หลักสูตรเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กเล็ก “CONSTRUCTIVISM” (Learning through experiences)

ข่าวทั่วไป Tuesday June 18, 2013 10:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 มิ.ย.--โฟร์ฮันเดรท Constructivism เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บนรากฐานการพัฒนามาจากทฤษฎี Cognitive Learning Theory ของนักจิตวิทยาชาว Switzerland Jean Piaget (1896-1980) ซึ่งศึกษากระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาของสมองมนุษย์ในแต่ละช่วงอายุ ตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทฤษฎีการศึกษา Constructivism เชื่อมั่นว่ามนุษย์เราสามารถสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยหลักธรรมชาติที่ว่า มนุษย์เราเกิดมาพร้อมด้วยความใฝ่รู้ ความอยากรู้อยากเห็น ความอยากทดลองและอยากลงมือสัมผัสกับสิ่งที่ท้าทาย เมื่อได้มีโอกาสสัมผัสกับข้อปริศนาหรือสิ่งท้าทายนั้นๆ องค์ความรู้ก็จะเกิดขึ้น และยิ่งถ้าได้รับโอกาสในการสัมผัสมิติที่ต่างออกไปขององค์ความรู้นั้นๆ มากขึ้นเท่าใด องค์ความรู้นั้นๆ ก็จะได้รับการปรับแต่งให้สมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์เราจึงเป็นขบวนการที่มีการปรับความสมดุล และมีการต่อยอดไปเรื่อยๆ และความแตกฉานในองค์ความรู้ก็จะเกิดตามมา ผู้เรียนโดยเฉพาะเด็กน้อยในสายตาของนักการศึกษา Constructivism จะถูกเปรียบเสมือนนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการสรรหาคำตอบกับทุกเรื่องที่ตนเองยังมีความสงสัยหรือข้องใจ (นี่คือสาเหตุที่เด็กๆ ไม่สามารถอยู่นิ่งกับที่มักจะ “ซุกซน” เป็นปกตินิสัย) และโดยเฉพาะเมื่อโลกเราเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และสิ่งที่เขายังฉงน แครงใจ ทำให้อยากรู้ อยากทำความเข้าใจกับมัน อยากได้คำตอบให้กับข้อสงสัยนั้นๆ เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า “ทำไม? ทำไม?” จึงเป็นบุคลิกเฉพาะตัวของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์เหล่านี้ เมื่อเกิดความสงสัย ก็ไม่รั้งรอที่จะสรรหาคำตอบซึ่งบางครั้งคำตอบที่ได้รับมาจากการบอกเล่า ถ่ายทอดมาจากคำพูดหรือภาพ ก็สู้การได้ลงมือทดลองเองสัมผัสเอง ค้นหาคำตอบเองไม่ได้ เช่น ข้อพิศวงที่ว่าทำไมจึงมีน้ำไหลออกจากก๊อกน้ำ และน้ำที่ไหลออกจากก๊อกน้ำ ทำไมบางทีไหลแรง ทำไมบางทีไหลค่อย มันมาจากไหน ไหลลงท่อแล้วไปไหน เป็นต้น ฉะนั้น เราจึงมักเห็นเด็กๆ สาระวนอยู่กับเปิด-ปิดก๊อกน้ำเล่น และเล่นอยู่ได้เป็นเวลานาน เนื่องจากกำลังอยู่ในขบวนการค้นหาคำตอบอยู่ ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักการของ Constructivism จึงเป็นขบวนการที่ต้องตั้งอยู่บนหลักการที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างองค์ความรู้จากประสบการณาตรงของผู้เรียนเอง โรงเรียนต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเข้าสัมผัสปัญหา ให้เวลาในการคิดวิเคราะห์ในการค้นหาคำตอบให้กับคำถามที่คาใจอยู่ ทั้งนี้ องค์ความรู้จะแตกฉานเพียงใด ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่ผู้เรียนนั้นๆ เจริญเติบโตอยู่ ว่าเอื้ออำนวยเท่าใด สิ่งแวดล้อมดังกล่าวคือ สิ่งแวดล้อมทางบ้าน (พ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนบ้าน) ทางโรงเรียน (ครู เพื่อน สภาวะแวดล้อมโรงเรียน) และสังคมใหญ่ ทั้งนี้สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้หรือในทางตรงกันข้ามช่วยชะลอหรือสกัดกั้นทำให้สมองและความรู้ไม่สามารถแตกฉานได้เต็มศักยภาพของมัน กล่าวโดยสรุป ภายใต้สิ่งแวดล้อมทีดี ที่ปราศจากความกดดัน หรือเสมอไปด้วย ระบียบวินัยที่เคร่งครัดเกินควร ผู้เรียนจะได้รับโอกาสการค้นคิด ได้รับการส่งเสริมหรือชี้แนะแนวการคิดหรือได้รับพื้นฐานในการสรรหาแหล่งข้อมูล เป็นต้น การเรียนรู้จากระบบ Constructivism จะสามารถ สร้างความเป็นผู้นำ, สร้างความคิดริเริ่ม/สร้างสรรค์, สร้างความอยากรู้อยากเห็น/อยากเรียนรู้, สร้างความเชื่อมั่น, สร้างทัศนคติที่ดีต่อปัญหาที่มากระทบ และมีความมุมานะในการแก้หรือต่อสู้กับปัญหานั้นๆ ขบวนการจัดการเรียนการสอน (Implementation) Hand on เปิดโอกาสให้สัมผัสหรือมีประสบการณ์ตรงกับกิจกรรมเรียนรู้ Process Oriented ให้ผ่านขบวนการเรียนรู้ Challenging สร้างกิจกรรมที่ท้าทายความอยากรู้อยากเห็น Freedom to explore เปิดโอกาสให้ได้ลงมือค้นหาคำตอบ Age appropriateness กิจกรรมที่จัดต้องเหมาะกับวัยการเรียนรู้นั้นๆ ตัวอย่างกิจกรรม (Learning through play) อาทิ Cooking activity, Gardening activity, Science experiment, Arts, Math and etc. ได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูลจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยรังสิต

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ