โพลล์สำรวจพฤติกรรมการความรับรู้ความหมายของAEC ประชาชนชาวกทม.

ข่าวทั่วไป Tuesday July 9, 2013 16:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ โพลล์เผยความรับรู้ของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในAEC ศ. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการและดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ แถลงผลการสำรวจความรับรู้ของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็น 1 ใน 10 ประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือครอบคลุม 3 ประการคือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน, ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม(ระดับอุดมศึกษา)ได้สำรวจความรับรู้ของประชาชนทั่วไปอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่จำกัดวุฒิการศึกษา ระหว่างวันที่ 1-5 กรกฎาคม 2556 จำนวน 1,098 คน ด้วยระบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือAECพบว่าส่วนใหญ่หรือ 54.28 % ไม่ทราบว่า AEC ย่อมาจากอะไร กลุ่มสำรวจดังกล่าวถึงหนึ่งในสามหรือ 77.87% กลัวการถูกต่างชาติแย่งงานทำ ศ.ศรีศักดิ์ กล่าวต่อว่าจากการสำรวจสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 74.41 ทราบว่า AEC จะเริ่มมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ขณะที่ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 49.36 ซึ่งมีจำนวนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด มีความพร้อมในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC แต่ร้อยละ 30.15 หรือประมาณเกือบหนึ่งในสามยังไม่มีความพร้อม นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 86.25 ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนเองคือ การที่ประชาชนเดินทางไปลงทุน ดำเนินธุรกิจ หางานทำ หรือ ศึกษาต่อ ในประเทศอื่นๆ ในกลุ่มได้อย่างเสรี กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 83.42 และ ร้อยละ 81.15 ระบุว่า AEC ในความเข้าใจของตนคือ การที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้ต่อลองผลประโยชน์ในด้านต่างๆ และ การที่รัฐบาลของประเทศในกลุ่มได้กำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ตามลำดับ สำหรับสิ่งที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่าตนเองต้องพัฒนามากที่สุดเพื่อเตรียมตัวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ AEC ได้อย่างมีคุณภาพคือ ทักษะทางด้านภาษา โดยคิดเป็นร้อยละ 35.79 รองลงมาคือทักษะทางด้านฝีมือแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 17.94 และ คุณวุฒิทางการศึกษา ร้อยละ 15.39 ส่วนผลดีที่กลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะได้รับเมื่อเข้าสู่ AEC คือ มีโอกาสหางานทำได้ง่ายขึ้น คิดเป็นร้อยละ 76.78 มีโอกาสได้ไปศึกษา/ทำงานยังประเทศอื่นในกลุ่ม AEC ได้ง่ายขึ้น คิดเป็นร้อยละ 75.68 และ มีสินค้าและบริการให้เลือกได้มากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 74.59 สำหรับผลเสียที่กลุ่มตัวอย่างคาดว่าจะได้รับเมื่อเข้าสู่ AEC คือ ถูกชาวต่างชาติจากประเทศอื่นในกลุ่ม AEC แย่งงานทำ ได้ใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพด้อยลง และ รายได้จากการประกอบอาชีพลดลง โดยคิดเป็นร้อยละ 77.87 ร้อยละ 71.04 และ ร้อยละ 66.76 ตามลำดับ สื่อมวลชนที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือประสานงาน : สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา)ได้ที่ 1. ศ. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส โทร. 08 1621 4526 หรือ 0 2878 5089 E-Mail. Charmonman@Gmail.com 2. อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ โทร. 08 1903 2299 E-Mail. President@SiamTechU.net 3. ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ โทร. 08 1899 2683 หรือ 0 2878 5058 4. ดร.กุลธิดา เสาวภาคย์พงศ์ชัย กรรมการรองผู้อำนวยการ โทร. 0 2955 4949

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ