สสส. ร่วมกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัว พร้อมเปิดรับโครงการ ประกวดสื่อรณรงค์ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน"

ข่าวทั่วไป Friday July 26, 2013 14:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ก.ค.--สสส. แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัว พร้อมเปิดรับโครงการ ประกวดสื่อรณรงค์ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" เพื่อรณรงค์สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในเยาวชน ผ่านกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเยาวชน มาหาคำตอบกันว่า ทำไมต้อง ลดพุง ลดโรค: อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน รายงานพบว่า เฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียนอายุ 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.5 แล้วจะไม่ให้ตกใจได้อย่างไร..!! ส่วนในปีพ.ศ. 2558 คาดเด็กไทยอาจจะเข้าสู่สภาวะเป็นเด็กอ้วนเพิ่ม!! ถึงเวลาแล้วที่วันนี้ เรา!! ต้องรณรงค์เรื่องนี้ ด้วยโครงการประกวดสื่อรณรงค์ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" ที่มีเด็กและเยาวชนเป็นคนทำ... เชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวเปิดรับสมัครโครงการประกวดสื่อรณรงค์ หัวข้อ "อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน" วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00 — 16.00 น. สถานที่ : The Style by Toyota @ Siam Square 12.30 — 13.00 น. ลงทะเบียนผู้สนใจเข้าร่วมงาน 13.00 — 13.45 น. ร่วมฟังเสวนา หัวข้อ “ลดพุง ลดโรค: อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดย อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากิติมศักดิ์สมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย 13.45 — 14.20 น. ร่วมฟังเสวนา หัวข้อ “Invert Thinking for Creativity” โดย คุณวิทวัส ชัยปาณี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และ ตัวแทนนักโฆษณามืออาชีพ 14.20 — 14.30 น. พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้ร่วมงาน/ แนะนำโครงการ และรูปแบบโครงการฯ 14.30 — 15.30 น. แถลงข่าวโดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวดังนี้ คุณวิทวัส ชัยปาณี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ อาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพฯ (สสส.) คุณธาราวุฒิ สืบเชื้อ อุปนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย ตัวแทนนักโฆษณามืออาชีพ 15.30 — 16.00 น. ถ่ายภาพหมู่ร่วมกัน / พักรับประทานอาหารว่าง หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม บริโภคนิยมทำเด็กไทย “อ้วนเร็วที่สุดในโลก”กรมอนามัยได้เคยประมาณการเกี่ยวกับสัดส่วนของเด็กไทยที่อาจจะเข้าสู่สภาวะเป็นเด็กอ้วนไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2558 เด็กก่อนวัยเรียนในประเทศไทยจะกลายเป็นเด็กอ้วนในสัดส่วนสูงถึง 1 ใน 5 นั่นหมายความว่า ในเด็ก 5 คน จะมีเด็กอ้วน 1 คน และเด็กวัยเรียน จะมีสัดส่วนของเด็กอ้วนอยู่ที่ 1 ใน 10จากข้อมูลพบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อุบัติการณ์โรคอ้วนในเด็กไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และตามสถิติอาจสรุปได้ว่า เป็นประเทศที่มีการเพิ่มจำนวนเด็กอ้วนเร็วที่สุดในโลก มีรายงานว่า เฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา จำนวนเด็กก่อนวัยเรียนอ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36 และเด็กวัยเรียนอายุ 6-13 ปี อ้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.5 แล้วจะไม่ให้ตกใจได้อย่างไร..!!สถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พยายามออกมาเตือนหลายต่อหลายครั้งว่า สถานการณ์น่าห่วงมาก สาเหตุก็ล้วนมาจากการบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่สูงและน้ำตาลเกินขนาด อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการน้อย มีแป้งมาก รสจัด ประเภทหวานจัด มันจัด เค็มจัด รวมทั้งอาหารจานด่วน น้ำอัดลม ไอศกรีม ขนมหวานต่าง ๆ ซึ่งทำให้เด็กติดรสหวาน และมักเสพติดมากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนอาหารที่มีประโยชน์จะเลือกกินน้อย โดยเฉพาะผัก ผลไม้ และอาหารที่มีกากใย ที่สำคัญไม่ชอบออกกำลังกายอีกต่างหากก่อนหน้านี้ รองศาสตราจารย์ พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า จากการสำรวจโรงเรียนภาครัฐมีเด็กอ้วนอยู่ประมาณ ร้อยละ 20 ในขณะที่โรงเรียนเอกชนมีถึง ร้อยละ 30 ซึ่งเด็กผอมจะมีประมาณ ร้อยละ 2-4 ซึ่งมันแตกต่างกันเยอะ ทั้งที่ในอดีตเด็กผอมจะมากกว่าคุณหมอชุติมา กล่าวว่า ในทางการแพทย์ “อ้วน” ถือเป็น “โรค” เพราะว่าสิ่งที่ตามมา ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และความเสี่ยงต่อไปก็เป็นโรคหัวใจ โรคทางเดินหายใจ ฯลฯโรคอ้วนกำลังกลายเป็นโรคร้ายที่กำลังคุกคามเด็กทั่วโลก โดยเฉพาะเด็กที่เกิดในประเทศศิวิไลทั้งหลาย ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งถ้าจะชี้ให้ชัดและแคบลงไปอีก ก็คือเด็กในประเทศที่ตกอยู่ในกระแส “บริโภคนิยม” ทั้งหลายนั่นแหละแม้ที่ผ่านมา บรรดานักวิชาการได้พยายามเคลื่อนไหว และมีหลายหน่วยงานได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงเรื่องนี้ในวงกว้าง มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน และมีการพยายามประชาสัมพันธ์เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองระวังภัยร้ายเรื่องนี้อย่างจริงจัง แต่ดูเหมือนยังไม่สามารถต้านทานอัตราการเพิ่มของเด็กกลุ่มเหล่านี้ได้เท่าที่ควรฉะนั้น ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัวที่ต้องตระหนักในเรื่องนี้เองอย่างจริงจัง เริ่มจากการรักลูกให้ถูกวิธี และไม่ควรปล่อยให้ลูกเข้าข่ายเด็กอ้วนด้วยสองมือของพ่อแม่ประการแรก โปรดเลิกค่านิยมที่ว่าลูกยิ่งอ้วนจ้ำม่ำยิ่งน่ารักเสียเถิด อย่าคิดว่าอ้วนตอนเด็กไม่เป็นไร โตขึ้นก็ผอมเอง เพราะจากงานวิจัยและสถิติทุกสำนักพบว่าเด็กอ้วนมีโอกาสเป็นผู้ใหญ่อ้วนในอนาคตประการที่สอง สร้างนิสัยเรื่องการกินให้พอดีตั้งแต่เล็ก ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะหิว หรือกินไม่อิ่ม โดยปกติเมื่อเด็กอิ่มเขาจะรู้ตัว แต่ส่วนใหญ่พ่อแม่หรือผู้ปกครองมักใช้สายตาของผู้ใหญ่แล้วบอกว่าลูกยังไม่อิ่มหรอกกินไปนิดเดียวเอง ก็เด็กตัวนิดเดียวจะให้กระเพาะใหญ่เท่าผู้ใหญ่ได้อย่างไร สิ่งสำคัญควรดูจากการเจริญเติบโตของลูก ส่วนสูงและน้ำหนักสัมพันธ์กันไหม มีพัฒนาการด้านอื่นที่รุดหน้าหรือไม่ควบคู่ไปด้วยประการที่สาม ฝึกนิสัยกินอาหารที่มีประโยชน์มากกว่าอาหารที่อร่อย ถ้าปลูกฝังตั้งแต่เล็กจะได้ผลมากกว่าตอนโต ถ้าเขาถูกตามใจเรื่องกินมาตลอด การแก้พฤติกรรมจะทำได้ยากกว่า โดยปกติลูกจะกินอาหารตามพ่อแม่ ยิ่งถ้าพ่อหรือแม่เป็นคนทำอาหารเองก็ยิ่งง่ายต่อการปลูกฝังเรื่องการกินที่ถูกหลักโภชนาการ ที่สำคัญพ่อแม่และผู้ใหญ่ในบ้านต้องเป็นตัวอย่างในการกินที่ดีด้วยประการที่สี่ หลีกเลี่ยงการกินอาหารนอกบ้าน ถ้าลูกคุ้นเคยกับการกินอาหารนอกบ้านแล้ว มักจะติดใจและชอบที่จะกินอาหารที่มีแคลอรี่สูง ไขมันสูง เพราะอาหารเหล่านั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ถูกใจผู้บริโภค ยิ่งถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กล่ะก็ เขาจะออกแบบเน้นหวานมันกรอบแคลอรี่สูงๆ ทั้งนั้น และเมื่อเด็กบริโภคติดแล้ว โอกาสที่จะกลับมากินอาหารที่มีประโยชน์ก็จะลดน้อยลงประการที่ห้า ชวนลูกออกกำลังกาย คิดซะว่าเป็นการออกกำลังกายกันทั้งครอบครัว ทำเพื่อทุกคนในครอบครัวจนติดเป็นนิสัย พยายามหาโอกาสหรือสร้างกิจกรรมเพื่อให้ทุกคนในครอบครัวได้เคลื่อนไหวร่างกาย ถ้าปลูกฝังตั้งแต่เล็กอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เด็กๆ ติดการออกกำลังกาย ซึ่งจะนำมาสู่การมีสุขภาพร่างกายที่ดี แต่เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือการได้ทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว เป็นการกระชับความสัมพันธ์และใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นปัจจุบันปัญหาเรื่องเด็กอ้วนกำลังจะกลายเป็นโรคระบาดไปทั่วโลกตามกระแสบริโภคนิยมที่ขยายตัวไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และยากต่อการทัดทาน สิ่งที่จะทำได้ดีที่สุดคือการจัดการความอยากของตัวเอง จัดการกับกิเลสของตัวเอง ซึ่งพ่อแม่เท่านั้นที่จะต้องช่วยลูกจัดการในเรื่องนี้ ด้วยการปลูกฝังสิ่งที่ดี ที่เป็นประโยชน์เหมาะสมให้กับลูก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ