดักไขมัน เพื่อแยกไขมันออกจากน้ำและย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำได้ด้วย 6. ทีม สร้างต้นทุนพลังงานชุมชนจากน้ำเสีย มหาวิทยาลัยทักษิณ กับผลงานประโยชน์สามต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียการผลิตยางแผ่นที่สามารถบำบัดน้ำเสียในกระบวนการรีดแผ่นยางจากผลิตแผ่นยางแบบครัวเรือน และได้ก๊าซชีวภาพเป็นผลพลอยได้ 7. ทีม 3R ซักหน้อยบ๋อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ประดิษฐ์ระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดย่อม หลังจากบำบัดแล้วสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เมื่อนำถ่านแกลบออกมาตากแดดให้แห้งและนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ต่อไป 8. ทีมส้มซ่าส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับระบบซักผ้า 3R เพื่อโรงแรมสีเขียว ที่ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ ในการคัดแยกประเภทน้ำที่ผ่านการซักล้างในแต่ละขั้นตอนเพื่อนำมาใช้ซ้ำ หรือนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น 9. ทีม วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับผลงานซักโครก: นวัตกรรมเครื่องซักผ้าและชักโครกประหยัดน้ำ ที่นำน้ำจากเครื่องซักผ้ามาใช้กดชักโครกได้ แบบประหยัดน้ำขนาด 6 ลิตร มีตัวฆ่าเชื้อและดับกลิ่น สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย 10. ทีม Envi-Grad PSUมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับผลงาน 3R New Generation Filter ที่มีกรวดหยาบ ผงถ่าน และทรายละเอียดเป็นตัวกรองน้ำเสีย เพื่อหมุนเวียนใช้ในตู้ปลา และนำน้ำจากตู้ปลามาใช้ในระบบการรดน้ำแบบหยด ด้านนายนิติพัฒน์ ณัฐไทธนกุล ตัวแทนนักศึกษาผู้เข้าประกวดในโครงการฯ ทีม Marmoset สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กับผลงานกตัญญู เปิดเผยว่า ตนเองได้รับข่าวการประกวดโครงการนี้จากทางมหาวิทยาลัยและเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นโครงการที่สามารถช่วยเหลือสังคมและประเทศได้ ซึ่งในปัจจุบัน การอนุรักษ์น้ำและทรัพยากรธรรมชาติเป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรตระหนักถึง และควรใช้อย่างรู้คุณค่า โดยตนเองมองว่า ตนและเพื่อนจะสามารถคิดสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้บริหารจัดการน้ำได้ และคาดหวังให้สิ่งประดิษฐ์ที่ตนเองและเพื่อนทำนั้นจะนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ช่วยเหลือสังคมได้ จึงมีการรวมกลุ่มกับเพื่อนและช่วยกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา และตอนนี้อยู่ในช่วงการปรับปรุง พัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม หลังจากที่ได้ผ่านเข้ารอบมาเป็น 1 ใน 10 ทีมแล้ว โดยใช้เวลากว่า 3 เดือน ในการพัฒนาผลงาน ซึ่งหากไม่ได้รับรางวัลใด ก็ไม่เสียใจ เพราะถือว่าทำเต็มที่แล้วและได้มีโอกาสเข้าแข่งขันในโครงการฯนี้ รางวัลในการประกวดครั้งนี้แบ่งออกเป็น 6 รางวัล ได้แก่รางวัลที่ 1 รางวัลชนะเลิศ เพื่อชิงเงินสด 150,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการศึกษาดูงาน ณ ต่างประเทศ รางวัลที่ 2 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เพื่อชิงรางวัลเงินสด 120,000 บาทพร้อมเกียรติบัตรและถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รางวัลที่ 3 รางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เพื่อชิงรางวัลเงินสด 80,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รางวัลที่ 4 รางวัลรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 เพื่อชิงรางวัลเงินสด 40,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรและถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรางวัลพิเศษอีก 2 รางวัล คือรางวัลชมเชย 6 รางวัลรางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรางวัลความคิดสร้างสรรค์ 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับ ทีมผู้ที่ชนะเลิศ “โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการน้ำด้วย 3R ปี 3” ได้แก่ 1. รางวัลชนะเลิศ ทีม 3R ซักหน้อยบ๋อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ประดิษฐ์ระบบ Zero Discharge สำหรับอุตสาหกรรมย้อมผ้าขนาดย่อม 2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีม วิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กับผลงาน ซักโครก: นวัตกรรมเครื่องซักผ้าและชักโครกประหยัดน้ำ 3. รองชนะเลิศลำดับที่ 2 ทีม สร้างต้นทุนพลังงานชุมชนจากน้ำเสีย มหามหาวิทยาลัยทักษิณ กับผลงานประโยชน์สามต่อจากระบบบำบัดน้ำเสียการผลิตยางแผ่น 4. รางวัลความคิดสร้างสรรค์ ทีม KMUTT GreenTech มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงานUrinal 3Rs ทั้งนี้ กิจกรรมการประกาศผลผู้ชนะเลิศใน “โครงการประกวดนวัตกรรมการจัดการน้ำด้วย 3R ปี 3” ได้จัดขึ้นวันที่ 2 เมษายน 2556 ณ จามจุรีสแควร์ กรุงเทพฯ โดยมีประชาชน นักเรียน นิสิตนักศึกษาเข้ารวมงานเป็นจำนวนมาก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับโครงการฯ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ แผนกกิจการสัมพันธ์และ CSR ฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ. จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออกเบอร์ โทรศัพท์ 02-272-1600 ต่อ 2412 หรือเข้าไปที่ www.eastwater.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ