แนวโน้มความสามารถในการทำกำไร การบริหารต้นทุน และการปรับใช้ขั้นตอนการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของธุรกิจสื่อและความบันเทิงในเอเชีย

ข่าวเทคโนโลยี Friday April 5, 2013 14:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--คอร์แอนด์พีค บทความโดย มร.เจฟฟรีย์ กรีนวาลด์ ฝ่ายการตลาดโซลูชั่นสำหรับธุรกิจสื่อสาร มีเดียและบันเทิงทั่วโลก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ข้อมูลจาก KPMG ระบุว่าบอลลีวูด ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย เทียบเท่าได้กับอุตสาหกรรมฮอลลีวูดในประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถสร้างรายได้กว่า 2 พันล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2554 หรือประมาณ 20% ของรายได้ที่ฮอลลีวูดทำได้ในสหรัฐอเมริกา โดยรายได้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลลาร์สหรัฐฯ จาก 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ได้มาจากภาพยนตร์ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ภายในประเทศอินเดีย ในขณะที่ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากทั่วโลกหรือจากต่างประเทศ โฮมวิดีโอ และการให้ขายลิขสิทธิ์ให้กับธุรกิจเคเบิลและดาวเทียม จะเห็นได้ว่าบอลลีวูดสามารถผลิตภาพยนตร์ได้ประมาณ 175 เรื่อง และพากษ์เสียงในภาษาฮินดูอีก 100 เรื่อง แต่โชคไม่ดีนักที่ภาพยนตร์เกือบ 200 จาก 275 เรื่องไม่สามารถทำเงินให้กับผู้สร้างได้ ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดีนัก ขณะที่ตลาดด้านสื่อของประเทศจีนก็ได้มีการขยายตัวมากขึ้นในปี 2554 แต่ดูเหมือนว่าภาพยนตร์จะทำเงินได้ไม่ต่างจากที่อินเดียมากนัก (หรือขาดทุนนั่นเอง!) สาเหตุเป็นเพราะมีการนำเข้าวิดีโอเป็นจำนวนมากแทนที่จะทำการผลิตจริงๆ ในจีน (อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากรัฐบาลจีนได้เล็งเห็นแล้วว่า การผลิตวิดีโอดิจิทัลอย่างอิสระเป็นแนวทางการลงทุนระดับชาติที่จะนำไปสู่การจ้างงาน การสร้างทักษะ และการยกระดับด้านการศึกษา อีกทั้งยังเป็นการค่อยๆ พัฒนาตลาดบันเทิงในจีน และสิ่งนี้กำลังเริ่มจะเกิดขึ้นในอินเดียด้วยเช่นกัน) สำหรับต้นทุนโดยเฉลี่ยในการผลิตภาพยนตร์ของบอลลีวูดนั้น จะอยู่ระหว่าง 350,000 — 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ไม่รวมต้นทุนด้านการตลาด) เทียบกับต้นทุนการผลิตภาพยนตร์ต่อเรื่องของฮอลลีวูดจะอยู่ที่ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมีต้นทุนที่สูงกว่าอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การผลิตภาพยนตร์ของวูดดี อัลเลน ในทศวรรษล่าสุดมีต้นทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ภาพยนตร์ของบล็อกบัสเตอร์ เช่น John Carter (ผลิตโดย ดิสนีย์) และ Brave (ผลิตโดย พิกซาร์-ดิสนีย์) มีต้นทุนการผลิตต่อเรื่องมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาพยนตร์ของฮอลลีวูดจะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่ามาก แต่โดยปกติแล้วจะสามารถทำกำไรได้ ซึ่งต่างจากภาพยนตร์ของบอลลีวูดที่สามารถทำกำไรได้ประมาณ 20% เท่านั้น ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กำลังลงทุนในตลาดด้านสื่อและความบันเทิง จากความกังวลอย่างมากในด้านการทำกำไร ทำให้ผู้ผลิตในเอเชียให้ความสำคัญกับการผลิตภาพยนตร์ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และในขณะนี้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กำลังเดินหน้าลงทุนอย่างหนักในโซลูชั่นระบบจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย หรือ Network Attached Storage (ซึ่งรวมถึงการเข้าซื้อบริษัท บลูอาร์ก ( BlueArc?) ในปี 2554) เพื่อช่วยให้สตูดิโอผลิตภาพยนตร์และบริษัทโพสต์โปรดักชั่นสามารถแสดงผลภาพได้เร็วขึ้น ช่วยให้โยกย้ายและถ่ายโอนไฟล์ผ่าน WAN ได้ในเวลาที่สั้นลง รวมถึงร่นระยะเวลาในการแปลงไฟล์วิดีโอให้น้อยลงอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้สนับสนุนให้เกิดต้นทุนโดยรวมที่ต่ำลงและสามารถนำเสนอวิดีโอที่มีคุณภาพดีมากขึ้นออกสู่ตลาดได้ในระยะเวลาที่สั้นลง ปัจจัยทั้งหมดนี้เป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรมสื่อของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านงบประมาณเป็นหลัก วิธีหนึ่งในการเพิ่มผลกำไรคือการจำหน่ายภาพยนตร์ให้กับผู้เผยแพร่เนื้อหาผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือทีวีดาวเทียม ซึ่งจะนำวิดีโอไปเก็บไว้ในคลังจัดเก็บ (หรือไลบรารี) ที่จะสร้างรายได้จากการรับชมต่อครั้งหรือจากส่วนแบ่งของการสมัครสมาชิก โดยระบบจัดเก็บข้อมูลประสิทธิภาพสูงถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในการจัดการสินทรัพย์ประเภทสื่อสำหรับบริการเหล่านี้ และสิ่งนี้ถือเป็นส่วนที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน เมื่อการนำสินทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ซ้ำเริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น การใช้เมตาดาต้าอย่างมีประสิทธิภาพจึงช่วยร่นระยะเวลาในการนำวิดีโอออกสู่ตลาดได้ จะเห็นได้ว่าระบบจัดเก็บข้อมูลที่สามารถผสานรวมข้อมูลแบบบล็อก ไฟล์ และออบเจ็กต์ไว้ในแพลตฟอร์มเดียวได้นั้น สามารถสร้างข้อได้เปรียบในด้านการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นและสามารถใช้ความจุที่มีอยู่ของระบบจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเทคโนโลยี เช่น Hitachi NAS Platform หรือ HNAS (สนับสนุนโดยบลูอาร์ก) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ระบบไฟล์แบบ FPGA จะแยกเมตาดาต้าออกจากข้อมูล (หรือไฟล์) วิดีโอ ช่วยให้การค้นหามีประสิทธิภาพสูง การอ่านและการเขียนสำหรับแอพพลิเคชั่นที่จำเป็นต้องใช้การอ่านและเขียนแบบสุ่มเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ แพลตฟอร์มที่รวมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบ SAN และ NAS เป็นแพลตฟอร์มระบบจัดเก็บข้อมูลเดียว เช่น Hitachi Unifi?ed Storage (HUS) ยังจะช่วยให้การจัดการข้อมูลเป็นเรื่องง่ายขึ้นและมีต้นทุนรวมที่ต่ำลงด้วยการลดความจำเป็นที่ต้องจัดการคลังข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากสำหรับเวิร์กโฟลว์ของสื่อ (หรือที่เรียกว่า “การรวมเข้าเป็นระบบเดียว”) ต้นทุนการตลาดและปรากฏการณ์ของการระดมทุน จะเห็นได้ว่าต้นทุนด้านการตลาด โดยเฉพาะเมื่อมีการฉายภาพยนตร์ในต่างประเทศ ถือเป็นการลงทุนจำนวนมหาศาลสำหรับสตูดิโอผลิตภาพยนตร์ในเอเชีย แนวทางหลักที่สตูดิโอเหล่านี้ยึดมั่นคือการดำเนินงานอย่างระมัดระวัง ทำให้มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้ไม่สูงนัก ด้วยเหตุนี้ “การระดมทุน” (Crowd funding) จึงเป็นแนวทางสำหรับการผลิตภาพยนตร์ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ กล่าวคือสาธารณชนและกองทุนร่วมลงทุนจะประเมินวิดีโอหรือคลิปภาพยนตร์สั้นๆ ที่มักจะอยู่ในรูปของแอนิเมชั่น, VFX หรือภาพยนตร์สั้นซึ่งมีต้นทุนการผลิตไม่สูงนัก เพื่อตัดสินใจให้เงินลงทุนเพิ่มเติมสำหรับใช้ในการผลิตวิดีโอดังกล่าวให้เป็นภาพยนตร์เรื่องยาวต่อไป การทดสอบตลาดโดยใช้การระดมทุนผ่านอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์เกิดใหม่และผู้ผลิตระดับกลาง ซึ่งมีประสบการณ์ที่ยากลำบากในการระดมทุนเงินมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นทุนสำหรับการสร้างภาพยนตร์เต็มเรื่อง นั่นหมายความว่าโครงการที่ได้รับความสนใจอย่างมากอาจทำให้สตูดิโอน้องใหม่ที่มีขอบข่ายการดำเนินงานขนาดเล็กก้าวไปเป็นองค์กรขนาดใหญ่ได้ในชั่วข้ามคืน ด้วยเหตุนี้ ความสามารถในด้านการปรับขนาดและความมีสมรรถนะสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลแม้แต่ในสตูดิโอขนาดเล็ก (นี่ถือเป็นสิ่งใหม่ เนื่องจากแต่เดิมนั้น สตูดิโอขนาดเล็กมีแนวโน้มที่จะเน้นการผลิตขนาดเล็ก ขณะที่สตูดิโอขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะเน้นการผลิตขนาดใหญ่ แต่ในโลกดิจิทัลปัจจุบันจะไม่ใช่ในรูปแบบเดิมอีกต่อไป) โดยปกติแล้ว บริษัทผู้ผลิตและผู้ให้บริการภายหลังการถ่ายทำในเอเชียจะใช้แนวทางเหล่านี้เพื่อบริหารต้นทุน: - การสร้างสตูดิโอในภูมิประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่า - การปรับใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยให้สามารถพัฒนาสื่อได้เร็วยิ่งขึ้น - การกระจายต้นทุนให้ครอบคลุมในหลายโครงการ จะเห็นได้ว่ามีสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายแห่ง เช่น Film City ซึ่งตั้งอยู่ในเขตชานเมืองใกล้กับเมืองมุมไบ ถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เป็นจำนวนมาก และสถานที่เหล่านี้สามารถช่วยลดต้นทุนลงได้ เนื่องจากใช้เป็นสถานที่แห่งเดียวในการผลิตภาพยนตร์จำนวนมาก จากข้อมูลพบว่าปริมาณภาพยนตร์โดยเฉลี่ยของบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายจะอยู่ที่ 2-3 เรื่องต่อปี แนวทางนี้จะเหมือนกับการใช้ Television City, Sony Pictures Culver City และ Universal City เป็นสถานที่ถ่ายทำในฮอลลีวูด ซึ่งสามารถช่วยแชร์ต้นทุนในการผลิตภาพยนตร์ได้เป็นจำนวนมาก ขั้นตอนการทำงานสื่อที่ใช้เวลาดำเนินการมากที่สุด เช่น การแสดงผลไฟล์และการดาวน์โหลดหรือการโยกย้ายข้อมูลไฟล์ สามารถส่งผลต่อระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์จะออกสู่ตลาดได้ ดังนั้น ต้นทุนที่ต่ำลงของการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดจึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างไฟล์วิดีโอ นอกจากนี้ การปรับสี, การตัดต่อ, VFX และการทำแอนิเมชั่น ต่างก็ใช้เวลาอย่างมาก ซึ่งมีผลต่อต้นทุนมหาศาลด้วยเช่นกัน แม้ว่าจำนวนชั่วโมงทำงานของของศิลปินและเจ้าหน้าที่สนับสนุนด้านเทคนิคจะอยู่ในระดับต่ำก็ตาม (จำนวนชั่วโมงทำงานในจีนและอินเดียสำหรับศิลปินที่มีทักษะสูงเหล่านี้มักจะเป็นครึ่งหนึ่งของคู่แข่งในแคนาดา ซิดนีย์ ฮอลลีวูด และลอนดอน แต่หากโครงสร้างพื้นฐานมีปัญหาคอขวดหรือล่าช้าก็อาจทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับปรุงคุณภาพวิดีโอของตนก่อนที่จะให้ผู้กำกับรีวิวในขั้นตอนสุดท้ายของการถ่ายทำได้) เส้นตายของเอเชียในการก้าวเข้าสู่ระบบดิจิทัล: ปี 2558 ผู้กระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ในเอเชียกำลังเผชิญหน้ากับเส้นตายที่ถูกบังคับให้ก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล เครือข่ายระบบทีวีและเคเบิลทั้งหมดที่จะมีการเผยแพร่รายการซึ่งครอบคลุมในหลายประเทศ นั่นรวมถึงอินเดียที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 จะเห็นได้ว่าจำนวนครัวเรือนในเอเชียที่เสียค่าบริการทีวีดิจิทัลในขณะนี้มีเพียง 35 ล้านครัวเรือนจาก 140 ล้านครัวเรือนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ตลาดแห่งนี้จึงกำลังพบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่เพียงแต่ฝ่ายผู้ผลิตเท่านั้นแต่ยังรวมถึงฝ่ายผู้บริโภคอีกด้วย และนั่นจะเป็นการเปิดโอกาสอย่างมากให้กับบริการด้านความบันเทิง เกม และบริการไลบรารีวิดีโออื่นๆ โดยผู้ประกอบการที่ชาญฉลาดกำลังมองหาปัจจัยเสริม เช่น IPTV, OTT, สมาร์ททีวี และ DTT เพื่อสร้างโอกาสสำหรับการโฆษณา การสมัครสมาชิก และฐานผู้ชมที่มากขึ้น วิธีที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สร้างโอกาสจากเทคโนโลยีเหล่านี้ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ มองเห็นการเปลี่ยนผ่านของตลาดในเอเชียจากมุมมองของการพัฒนาการผลิต ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนาโซลูชั่นในปัจจัยที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ - การจัดการสินทรัพย์ด้านสื่อ - โซลูชั่นการนำเข้าและกลับสัญญาณภาพ-เสียงเพื่อออกอากาศ - การนำเสนอพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสื่อ - จัดการต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับระบบจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อก ไฟล์ และออบเจ็กต์ (ที่ได้รับประโยชน์จากสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบผสานรวม) การพัฒนาโซลูชั่นดังกล่าวสร้างความมั่นใจอย่างมากให้กับผู้สร้างเนื้อหาที่ต้องการสมรรถนะสูงและโครงสร้างต้นทุนโดยรวมที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับผู้นำเสนอเนื้อหาด้วย เช่น ผู้ให้บริการกระจายเสียงทั้งวิทยุและโทรทัศน์ รวมทั้งผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมที่นำเสนอบริการสำหรับโรงภาพยนตร์ ทีวี อุปกรณ์มือถือ และระบบเกม บทสรุป ในโลกของการผลิตภาพยนตร์กำลังเปลี่ยนแปลงไปและเอเชียอาจก้าวขึ้นเป็นแถวหน้าของอุตสาหกรรมนี้ ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่มีขนาดใหญ่และการลงทุนที่มีอยู่แล้วก่อนหน้านี้ ทำให้เอเชียสามารถรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ได้อย่างรวดเร็ว เช่น แพลตฟอร์ม HUS และ HNAS ตลอดจนการใช้ซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานสำหรับจัดการออบเจ็กต์และไฟล์ภายในเฟรมเวิร์กการจัดการเดียว การรวมการผสานรวมดังกล่าวข้างต้นเข้ากับฟังก์ชั่นที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อย่างเช่น ระบบเสมือนจริง การจัดการสินทรัพย์ประเภทสื่อ และโซลูชั่นที่จัดเก็บข้อมูลสื่อ สามารถช่วยเร่งให้เกิดผลกำไรและร่นระยะเวลาที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ และไม่ต้องแปลกใจหากภาพยนตร์จำนวนมากที่คุณอยากเห็นในโรงภาพยนตร์ได้ถูกแทนที่ในรูปแบบของความบันเทิงภายในบ้านแบบดิจิทัลหรือระบบเคเบิลออนดีมานด์แทน หรือแม้กระทั่งบน iPad และแท็บเล็ตของคุณ รวมทั้งยังถูกนำเสนอผ่านแว่นตาสามมิติอีกด้วย นับได้ว่าเป็นอนาคตที่สดใสอย่างมาก และในระบบเสียงสเตอริโอ และสิ่งเหล่านี้กำลังจะเข้าถึงตัวคุณในอีกไม่ช้า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ