“ซูเปอร์มูน” ทำน้ำท่วมเมืองจริงหรือไม่?? ศาสตร์ไหนแม่นกว่ากัน

ข่าวบันเทิง Friday June 28, 2013 15:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 มิ.ย.--ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ช่อง 8 ทำเอาชาวบ้านผวากับเหตุการณ์ “ซูเปอร์มูน” เพราะสาเหตุทำให้น้ำท่วมกันเลยทีเดียว!! เรื่องราวปรากฏการณ์ดวงจันทร์เข้าใกล้โลก ทำให้เรามองเห็นพระจันทร์ดวงใหญ่ขึ้น วันนี้รายการ ปากโป้ง ช่อง 8 เครืออาร์เอส จึงเรียนเชิญ 2 ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และทางโหราศาสตร์ อาจารย์อำนาจ สาธานนท์(อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และ หมอช้าง ทศพร ศรีตุลา มาอธิบายตามศาสตาร์ของตัวเอง โดยงานนี้2 พิธีกร “หนุ่ม-กรรชัย กำเนิดพลอย” “เข็ม-ลภัสรดา ช่วยเกื้อ” จะมาช่วยค้นหาคำตอบ อาจารย์อำนาจ เผย ซูเปอร์มูนเป็นปรากฏการณ์ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด มีระยะห่าง 356,989 กิโลเมตร ตามปกติดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี ดังนั้นในทุกๆ เดือน จะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ไกลโลก และดวงจันทร์ใกล้โลก การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ และถ้าหากดวงจันทร์มีการโคจรเข้ามาใกล้โลกมากๆ ก็จะมีผลให้น้ำขึ้นและน้ำลงกว่าปกติ ซึ่งซูเปอร์มูนจะเกิดขึ้นอีกครั้งประมาณ 13.7 เดือน หรือปีกว่าๆเท่านั้นเอง ซึ่งในมุมของวิทยาศาสตร์ ชาวบ้านสบายใจได้ ซูเปอร์มูนไม่มีผลทำให้น้ำท่วม!! หมอช้าง เผย ต้องบอกก่อนว่าศัพท์ ซูเปอร์มูน เป็นเรื่องโหราศาสตร์ ประดิษฐ์โดยนักโหราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ริชาร์ด นอลล์ ซึ่งดวงจันทร์หมายถึงความมีเสน่ห์ เป็นพลังธาตุน้ำ และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดน้ำขึ้นน้ำลง หนุ่ม-กรรชัย ถาม เมื่อปี 2554 เกิดเหตุการณ์ซูเปอร์มูน หมอช้างก็ได้ทำนายไว้ว่า จะมีน้ำท่วมครั้งใหญ่ และก็เกิดขึ้นจริงๆ ปีนี้ยังไงครับ? ในช่วงปี 54 นั้นเรียกว่าเป็น เอ็กตรีมซูเปอร์มูน คือใกล้โลกมากที่สุด เป็นช่วงที่แรงมาก มีเหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้น เช่น สึนามิที่ญี่ปุ่น ซึ่งปีนี้ไม่ใกล้เท่าปี 2554 แต่จะเกิด เอ็กตรีมซูเปอร์มูนอีกครั้ง ในปี 2559 ก็ต้องมาดูว่าจะเป็นยังไง เข็ม-ลภสรดา ถามต่อในช่วงนี้ชาวบ้านสบายใจได้ไหมค่ะ? สบายใจได้แต่ก็ยังไม่เชิง เพราะยังอยู่ในช่วงซูเปอร์มูนอยู่ อย่างที่บอกพระจันทร์เป็นพลังธาตุน้ำ อาจมีเหตุการณ์ฉับพลัน แต่ปีนี้ไม่มีผลเยอะ แต่ก็ไม่ควรประมาท กิจกรรมทางน้ำต่างๆหรือการเดินทางทางน้ำ ก็ขอให้ระวังนิดนึง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ