Software Park Annual Conference 2013

ข่าวเทคโนโลยี Thursday August 8, 2013 17:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ส.ค.--ซอฟต์แวร์พาร์ค เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค)ผนึกเครือข่ายพันธมิตร จัดงานสัมมนาและนิทรรศการครั้งยิ่งใหญ่ประจำปี 2556 “Software Park Annual Conference 2013 ภายใต้แนวคิด Gateway to Global Market : ประตูสู่ตลาดโลก” พบกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร วิทยากรด้านไอทีและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เปิดมุมมองหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องธุรกิจ เทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากร ร่วมเรียนรู้เรื่องราวความสำเร็จจากผู้มีประสบการณ์จริงในการดำเนินธุรกิจไอที ภายใต้แนวคิด “ธุรกิจล้ำ ทำได้ ขายดี ตีตลาดโลก” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันบุคลากรไอทีและผู้ประกอบการซอฟแวร์ไทยในเชิงเทคนิคในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า งาน Software Park Annual Conference 2013 ในปีนี้จะอยู่ภายใต้แนวคิดหลัก “Gateway to Global Market” หรือ “ประตูสู่ตลาดโลก” โดยซอฟต์แวร์พาร์คจะยึดหลักการเปิดมุมมองธุรกิจใน หลากหลายมิติ โดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ บุคลากรด้านไอทีและผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในเชิงเทคนิคในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงการสร้างโอกาสทางธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ “ซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทย เห็นว่าตลาดของซอฟต์แวร์เป็นตลาดสากล ไม่ได้มีขีดจำกัดเฉพาะอาเซียน หรือเอเชีย ดังนั้นการพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ของไทยจำเป็นต้องใส่ชุดประสบการณ์ระดับโลก พร้อมกับการจัดการต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ตลาดโลกโดยทันที ซึ่งในงาน Software Park Annual Conference 2013 ในวันที่ 22 สิงหาคม 2556 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการนำชุดประสบการณ์สำเร็จรูป พร้อมการนำพาร์ตเนอร์ในระดับโลก ซึ่งเป็นโครงข่ายที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้สร้างขึ้นในรอบหลายปีมาสนับสนุนเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่” การจัดงานในครั้งนี้จะเป็นการจัดกระบวนทัพของธุรกิจซอฟต์แวร์ไทยให้พร้อมออกสู่ตลาดต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นระดับภูมิภาคหรือระดับโลก โดยให้ความรู้และมุมมองหลากหลายมิติ ทั้งในเรื่อง ธุรกิจ,เทคโนโลยี และการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เริ่มต้นและก้าวเข้าสู่สากลอย่างมีแบบแผน ในส่วนของธุรกิจนั้น ซอฟต์แวร์พาร์ค ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายสองด้านคือ กลุ่มผู้ประกอบการซอฟต์แวร์โดยตรง และกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะนำซอฟต์แวร์มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งทั้งสองกลุ่มจำเป็นที่จะต้องได้รับประสบการณ์คู่ขนานกัน เพื่อทำให้ตลาดเติบโตไปอย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นชุดประสบการณ์ทางด้านธุรกิจนั้นทางซอฟต์แวร์พาร์คจะคัดเลือกความรู้ทั้งสองมุมมองเพื่อทำให้ผู้ประกอบการเห็นภาพการทำธุรกิจที่ต้องขยายตลาดไปยังต่างประเทศอย่างชัดเจน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างจริงจัง รวมถึงการแสดงเจตนารมย์ที่จะก้าวไปสู่ตลาดโลกในระดับต่างๆ ความพร้อมและเป้าหมายของการขยายตลาด ซอฟต์แวร์พาร์คจะมีการจัดกลุ่ม หรือ Grouping ในงาน และจะ Customize หรือปรับแต่งในแต่ละกลุ่มให้ เหมาะสมกับความต้องการต่อไป เนื่องจากบริษัทซอฟต์แวร์ที่ต้องการจะรุกตลาดต่างประเทศจะมีทั้งต้องการเพียงแค่ไปออกบูธจำหน่ายสินค้าเพียงครั้งคราว, บางรายต้องการหาคู่ค้าในประเทศต่างๆ เพื่อขยายฐาน, บางรายเพียงต้องการแหล่งทุน และอื่นๆ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานสนับสนุนเห็นภาพการรุกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการได้ชัดเจนมากขึ้น รวมไปถึงการมอบรางวัล Software Park Thailand’s Hall of Inspiration 2013 ให้กับผู้ประกอบการไอทีรุ่นใหม่เพื่อเป็นฑูตสร้างแรงบันดาลในให้คนรุ่นใหม่ หวังผลให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันในอุตสาหกรรม ในด้านเทคโนโลยีนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คประเทศไทย ได้นำเสนอเทคโนโลยีจากพันธมิตรในระดับโลก เพื่อฉายภาพทิศทางที่สำคัญ รวมถึงตัวช่วยในด้านต่างๆ จากเจ้าของเทคโนโลยี ทั้งในส่วนของโปรแกรมใน ระดับสากลและโปรแกรมที่ปรับแต่งเฉพาะประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ซึ่งในงานจะมีตัวช่วยจากพาร์ตเนอร์ที่สนับสนุนมากกว่า 10 โครงการ โดยผู้ประกอบการสามารถเลือกโครงการที่ เหมาะสมกับการรุกตลาดของ ตนเองได้ สำหรับการพัฒนาบุคลากรนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คยังคงยึดแนวทางการพัฒนาบุคลากร ระดับกลาง โดยเน้น Soft Skill หรือการบริหารงานเชิงความสัมพันธ์ที่มากกว่าการเน้นเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกลุ่มระดับกลางนั้นจะต้องเป็นตัวเชื่อมโยงทรัพยากรกับกลุ่มประเทศในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยนอกจากโอกาสของ AEC แล้ว ซอฟต์แวร์พาร์คยังเห็นว่าแนวโน้มการสร้างบุคลากรไอทีของไทยในระดับ อุดมศึกษาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนแล้ว โดยคนรุ่นใหม่จะสนใจเรียนสายคอมพิวเตอร์หลักน้อยลง และสนใจที่จะเรียนคอมพิวเตอร์ประยุกต์มากขึ้น ซึ่งน่าจะสอดคล้องกับแผนงานของซอฟต์แวร์พาร์คในขณะนี้ นอกจากนั้น ซอฟต์แวร์พาร์คยังมุ่งมั่นที่จะสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจให้กับภาคธุรกิจไทย ทั้งในเรื่องการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และการส่งเสริมการนำ IT ให้เข้าไปมีบทบาทในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยในงานนี้จะเป็นการเปิดตัว กิจกรรมของทางซอฟต์แวร์พาร์คที่ชื่อ Software Hunter เนื่องจากที่ผ่านมาซอฟต์แวร์พาร์คได้รับการติดต่อจากผู้ทีต้องการซอฟต์แวร์ไปใช้ในงานของตนเองหลากหลายโครงการ ทั้งในและต่างประเทศ โดยต่อไปนี้ซอฟต์แวร์พาร์คจะมีบุคลากรที่ดูแลด้านนี้ชัดเจน เมื่อมีความต้องการเข้ามา Software Hunter จะคัดเลือกบริษัทซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งเพื่อนำไปสู่การคัดเลือก โดยทั้งหมดได้รับการยอมรับจากซอฟต์แวร์พาร์คแล้วว่าเหมาะสม และมีประบการณ์ในด้านนั้นๆ ซึ่งเท่ากับสำหรับผู้ประกอบการหรือองค์กรและภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มองหาซอฟต์แวร์ไทยที่ดีและมีประสิทธิภาพ นาย สุทัศน์ วงศ์วิเศษกุล, ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีเอ โซลูชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีซอฟต์แวร์บริหารจัดการองค์กร ซีเอ ได้เตรียมพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าเพื่อก้าวสู่ตลาดโลกและเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยกลยุทธ์การบริหารจัดการดังต่อไปนี้ 1. Accelerate IT : โซลูชั่น ที่จะช่วยงานไอทีของท่านพัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น 2. Transform IT : โซลูชั่น ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น จากการไร้ขีดจำกัดด้านทรัพยากร 3. Secure IT : โซลูชั่น ที่ช่วยสร้างความมั่นใจด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลสำคัญของธุรกิจซึ่งกลยุทธ์ทั้งสามที่กล่าวมานี้ จะถูกถ่ายทอดเป็นรูปธรรมในภาพของเทคโนโลยีที่สอดคล้อง Trend ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี DevOps (Development and Operations), Mobility, Cloud and SaaS, Big Data ทั้งนี้ ซีเอ มีความพร้อมและยินดีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของธุรกิจของลูกค้าในตลาดโลก สามารถสอบถามข้อมูลโซลูชั่นเพิ่มเติมได้ที่ บูธ ซีเอ ภายในงาน นายจิรวิทย์ แม้ประสาท, ผู้จัดการฝ่าย ซอฟแวร์ อีโค่ ซิสเต็ม บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทย โดยการเข้าถึงเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ล่าสุด สำหรับงาน Software Park Annual Conference ในปีนี้ บริษัทอินเทลเตรียมจัดแสดงแนวคิดการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อรองรับการทำงานสำหรับอุปกรณ์หลากหลายประเภท (cross platform application development) เช่น สมาร์ทโฟน, แท็ปเล็ต, อัลตร้าบุ๊ก? จากการใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาของอินเทลสำหรับเทคโนโลยี HTML5, ระบบปฎิบัติการ Windows 8 และ Android นอกจากนั้นภายในบูธจัดแสดงของอินเทล ได้จัดทำ software showcase สำหรับแนวทางใหม่ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ในอนาคต เช่นซอฟต์แวร์รองรับการสั่งการด้วยท่าทางภายใต้เทคโนโลยี Perceptual Computing นายประดิษฐ์ ภิญโญภาสกุล, หัวหน้าสายงานพาณิชย์ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์คอมพิวติ้ง มาตรฐานระดับโลกแห่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระหว่างประเทศ ถึง 3 มาตรฐานคือ ISO 20000, ISO 27001 และ BS25999 พร้อมที่จะให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแก่องค์กรทุกขนาดในประเทศไทยให้มีความพร้อมในการเปิดตลาด AEC โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นศูนย์กลางของเนื้อหา และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทรูไอดีซีมีแผนที่จะร่วมกับพันธมิตรระดับสากลในการสร้าง ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานระดับโลก เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ บริษัทข้ามชาติ ซึ่งต้องการดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีมาตรฐาน มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานสัมมนาครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยผลักดันผู้ประกอบการไอทีของไทยประเทศไทยให้เตรียมความพร้อมในก้าวเข้าสู่ตลาดสากล นางสาวศิรินุช ศรารัชต์ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาความสัมพันธ์พันธมิตรและผู้จัดการสำนักนวัตกรรม บริษัท ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว่า ทางไอบีเอ็มมีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างอุตสาหกรรมไอทีให้มีการเติบโตขึ้นไปได้อย่างต่อเนื่อง และมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในการนำเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของบุคคลกรมาสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม ดังนั้นเราจึง จัดตั้งโปรแกรมด้านการศึกษาขึ้น หรือที่เรียกว่า Academic Initiative Program เพื่อพัฒนาการศึกษาและเพิ่มพูนทักษะของเยาวชนไทย โดยนำเสนอ solution และ เทคโนโลยีต่างๆ ของ ไอบีเอ็ม สู่มหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และยังได้ริเริ่มที่จะให้การรับรองและเสริมสร้างทักษะความเชี่ยวชาญให้กับนักศึกษาโดยร่วมมือกับสถานศึกษาชั้นนำเพื่อจัดตั้ง ศูนย์บ่มเพาะความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยี ในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง (Center of Excellent) เพื่อสร้างบุคลากรด้านไอทีที่มีคุณภาพสูง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ไอบีเอ็มได้ร่วมมือกับองค์กรภาคอุตสาหกรรมและได้ประสานงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 20 แห่งในประเทศไทยเพื่อจัดการฝึกอบรมทางด้านไอทีให้แก่นักศึกษาภายใต้โครงการ IBM Academic Initiative ส่งเสริมหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์การบริการ (Service Science, Management and Engineering - SSME) เพื่อสร้างบุคลากรในอุตสาหกรรมไอที ที่มีทักษะทั้งทางด้านเทคนิคที่แข็งแกร่งและยังมีความรู้ความเข้าใจทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมควบคู่กันไป รวมทั้ง ทางไอบีเอ็มยังมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างทรัพยากรทางด้าน IT เพื่อให้ทัดเทียมกับมาตรฐานนานาชาติด้วยการจัดให้มีการสอบ Certification สำหรับมืออาชีพอีกด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งกลุ่ม ISV และ Business Partner สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ขึ้นเพื่อพัฒนาและนำเทคโนโลยีของไอบีเอ็มไปใช้อย่างต่อเนื่อง และเพื่อขยาดตลาดไปสู่นานาชาติ และได้จัดให้มีโครงการ IBM Partner World เพื่อช่วยสนับสนุนกลุ่ม ISV เหล่านี้ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งๆขึ้นอีกด้วย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ