ดีเอชแอล เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในเอเชียแปซิฟิก วางนโยบายสร้างศูนย์กระจายสินค้า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน

ข่าวทั่วไป Monday August 5, 2013 11:47 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ส.ค.--อาซิแอม เบอร์สัน-มาร์สเตลเลอร์ - “ประเทศไทยและออสเตรเลีย” ติดอันดับศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสามารถลดการใช้คาร์บอนได้ถึง 7.4% 1(เมื่อเทียบปีต่อปี) ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส (DHL Express) ผู้นำระดับโลกในธุรกิจขนส่งด่วนระหว่างประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน โดยผลลัพธ์ที่ได้มีค่าเฉลี่ยชี้ชัดเป็นอัตราตัวเลขที่ดีขึ้นถึง 7.4% (แม้ปริมาณการใช้พลังงานจะเพิ่มมากขึ้นก็ตาม) สำหรับประเทศที่ทำผลงานได้ดีที่สุด ได้แก่ ประเทศไทย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และบังกลาเทศ ซึ่งโดยรวมแล้ว ดอยช์ โพสต์ ดีเอชแอล (Deutsche Post DHL) บริษัทแม่ของดีเอชแอล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้ถึง16% นับตั้งแต่เปิดตัวโครงการ GoGreen ในปี 2551 นับว่าเป็นผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมายในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนให้ได้ 30% ภายในปี 2563 2 เจอร์รี่ ชู (Jerry Hsu) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “บริการจากดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เป็นที่ต้องการมากขึ้นในเอเชียแปซิฟิก ในปีที่ผ่านมามีปริมาณการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนตัวเลขสองหลัก แต่โดยรวมเรายังสามารถบริหารจัดการคาร์บอนให้ลดลงได้ถึง 7.4% เมื่อเทียบปีต่อปี แม้เราจะเปิดศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิมหลายแห่งเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า เช่น ศูนย์กระจายสินค้าของเอเชียเหนือในเซี่ยงไฮ้ แต่ปฏิบัติการภาคพื้นของเราก็มีประสิทธิภาพมากขึ้นและอาคารต่างๆ ของเราก็ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม เราจึงสามารถลดการปล่อยคาร์บอนโดยรวมได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเราอุทิศตนให้กับการทำธุรกิจแบบยั่งยืน” การปรับปรุงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการนำยานพาหนะใหม่ที่ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิมมาใช้ในการขนส่งทางบก ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนในภูมิภาค ยานพาหนะกว่า 500 คันในเอเชียแปซิฟิกถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะใหม่ที่มีระบบทันสมัยอย่างจีพีเอสและเทเลเมติกส์ ซึ่งจะช่วยเฝ้าสังเกต ประเมิน วิเคราะห์ และปรับปรุงพฤติกรรมการจัดการคาร์บอนของพนักงานขับรถ นอกจากนี้ ดีเอชแอลยังเดินหน้าปรับเส้นทางขนส่งที่เหมาะสมที่สุดและใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด ยานพาหนะเกือบทั้งหมดของดีเอชแอลได้มาตรฐานมลพิษไอเสีย Euro IV และ Vซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่าเป็นขีดจำกัดสูงสุดที่ยอมรับได้สำหรับการปล่อยไอเสียจากยานพาหนะใหม่ที่ใช้ในงานซึ่งจำหน่ายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ประเทศไทยทำผลงานได้ดีเยี่ยมโดยสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้ถึง 36.2% (เมื่อเทียบปีต่อปี) ตามมาด้วยประเทศออสเตรเลียที่ 22.7% ในประเทศไทยนั้น ยานพาหนะของดีเอชแอลที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลถูกเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซซีเอ็นจี (CNG) 100% ส่วนในประเทศออสเตรเลีย ยานพาหนะเก่าถูกแทนที่ด้วยยานพาหนะรุ่นใหม่ที่ประหยัดพลังงานกว่าเดิมและได้มาตรฐาน Euro V นอกจากนี้การปรับปรุงศูนย์กระจายสินค้าภาคพื้นดินซึ่งมีผลทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ ดีเอชแอลบรรลุเป้าหมายการจัดการคาร์บอน ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้าของดีเอชแอลทั้งหมดในประเทศออสเตรเลียได้รับมาตรฐาน ISO 14001 (ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม) และเจ้าหน้าที่ของดีเอชแอลก็มีส่วนร่วมในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มที่ โดยมีการทำกิจกรรมต่างๆทั้งที่เกี่ยวกับการประหยัดพลังงงาน การลดใช้กระดาษ และการรีไซเคิลขยะ สำหรับประเทศอื่นๆ ที่ทำผลงานได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอน ประกอบด้วย ญี่ปุ่น (18.6%) สิงคโปร์ (17.9%) และบังกลาเทศ (12.4%) ขณะเดียวกันศูนย์กระจายสินค้าในเอเชียกลางของดีเอชแอลก็ครองตำแหน่งศูนย์กระจายสินค้าที่เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคาร์บอนได้สูงที่สุด 11.4% ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก เริ่มประเมินการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานในอสังหาริมทรัพย์และยานพาหนะทางบกของบริษัท เพื่อวัดระดับและยกระดับการจัดการคาร์บอนผ่านโครงการลดการปล่อยคาร์บอนเป็นจำนวนหลายโครงการ สำหรับโครงการนี้เปิดตัวครั้งแรกโดยดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรสในปี 2551 และปัจจุบันครอบคลุมศูนย์กระจายสินค้ากว่า 1,000 แห่ง ใน 27 ตลาดทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หมายเหตุ: 1. รวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนพื้นดินตามที่ระบุใน Greenhouse Gas (GHG) Protocol Scope 1 & 2 แต่ไม่รวมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการบิน 2. ลดการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินงานด้านต่างๆ ของกลุ่มบริษัทดีเอชแอลและของผู้รับจ้างขนส่งอีกทอดหนึ่ง (transportation subcontractor) เมื่อเทียบกับระดับของปี 2550

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ