สคร.7 เตือนประชาชนระวังการระบาดของโรคหัด หลังพบผู้ป่วยแล้ว 87 ราย

ข่าวทั่วไป Friday August 23, 2013 11:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี นายแพทย์ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี เผยว่า ในช่วงฤดูฝนไปจนถึงปลายฤดูหนาว ช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี เป็นช่วงเวลาเสี่ยงที่โรคหัดหรือที่เรียกว่าไข้ออกผื่น มักเกิดการระบาด หากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานจะเป็นได้ทุกอายุ แต่พบบ่อยในเด็กเล็กอายุ 1-6 ปี มักไม?พบในเด็กเล็กกว่า 8 เดือนเพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันจากแม่ โรคหัดส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำลงทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เด็กเล็กควรไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คือฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 9-12 เดือน และกระตุ้นเมื่อเริ่มชั้นประถม 1 หรืออายุ 6 ขวบ จากรายงานสถานการณ์โรคหัด กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 21 สิงหาคม 2556 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคหัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ 7 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 87 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.37 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 0 - 4 ปี จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือจังหวัด นครพนม รองลงมาคือจังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดยโสธร จังหวัดสกลนคร และจังหวัดมุกดาหารยังไม่พบรายงานผู้ป่วย นายแพทย์ศรายุธ กล่าวว่า อาการของโรคหัดจะคล้ายกับอาการของไข้หวัดธรรมดา คือ มีไข้ก่อนน้ำมูกไหล มักจะไอแห้งๆ ตลอดเวลา ไม?มีทางทราบเลยว่?า เด็กเป็นหัดแล้ว จนเมื่ออาการเพิ่มขึ้น มีไข้สูง ตาแดงแฉะ กลัวแสง เวลาโดนจะแสบระคายเคืองตา ไอและมีน้ำมูกมาก ปากและจมูกแดง เด็กอาจจะมีไข้สูงประมาณ 3 — 4 วัน จึงเริ่มมีผื่นขึ้นคล้ายผื่นแพ้ยาลุกลามจากหลังหูไปยังหน้าบริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา ถ้าสังเกตจะ พบก?อนวันที่เด็กจะมีผื่นออกตามลําตัวจะมีตุ่มเล็กๆในปากตรงกระพุ้งแก้มตรงฟันกรามบน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคหัดเท?านั้น ผื่นจะมีขนาดโตขึ้นและสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสีแดงคล้ำ หรือน้ำตาลแดง ซึ่งคงอยู่นาน 5-6 วัน กว่าจะจางหายไปหมดจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ บางครั้งจะพบผิวหนังลอกเป็นขุย นายแพทย์ศรายุธ แนะนำว่าสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเด็กทุกคนคือ ควรไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คือฉีดวัคซีนในเด็กอายุ 9-12 เดือน และกระตุ้นเมื่อเริ่มชั้นประถม 1 หรืออายุ 6 ขวบ สำหรับเด็กที่เป็นโรคหัด คือ อาการแทรกซ้อนมากมายที่อาจเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้บ่อยเพราะไวรัสหัดทำ ให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายของผู้ป่วยต่ำลง จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงตามมา เช่น ปอดบวม อุจจาระร่วง วัณโรคกำเริบ สมองและหูชั้นกลางอักเสบ บางคนตับอักเสบ โดยเฉพาะผู้เสี่ยงสูงคือเด็กเล็กและผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ส่วนการดูแลรักษาโรคหัดควรไปตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน เพื่อรักษาตามอาการ นอนพัก ดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ