รู้ทันโรคข้อเสื่อม ภัยเงียบยามสูงวัย ป้องกันได้ อย่าละเลย

ข่าวทั่วไป Thursday August 8, 2013 11:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--กนกรัตน์ แอนด์ เฟรนด์ โรคข้อที่เป็นสาเหตุของอาการปวดมีมากกว่า 100 ชนิด โดยโรคข้อเสื่อมถือเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคข้อทั้งหลาย สามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนต่างๆ ของร่างกาย พบมากในผู้สูงอายุทำให้รู้สึกเจ็บปวดทรมานมากอีกโรคหนึ่ง และที่น่าตกใจ คือ อุบัติการณ์ของโรคข้อเสื่อมในปัจจุบันของไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นมากกว่าทางฝั่งตะวันตก ถือเป็นภัยเงียบด้านสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม แม้ไม่ใช่โรคที่อันตรายถึงขั้นคร่าชีวิตแต่ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ทรมานจากอาการเจ็บปวดอย่างรุ่นแรงมากเลยทีเดียว ในงานสัมมนา “โรคข้อที่พบบ่อยในร้านขายยา และผลแคลเซียม แอล ทรีโอแนต ต่อกระดูกและกระดูกอ่อน” ซึ่งสมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท ไบโอโกรว์ (ทีเอช) จำกัด ได้จัดขึ้นโดยมี ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย มาเป็นวิทยากรพิเศษนั้นได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจาก เภสัชกรและบุคคลทั่วไปจากทั่วประเทศ เข้าร่วมฟังบรรยายอย่างคับคั่ง ด้วยเนื้อหาสาระที่มีประโยชน์นับว่าเป็นความรู้ที่น่าสนใจ ที่จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคข้อที่คนยุคใหม่ไม่ควรละเลย ศ.กิตติคุณ นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย ให้ความรู้โรคข้อที่พบบ่อยในไทยว่า ส่วนใหญ่ที่พบมาก คือ โรคข้อเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ โรคกระดูกพรุน ข้ออักเสบในวัยเยาว์ ข้ออักเสบติดเชื้อ ทั้งนี้โรคข้อเสื่อม จะพบมากที่สุด ซึ่งเกิดจากส่วนที่สึกหรอนั้นก็คือ กระดูกอ่อนนั้นเอง โดยข้อต่อคือส่วนเชื่อมต่อของกระดูกสองท่อนที่ทำให้กระดูกนั้นเคลื่อนไหวได้ ผิวของข้อจะเรียบปกคลุมด้วยกระดูกอ่อนผิวข้อและมีเนื้อเยื้อไขข้อสร้างน้ำไขข้อเพื่อหล่อลื่นข้อ ฉะนั้นข้อเสื่อมถือเป็นภาวะข้ออักเสบอย่างหนึ่ง เกิดได้เกือบทุกแห่งที่มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ แต่จุดที่เป็นมากที่สุด คือ ข้อเข่า ข้อกระดูกสันหลัง ข้อสะโพก ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวม เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก เป็นมากๆ อาการปวดจะรุนแรง และทรมานมาก ด้านความเสี่ยงต่อการเกิดโรค คืออายุที่เพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่ 40 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่แปรผันโดยตรงตามอายุ และส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิงมากกว่า เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ มากกว่า ทั้งในเรื่องของ น้ำหนักตัวที่มีผลกับข้อที่ใช้รับน้ำหนักโดยตรง น้ำหนักที่มากจะกดลงบนผิวข้อเร่งให้ข้อนั้นๆ เสื่อมเร็วขึ้น แม้แต่การได้รับอุบัติเหตุ หรือการใช้ยาหรือสารเคมีบางอย่างอาจจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ก็ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง อาการของโรคจะค่อยๆ เริ่มเป็นทีละน้อย มีอาการปวดเมื่อยมีเสียงกรอบแกรบเวลาเคลื่อนไหว อาจจะมีอาการข้อตึงหรือติดเวลาพักใช้งานข้อนานๆ หากปล่อยไว้นานๆ กระดูกข้อจะสึกหรอมากขึ้น ทำให้ปวดมาก ทั้งนี้อาจมีอาการรูปของข้อนั้นๆ ผิดรูปร่าง บวมอักเสบ มีน้ำไขข้อมาก และไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด ถ้าเอ็กซ์เรย์จะเห็นรูปร่างข้อที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เนื่องจากภาวะข้อเสื่อมของกระดูกข้อ จะแสดงอาการชัดเจนเมื่อผู้ป่วยมีอายุที่มากขึ้น แม้ปัจจุบันการรักษาจะไม่สามารถให้หายขาดได้ แต่การรักษาอย่างถูกต้องจะช่วยป้องกันการลุกลามของโรค ลดอาการเจ็บปวด และทำให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้ ขึ้นอยู่กับอายุ และความรุนแรง ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย แนะนำวิธีการป้องกันโรคข้อเสื่อมว่า เป็นแล้วจะไม่หายขาด ดังนั้นการชะลอภาวะการเสื่อมของกระดูกและข้อ คือ ลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ใช้งานข้อพอสมควรไม่หักโหมเกินไป ควบคุมน้ำหนักตัวอย่าให้มากเกิน ระวังอย่าให้เกิดอุบัติเหตุ ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับข้อ เช่น การขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ และการบริหารร่างกายกล้ามเนื้อพยุงข้อ อย่างกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อต้นคอ และข้อเข่า เป็นประจำก็ช่วยได้เช่นกัน ทานแคลเซียมเสริมจะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ซึ่งการทานแคลเซียมที่ดีที่สุดควรทานเมื่อท้องว่างก่อนอาหาร 1-2 ชั่วโมง และช่วงก่อนนอน เพื่อการดูดซึมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด เพราะแคลเซียมเสริมบางชนิดมีปัญหาต่อระบบทางเดินอาหารได้ วริญา ณ ระนอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท ไบโอโกรว์ (ทีเอช) จำกัด กล่าวถึงเรื่องแคลเซียมที่เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกชนิดไม่มีปัญหาต่อระบบทางเดินอาหารว่า แคลเซียมบำรุงกระดูกชนิดที่ไม่มีปัญหาต่อระบบทางเดินอาหาร นั้นก็คือ แคลเซียม แอล ทรีโอแนต ถือนวัตกรรมล่าสุดที่ถูกจดสิทธิบัตรจากสหรัฐอเมริกา ในการรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุน กระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูก และการเจริญของกระดูกอ่อนในข้อต่อ ทำให้กระดูกและข้อต่อแข็งแรง พบว่าช่วยยับยั้งการสลายตัวของเซลล์กระดูก สร้างคอลลาเจนของเนื้อกระดูก ช่วยป้องกันโรคข้อเสื่อม และบรรเทาอาการปวดอักเสบของข้อต่อจากโรคข้อ เป็นแคลเซียมชนิดที่สามารถแตกตัวและสลายในน้ำ ดูดซึมได้ดี ทำให้ไม่หลงเหลือการตกตะกอนของหินปูน ไม่ทำให้ท้องผูก เพราะสามารถซึมผ่านผนังหลอดเลือดได้โดยตรงได้ถึง 95% โดยไม่ต้องอาศัยวิตามินดีมาช่วยย่อย ในขณะที่แคลเซียมชนิดอื่นดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้เพียง 10-15% เท่านั้น ดังนั้นการเลือกรับแคลเชียมบำรุงกระดูกที่มีคุณภาพ และสามารถซึมผ่านหลอดเลือดเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้นั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แม้แคลเซียมจะเป็นชนิดที่ดีที่สุดหรือแพงที่สุด แต่การดูดซึมไม่มีประสิทธิภาพแคลเซียมที่รับประทานก็ศูนย์เปล่า การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคข้อที่พบบ่อยนั้น ถือเป็นกรณีศีกษาที่จะช่วยกระตุ้นให้คนหันมาสนใจดูแลสุขภาพ และเริ่มวางแผนการดูแลตนเองอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเมื่อสูงวัย เมื่อมีอาการบ่งชี้ เริ่มปวดตามข้ออย่าปล่อยนานเกิน 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์โรคข้อ (Rheumatologist) รับการตรวจวินิจฉัยโรคข้อว่าเป็นชนิดไหน เพื่อรักษาอย่างถูกต้องอีกทั้งรู้วิธีการดูแลสุขภาพข้อและกระดูกของตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเองและคนที่รัก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ