เดนนิส บอล์ค: หน้าตาที่ถูกทำลายของผลไม้ กับ อินเดียแดง

ข่าวทั่วไป Friday August 30, 2013 17:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 ส.ค.--โทเทิ่ล ควอลิตี้ พีอาร์ 338 โอไอด้า แกลเลอรี่กำลังจะมีงานนิทรรศการ “หน้าตาที่ถูกทำลายของผลไม้ กับ อินเดียแดง” (Defaced Fruit with American Indians) โดยศิลปินชาวอเมริกันเดนนิส บอล์ค นิทรรศการจะถูกจัดขึ้นที่แกลเลอรี่ พระราม 4 ตั้งแต่วันที่ 6 จนถึงวันที่ 31ตุลาคม บอล์ค กล่าว “ นิทรรศการนี้เกิดขึ้นในบรรยากาศที่ติดขัดระหว่างการประกาศแผนการณ์ต่อต้าน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จุดมุ่งหมายดั้งเดิมถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างกระอักกระอ่วนสภาวะหลังอาหรับสปริง (Post-Arab/Post Spring) เกี่ยวเนื่องกับ neo-retro Occupy Movementsในขณะนั้นภายในระบบของแกลเลอรี่เองก็เห็นว่าพาราฟิคชัน (para-fictions) ภาวะไฮเปอร์ของสุนทรียศาสตร์เกี่ยวเนื่อง (Hyperrelational Aesthetics) นั้นสะท้อนเข้ากับการพังทลายของเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่กำลังขับเคลื่อนให้เกิดการไม่ยอมรับของพลเมือง ซึ่งถือว่าเป็นความล้มเหลวที่จำเป็นเพื่อให้เราสามารถเดินหน้าเข้าสู่โลกที่มีทัศนติที่ถูกต้องและมีความสามารถปรับประเมินเป้าหมายอย่างตรงประเด็น” เดนนิส บอล์ค เป็นอาจารย์ ศิลปิน นักเขียนบทความ และนักเขียนบทละคร เริ่มบทบาทตั้งแต่ช่วงปลายปี 1980 เขาเป็นหัวหน้าสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และมัลติมีเดียของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ บอล์คเคยบรรยายและสอนในประเทศริมอ่าวอาระเบีย Universit? IUAV di Veneziaมหาวิทยาลัยเยล และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส บอล์ค ยังกล่าวต่ออีกว่า “ณ 338 โอไอดาแกลเลอรี่ ผมพยายามสร้างสถานการณ์เพื่อรวบรวมส่วนประกอบเล็กๆน้อยๆจากช่วงเวลาร่วมของพวกเราเข้าด้วยกัน เพื่อตัดทอน ทำลายภาพลักษณ์ของสถานภาพตามกระแสปัจจุบัน หรือสุนทรียภาพของความเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ขบวนการตัดทอนเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของกิจกรรมของกลุ่มอาว็อง-การ์ด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ผมสนใจในวิถีที่เราทุกคนคงบทบาทของทั้งการเป็นผู้ดำเนินเรื่องราวและผู้ต่อต้านภายใต้การแผ่เงาของศตวรรษที่ยี่สิบตอนต้น ในขณะที่ความรู้สึกต่อต้านเผด็จการยังคงเป็นแรงที่ขับเคลื่อนกระแสท้องถิ่นของเรา สภาพการณ์นี้ตั้งค้านอยู่บนฉากที่กำลังเปลี่ยนแปลง เป็นภาพของการโอนถ่ายรูปสัญลักษณ์ซึ่งเป็นผลจากอุดมการณ์ประชาธิปไตยตะวันตก ผมสงสัยว่าความสามารถในการเข้าถึงความจริงนั้นถูกเพิ่มพูนขึ้นหรือลดทอนลงเมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ท่วมท้นและถูกกระตุ้นจนเกินพิกัดเช่นนี้” เรามีความคาดหวังต่องานศิลปะ เพราะศิลปะเคยเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จอันสูงส่งและความผิดพลาดในการเป็นมนุษย์คำถามที่มีอยู่คือ ศิลปะยังสามารถที่จะช่วยให้เราทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบันได้อยู่หรือไม่ บอล์คได้มีการแสดงนิทรรศการอย่างกว้างขวาง รวมถึงนิทรรศการสำรวจของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน มิลวอกี (2009) สิ่งพิมพ์: particles + waves with plausibility (2006), Colin de Land, American Fine Arts (2008) and Dennis Balk/1890-2090 (2010) และในครั้งนี้ เป็นนิทรรศการการแสดงเดี่ยวครั้งที่สามในกรุงเทพของ “บอล์ค” เชิญเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่ วันที่ 6 กันยายน —31 ตุลาคม 2556

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ