กนอ.โชว์ 3 มาตรการ ดันนิคมฯ มาบตาพุด สู่ระบบกรีนโลจีสติก พร้อมตั้งเป้าลดมลพิษชุมชนกว่า 50,000 ครัวเรือน

ข่าวทั่วไป Thursday May 23, 2013 13:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์ กนอ. ตั้งเป้าปี 58 วางระบบสัญญาณแจ้งเตือนภัยในนิคมฯ มาบตาพุด ครบ 100% พร้อมการันตีความพร้อมในการรับมือเหตุฉุกเฉินอย่างบูรณาการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยนโยบายเร่งด่วนควบคุมมลภาวะกลุ่มนิคมฯและท่าเรืออุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เตรียมนำระบบกรีนโลจีสติกโครงการพัฒนาระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green logistics)ผ่าน 3 มาตรการ 1. มาตรการการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง 2.มาตรการการกำกับดูแลตามกฏหมาย 3. มาตรการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การปรับรูปการเคลื่อนย้ายจากรถไปเรือ หรือรถไปราง การวางระบบรางขนส่งการกำหนดเส้นทางการเดินรถไม่ให้ผ่านพื้นที่ชุมชน การกำหนดเวลาเดินรถ ฯลฯ ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในเขตนิคมฯ คุณภาพชีวิตของชุมชนแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งระหว่างนิคมอุตสาหกรรมฯ ตลอดจนคาดหวังว่าจะสามารถลดความหนาแน่นการจราจรขนส่งระหว่างท่าเรือ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งนี้ กนอ. เผยความคืบหน้าการวางระบบโครงการเชื่อมต่อสัญญาณแจ้งเตือนภัยจากระบบเฝ้าระวังมายังศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMCC) ในกลุ่มนิคมฯและท่าเรืออุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง แล้วเสร็จกว่า 10% ของจำนวนโรงงานขนาดใหญ่ในนิคมฯ ที่มีจำนวน 148 โรงงาน โดย กนอ. ตั้งเป้าในการวางระบบให้ครบทุกโรงงาน ภายในปี 2558โดยนักลงทุนและผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2253-0561 ต่อ 3305 หรือ 0-2253-2874 หรือเข้าไปที่ www.ieat.go.th นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยโครงการพัฒนา ระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม(Green logistics)ในกลุ่มนิคมฯและท่าเรืออุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยองสืบเนื่องจากแผนยกระดับกลุ่มนิคมมาบตาพุดสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Shift mode)กลยุทธ์การกำกับดูแลตามกฏหมายกลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยคาดหวังว่าสามารถลดความหนาแน่นการจราจรขนส่งระหว่างท่าเรือ ประหยัดพลังงาน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศโดยรายละเอียดในการขับเคลื่อน ดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง (Shift mode)ได้แก่การเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง อาทิรูปการเคลื่อนย้ายจากรถไปเรือ หรือรถไปราง การวางระบบรางขนส่ง ฯลฯ กลยุทธ์ที่ 2 การกำกับดูแลตามกฏหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติตามกฏหมายการขนส่ง และยกระดับมาตราฐานความปลอดภัยในการขนส่งอาทิ การกำหนดเส้นทางการเดินรถไม่ให้ผ่านพื้นที่ชุมชนการกำหนดเวลาเดินรถ ฯลฯ กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และลดความหนาแน่นของการจราจรบนถนนและรองรับการขยายตัวด้านการขนส่งจากภาคอุตสาหกรรมในอนาคตสำหรับในทุกช่องทาง นายวิฑูรย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากที่ กนอ. ได้ดำเนินการสร้างโครงการเชื่อมต่อสัญญาณแจ้งเตือนภัยจากระบบเฝ้าระวังมายังศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMCC)ในกลุ่มนิคมฯและท่าเรืออุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยองนั้นได้ดำเนินการวางระบบแล้วเสร็จสามารถเชื่อมโยงแจ้งเหตุฉุกเฉินของโรงงานมายังศูนย์เฝ้าระวังฯ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวน25 โรงงาน หรือกว่า 10 % ของปริมาณโรงงานทั้งหมดที่มีจำนวน 148 โรงงาน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการเชื่อมโยงสัญญาณครบ 100 % ภายในปี 2558 โดยตัวอย่างรายชื่อโรงงานอุตสาหกรรมในปี 2556 ได้แก่ บริษัท แอร์ลิควิด (ประเทศไทย)จำกัด บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด บริษัท สไตรโนลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด อย่างไรก็ตาม กนอ.มีนโยบายในการเฝ้าระวังและตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกำกับดูแลโรงงานให้ปฎิบัติตามกฏหมาย และระเบียบต่างๆทั้งนี้แผนงานการเชื่อมโยงระบบเฝ้าระวังของโรงงานมายังศูนย์เฝ้าระวังฯไม่ใช่การดำเนินงานตามกฏหมายบังคับ แต่เป็นความร่วมมือจากผู้ประกอบการโดยปัจจุบัน โรงงานกว่า 148 เขตนิคมฯและท่าเรืออุตสาหกรรมพื้นที่มาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ดำเนินงานการผลิตอุตสาหกรรมประเภทปิโตรเคมี เคมีภัณฑ์ เหล็ก โรงกลั่นน้ำมัน และโรงไฟฟ้าครอบคลุมเนื้อที่ 10,215 ไร่ แบ่งเป็น เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 7,092 ไร่ เขตที่พักอาศัยของชุมชนโดยรอบ 1,490 ไร่ และที่เหลือเป็นพื้นที่ว่างเปล่า จำนวนประชากรอาศัยโดยรอบรวมกว่า200,000 คน หรือกว่า 50,000 ครัวเรือน อย่างไรตาม กนอ.มีนโยบายในการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมร่วมกับทุกภาคส่วนเพื่อสามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะมาตราการเฝ้าระวังและควบคุมสิ่งแวดล้อม ซึ่งศูนย์เฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EMCC) เป็นกลไกลที่สำคัญในการติดตามเฝ้าระวังและควบคุมสั่งการในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆโดยแบ่งระบบติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอากาศ ด้านน้ำ ด้านฐานข้อมูลและการเชื่อมโยง ด้านสื่อสารประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัย รวม21ระบบ อาทิ ระบบเฝ้าระวังคุณภาพอากาศจากปล่องแบบต่อเนื่อง สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรถเคลื่อนที่ สำหรับตรวจวัดคุณภาพอากาศ สถานีตรวจคุณภาพน้ำต้นคลองและปลายคลองระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งอุตสาหกรรมระบบฐานข้อมูลอัตราการระบายมลสารทางอากาศ รถสนับสนุนหน่วยเคลื่อนที่เร็วและประชาสัมพันธ์กระจายข่าว ระบบเครือข่ายความปลอดภัยด้วยกล้องวงจรปิด ระบบเชื่อมต่อระบบติดตามเฝ้าระวังของโรงงานเพื่อรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินแบบทันทีฯลฯ นายวิฑูรย์ กล่าวสรุป โดยนักลงทุนและผู้ประกอบการณ์ และประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2253-0561 ต่อ 3305 หรือ 0-2253-2874 หรือเข้าไปที่ www.ieat.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ