ไอบีเอ็มสร้างภาพยนตร์ที่เล็กที่สุดในโลกโดยใช้อะตอม กินเนสรับรองว่าเป็นภาพยนตร์แบบสต็อปโมชั่นที่เล็กที่สุดในโลก

ข่าวเทคโนโลยี Thursday May 9, 2013 11:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย นักวิทยาศาสตร์จากไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เผยโฉมภาพยนตร์แบบสต็อปโมชั่น (Stop-Motion) เกือบ 250 เฟรมที่กินเนสเวิร์ดเรคอร์ดรับรองว่ามีขนาดเล็กที่สุดในโลก ภายใต้ชื่อ “A Boy and His Atom” ซึ่งสร้างขึ้นจากการนำองค์ประกอบที่เล็กที่สุดในโลก นั่นคือ อะตอม มาจัดวางอย่างแม่นยำ ผู้สนใจสามารถชม[A1] ภาพยนตร์และวิดีโอเบื้องหลังการถ่ายทำได้ทีเว็บไซท์ ibmworldssmallestmovie.tumblr.com ”A Boy and His Atom” เป็นเรื่องราวของเด็กชายที่มีชื่อว่า อะตอม เขาเป็นเพื่อนกับอะตอมหนึ่ง และเขาออกเดินทางอย่างเพลิดเพลินใจ รวมทั้งเต้นรำ เล่นวิ่งไล่จับ และกระโดดเด้งขึ้น-ลงบนเตียงผ้าใบ ด้วยดนตรีประกอบที่สนุกสนาน ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงหนทางที่แปลกใหม่ในการถ่ายทอดเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์แก่บุคคลทั่วไปนอกเหนือจากแวดวงนักวิจัย แอนเดรียส ไฮน์ริค หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบของไอบีเอ็ม รีเสิร์ช (IBM Research) กล่าวว่า “การเคลื่อนย้ายอะตอมไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ เพราะคุณสามารถทำอย่างนั้นได้เพียงแค่โบกมือเบาๆ แต่การยึดจับ จัดวาง และจัดเรียงอะตอมให้เป็นรูปทรงเพื่อสร้างภาพยนตร์ที่ไม่ซ้ำแบบใครในระดับอะตอม ถือเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องสนุกสนานแบบหนึ่งในโลกระดับอะตอม และแสดงให้คนทั่วไปเห็นถึงความท้าทายและความรื่นรมย์ที่วิทยาศาสตร์สามารถทำได้” การสร้างภาพยนตร์ ในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ นักวิจัยของไอบีเอ็มใช้กล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดในอุโมงค์ หรือ Scanning Tunneling Microscope ที่ไอบีเอ็มประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาใช้ย้ายอะตอม ไอบีเอ็มได้รับรางวัลโนเบลจากการคิดค้นเครื่องมือนี้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์แรกที่ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถมองเห็นโลกอย่างละเอียดลึกถึงระดับอะตอม กล้องจุลทรรศน์นี้หนักสองตัน ทำงานที่อุณหภูมิลบ 268 องศาเซลเซียส และขยายพื้นผิวของอะตอมได้มากกว่า 100 ล้านเท่า ความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิ แรงดัน และแรงสั่นสะเทือนในระดับที่แน่ชัด ทำให้ห้องปฏิบัติการของไอบีเอ็ม รีเสิร์ช เป็นหนึ่งในสถานที่ไม่กี่แห่งในโลกที่สามารถย้ายอะตอมได้อย่างแม่นยำ นักวิจัยของไอบีเอ็มใช้กล้องจุลทรรศน์ในการควบคุมเข็มที่คมมากให้ลากผ่านพื้นผิวทองแดง เพื่อ “สัมผัส” อะตอม โดยควบคุมการทำงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ธรรมดาจากระยะไกล เข็มดังกล่าวอยู่ห่างจากพื้นผิวเพียง 1 นาโนเมตร ซึ่งเท่ากับระยะห่างเศษหนึ่งส่วนพันล้านเมตร โดยเข็มที่ว่านี้จะดึงดูดอะตอมและโมเลกุลบนพื้นผิว และดึงไปยังตำแหน่งบนพื้นผิวที่ต้องการอย่างแม่นยำ อะตอมที่เคลื่อนที่ก่อให้เกิดเสียงที่มีเอกลักษณ์ [A2] ซึ่งเป็นข้อมูลป้อนกลับที่สำคัญอย่างมากในการระบุว่าอะตอมเคลื่อนไปกี่ตำแหน่ง ขณะที่สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกภาพนิ่งของอะตอมที่ถูกจัดเรียง ส่งผลให้มีเฟรมภาพทั้งหมด 242 เฟรม ความจำเป็นในการย่อข้อมูลขนาดใหญ่ การสร้างภาพยนตร์ที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลกไม่ใช่เรื่องใหม่เสียทีเดียวสำหรับไอบีเอ็ม เพราะในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มได้ศึกษาวัสดุต่างๆ ที่ระดับนาโน เพื่อสำรวจขีดจำกัดของการจัดเก็บข้อมูล และเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมา วงจรคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ในที่สุดนักออกแบบชิปก็พบกับข้อจำกัดทางกายภาพจากการใช้เทคนิคแบบเดิมๆ การทดลองที่แปลกใหม่ของสภาพแม่เหล็ก (Magnetism) และคุณสมบัติของอะตอมบนพื้นผิวที่มีการควบคุมเป็นอย่างดีในครั้งนี้ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ของไอบีเอ็มสามารถค้นหาแนวทางการประมวลผลที่แตกต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิง คณะนักวิจัยของไอบีเอ็มชุดเดียวกันกับที่สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังได้สร้างบิตแม่เหล็กที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และนับเป็นนักวิจัยกลุ่มแรกที่สามารถตอบคำถามที่ว่าต้องใช้อะตอมจำนวนเท่าไรในการเก็บข้อมูลหนึ่งบิตที่อยู่ในสภาพแม่เหล็กได้อย่างมีเสถียรภาพ คำตอบคือ 12 อะตอม จากการเปรียบเทียบ พบว่าต้องใช้ราว 1 ล้านอะตอมในการจัดเก็บข้อมูลหนึ่งบิตบนคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย ซึ่งวันหนึ่งข้างหน้า หากเทคโนโลยีนี้ได้รับการเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ หน่วยความจำอะตอมมิกอาจสามารถจัดเก็บภาพยนตร์ทั้งหมดที่เคยมีการสร้างในโลกนี้ไว้ในอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กจิ๋วเท่ากับเล็บมือของเราเท่านั้น ไอบีเอ็มกับความเป็นผู้นำทางด้านนาโนเทคโนโลยี ตลอดระยะเวลา 101 ปีที่ไอบีเอ็มดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ได้ลงทุนในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างอนาคตให้กับเทคโนโลยีการประมวลผล วันนี้ไอบีเอ็มได้แสดงให้เห็นถึงผลงานของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำระดับโลกของไอบีเอ็ม รวมถึงผลลัพธ์จากการลงทุนที่ต่อเนื่องของบริษัทฯ และความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานวิจัยค้นคว้า สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ชูจิตต์ วัฒนล้ำเลิศ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด โทร. 02 2734306 email: chujit@th.ibm.com [A1]Insert link to IBM landing page [A2]Insert link to audio file

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ