กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์จัดตั้งพันธมิตรนานาชาติยุติการค้าสุนัขในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์

ข่าวทั่วไป Friday August 9, 2013 11:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ส.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ กลุ่มสวัสดิภาพสัตว์จัดตั้งพันธมิตรนานาชาติยุติการค้าสุนัขในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์การค้าซึ่งกระตุ้นความเสี่ยงต่อสุขภาพทั่วภูมิภาคเอเชียควรออกกฎหมายบังคับใช้ในวงกว้าง องค์กรพิทักษ์สัตว์ได้ก่อตั้งกลุ่มพันธมิตรพิทักษ์สุนัขเอเชีย (Asia Canine Protection Alliance - ACPA) เพื่อยุติการค้าสุนัขอย่างโหดร้ายทารุณ ซึ่งมีสุนัขที่ต้องถูกสังเวยเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านตัวต่อปี อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเสี่ยงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งนี้กลุ่มพันธมิตรฯมุ่งเน้นไปที่ประเด็นการค้าสุนัขระดับโลก ที่มีการลักลอบขนส่งข้ามแดนจากประเทศไทย กัมพูชา และลาวไปยังประเทศเวียดนามเพื่อการบริโภคเนื้อสุนัข กลุ่มพันธมิตรฯ ประกอบด้วย มูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ สมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ มูลนิธิเพื่อสัตว์ประจำภูมิภาคเอเชีย มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ร่วมผนึกกำลังปฏิบัติการครอบคลุมทั้งในระดับภูมิภาคเอเชียและในระดับนานาชาติ การผลิตเนื้อสุนัขเริ่มมาจากการค้าขนาดเล็กในระดับครัวเรือน สู่การเป็นอุตสาหกรรมค้าสุนัขผิดกฎหมายที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์สหรัฐในปัจจุบัน และยังมีความเกี่ยวพันถึงการติดต่อแพร่กระจายของโรคพยาธิทริคิโนซิส อหิวาตกโรค รวมถึงโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกเผยถึงการค้าสุนัขเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงอหิวาตกโรคในประเทศเวียดนาม การค้าสุนัขเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของทางการไทยก็มีการเข้มงวดตรวจตรามากขึ้น อีกทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ จะร่วมทำงานกับรัฐบาลไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในการปรับปรุงพัฒนาบทบัญญัติทางกฎหมายในแต่ละประเทศ เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้การประชุมที่กำลังจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ จะมีสมาชิกจากกลุ่มพันธมิตรฯเข้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ของทางการและองค์กรอื่นๆ ร่วมปรึกษาหารือถึงแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าว มส.โลล่า เว็บเบอร์ ประธานโครงการของมูลนิธิการเปลี่ยนแปลงเพื่อสัตว์ กล่าวว่า “เมื่อก่อนการบริโภคสุนัขมีสาเหตุอันเนื่องมาจากความยากจน แต่ปัจจุบันสุนัขได้กลายมาเป็นอาหารจานเด็ดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บ่อยครั้งที่มีการบริโภคด้วยความเชื่อกันว่ามีสรรพคุณทางยา อย่างไรก็ตามการค้าสุนัขเพื่อการบริโภคก็เป็นความจริงที่เกิดขึ้นแล้วในภูมิภาคเอเชีย ทั้งยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและไม่มีการควบคุม ซึ่งเป็นบ่อเกิดความเสี่ยงที่สำคัญต่อสุขภาพร่างกายและสวัสดิภาพสัตว์” มส.เคลลี่ โอ เมียร่า ผู้อำนวยการฝ่ายสัตว์เลี้ยงและการถือครองแห่งสมาคมมนุษยธรรมนานาชาติ กล่าวว่า “การสืบสวนสอบสวนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย มีหลักฐานที่ยืนยันได้ถึงความโหดร้ายในทุกขั้นตอนของการค้าสุนัข เริ่มตั้งแต่การต้อนจับ การขนส่ง การขาย และการฆ่าอย่างทรมาน บ่อยครั้งที่มีการเข้าใจผิดว่าการค้าสุนัขนั้นเป็นวิธีที่จะสามารถควบคุมปริมาณของสุนัขจรจัด กลุ่มพันธมิตรใหม่นี้จะช่วยสร้างความเข้าใจให้กับคนทั่วไปและรัฐบาล ถึงการค้าและการทำงานที่อันตรายในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าและโรคติดต่อชนิดอื่นๆที่สามารถถ่ายทอดมาสู่มนุษย์ได้” การค้าสุนัขที่เกิดขึ้นในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย เนื่องมาจากการที่หลายประเทศนั้นกำลังล้มเหลวจากการโอนอ่อนกับมาตรการป้องกันโรคจากสัตว์ระดับชาติ และไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับการควบคุมและการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้า จากองค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น องค์การอนามัยโลก และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ มร.ต๋วน เบนดิกเซน ผู้อำนวยการมูลนิธิสัตว์แห่งเอเชียประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่า “การค้าสุนัขเพื่อการบริโภคสามารถกระตุ้นธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและการขนส่งสุนัขที่มีการติดเชื้อและการฉีดวัคซีนที่ผิดกฏหมาย และขัดขวางความพยายามที่จะกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปในภูมิภาค ซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญในการทำปฏิญญาซึ่ง ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแห่งภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ในการกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดสิ้นในปี พ.ศ. 2563 ความพยายามในการควบคุมและกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าจะสำเร็จได้ หากปราศจากการค้าสุนัขเพื่อการบริโภคของมนุษย์” มร.จอห์น แดลลีย์ รองประธานมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย กล่าวว่า “มันเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องหยุดยั้งทั้งอุปทานและอุปสงค์ในการบริโภคเนื้อสุนัข ดังนั้นเพื่อที่จะหยุดกระบวนการดังกล่าวต้องมีการจับกุมผู้ลักลอบค้าสุนัขให้ได้ การแก้ไขปัญหาการจัดการประชากรสุนัขอย่างมีมนุษยธรรมและยั่งยืน พร้อมกับการส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับบทลงโทษและความรับผิดชอบต่อเจ้าของสัตว์เลี้ยงในปัจจุบัน เราสามารถจะยุติการค้าสุนัขอันเป็นสาเหตุของความทรมานของสุนัขที่ต้องสังเวยชีวิตกว่าหลายล้านตัวในแต่ละปี อีกทั้งยังเป็นพาหะนำโรคติดต่อที่อันตรายมาสู่มนุษย์อีกด้วย”
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ