SET9: ตลาดหลักทรัพย์แถลงมติคณะกรรมการฯ

ข่าวทั่วไป Friday December 27, 1996 11:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--27 ธ.ค.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ แถลงถึงผล
การประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม
2539 โดยที่ประชุมได้มีมติให้รับหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้
1. หุ้นสามัญของบริษัทแอล พี เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน) จำนวน
292.9 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 78.5 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท รวม 3,714 ล้านบาท โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการรับ
หลักทรัพย์ ดังนี้
- กำหนดจำนวนการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่
จำนวนรวมกันเท่ากับร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว (3,714
ล้านบาท) จนกว่าบริษัทจะมีการลงทุนครบ ตามต้นทุนโครงการ
และมีรายได้เชิงพาณิชย์จากการประกอบธุรกิจหลักครบ 1 ปี
- เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
+ กำหนดให้ผู้ถือหุ้นและผู้บริหารหลักของบริษัท ได้แก่
นายบรรเจิด ปรีดาวิภาต และ นายพิพัฒน์ ปรีดาวิภาต
รับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าจะไม่ประกอบ
ธุรกิจผลิต นำเข้า และจำหน่ายเหล็กแผ่นรีดร้อนและ
รีดเย็นที่เป็นการแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทอีกภายใต้
การดำเนินงานของบริษัทอื่น นอกจากบริษัท แอล พี
เอ็น เพลทมิล จำกัด (มหาชน) เท่านั้น
+ กำหนดให้บริษัทรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ว่ารายการธุรกรรมระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง
หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการ หรือผู้บริหาร
ของบริษัท จะเป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งสามารถ
เปรียบเทียบได้กับรายการที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกและ
ไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียผลประโยชน์ โดยให้กรรมการ
อิสระของบริษัทเป็นผู้ดูแลรายการดังกล่าว พร้อมทั้ง
ให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรายการดังกล่าวและรายงานใน
งบการเงินประจำปี
- กำหนดให้บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและของ
โครงการ และเปิดเผยเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบอย่างชัดเจน โดย
ให้นำเสนอแยกเป็นส่วนพิเศษเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนของบริษัท
ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
+ ความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและ
อัตราแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งให้จัดทำ Sensitivity
Analysis สำหรับกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเปลี่ยนแปลง
ลดลงจากข้อสมมติฐานในประมาณการ
+ ความเสี่ยงเกี่ยวกับความล่าช้าของโครงการ
- กำหนดให้บริษัทและที่ปรึกษาทางการเงินปรับปรุงรายงานการศึกษา
ความเป็นไปได้ของโครงการ พร้อมทั้งคำนวณอัตราผลตอบแทน
ของโครงการ โดยให้สะท้อนถึงเหตุการณ์และผลการดำเนินงาน
ล่าสุดที่เกิดขึ้นจริง เพื่อเปิดเผยให้ผู้ลงทุนได้ทราบในหนังสือชี้ชวน
-กำหนดให้บริษัทรายงานความคืบหน้าของโครงการ และการใช้
เงินลงทุนทุกไตรมาสภายใน 45 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาส พร้อม
กับการนำส่งงบการเงินรายไตรมาสของบริษัทจนกว่าโครงการจะ
สามารถเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์
-กำหนดให้บริษัทจะต้องได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (EIA Report) ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
หากในช่วงที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชน บริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติ
EIA Report ให้บริษัทเปิดเผยในใบจองซื้อหุ้นว่า "ขณะนี้บริษัท
ยังไม่ได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA Report) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นเงื่อนไขว่า
ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียนเมื่อบริษัทได้รับอนุมัติ EIA Report แล้ว และบริษัท
ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ซึ่งระบุ ไว้ในหนังสือ
ชี้ชวน (ระบุหน้า)"
- ให้บริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน
3 เดือน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งผลการพิจารณาให้บริษัท
ทราบ ทั้งนี้หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ใดที่เป็นผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาลักษณะ
ของหลักทรัพย์และคุณสมบัติของบริษัทในการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งบริษัทที่ยื่นคำขอใหม่
- ให้บริษัทดำเนินการแก้ไขความในข้อบังคับของบริษัทข้อ 6 เรื่อง
ข้อจำกัดการโอนหุ้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับ
แนวทางปฏิบัติของนายทะเบียนหุ้น โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์
2. หุ้นสามัญของบริษัท ไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน)
จำนวน 450 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 80 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท รวม 5,300 ล้านบาท โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการรับ
หลักทรัพย์ ดังนี้
- กำหนดจำนวนการห้ามขายหุ้นของนายประยุทธ มหากิจศิริ ทั้งจำนวน
และของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เป็นจำนวนรวมกันเท่ากับ
ร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว (5,300 ล้านบาท) เป็นระยะ
เวลาจนกว่าบริษัทจะมีการลงทุนครบตามต้นทุนโครงการ และมี
รายได้เชิงพาณิชย์จากการประกอบธุรกิจหลักครบ 3 ปี
- กำหนดให้นายประยุทธ มหากิจศิริ ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้
จัดการในบริษัทไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด (มหาชน) เพียง
แห่งเดียว ตลอดระยะเวลาที่บริษัทไทยคอปเปอร์ อินดัสตรี่ จำกัด
(มหาชน) เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
-กำหนดให้บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและของ
โครงการ และเปิดเผยเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบอย่างชัดเจน โดย
นำเสนอแยกเป็นส่วนพิเศษเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนของบริษัทใน
ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
+ความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและ
อัตราแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งให้จัดทำ Sensitivity
Analysis สำหรับกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเปลี่ยนแปลง
ลดลงจากข้อสมมติฐานในประมาณการ
+ ความเสี่ยงเกี่ยวกับความล่าช้าของโครงการ
-กำหนดให้บริษัทรายงานความคืบหน้าของโครงการ และการใช้
เงินลงทุนไตรมาสภายใน 45 วันนับจากวันสิ้นไตรมาส พร้อม
กับการนำส่งงบการเงินรายไตรมาสของบริษัทจนกว่าโครงการจะ
สามารถเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์
-กำหนดให้บริษัทจะต้องได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (EIA Report) ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
หากในช่วงที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชน บริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติ
EIA Report ให้บริษัทเปิดเผยในใบจองซื้อหุ้นว่า "ขณะนี้
บริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA Report) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นเงื่อนไขว่า
ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียนเมื่อบริษัทได้รับอนุมัติ EIA Report แล้ว และบริษัทได้
ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ซึ่งระบุไว้ในหนังสือ
ชี้ชวน (ระบุหน้า)"
- ให้บริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน
3 เดือน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งผลการพิจารณาให้บริษัท
ทราบ ทั้งนี้หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ใดที่เป็นผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาลักษณะ
ของหลักทรัพย์และคุณสมบัติของบริษัทในการเข้าจดทะเบียนใน
ตลาดหลักทรัพย์เสมือนหนึ่งบริษัทที่ยื่นคำขอใหม่
3. หุ้นสามัญของบริษัทอุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย จำกัด (มหาชน)
จำนวน 422 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 218 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท รวม 6,400 ล้านบาท โดยคณะกรรมการฯ ได้กำหนดเงื่อนไขการรับ
หลักทรัพย์ดังนี้
- กำหนดจำนวนการห้ามขายหุ้นของผู้บริหารและผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็น
จำนวนรวมกันเท่ากับร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้ว (6,400
ล้านบาท) จนกว่าบริษัทจะมีการลงทุนครบตามต้นทุนโครงการและ
มีรายได้เชิงพาณิชย์จากโครงการถลุงเหล็กและหลอมเหล็กกล้า
ครบ 1 ปี
-เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
เห็นควรกำหนดให้บริษัทรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ว่ารายการธุรกรรมระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือผู้ถือหุ้น
รายใหญ่ หรือกรรมการ หรือผู้บริหารของบริษัท จะเป็นไปตาม
ราคาตลาด ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับรายการที่เกิดขึ้นกับ
บุคคลภายนอกและไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสียผลประโยชน์ โดย
ให้กรรมการอิสระของบริษัทเป็นผู้ดูแลรายการดังกล่าว พร้อมทั้ง
ให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบรายการดังกล่าวและรายงานในงบการเงิน
ประจำปี
-กำหนดให้บริษัทวิเคราะห์ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมและของ
โครงการ และเปิดเผยเพื่อให้ผู้ลงทุนได้ทราบอย่างชัดเจน โดย
ให้นำเสนอแยกเป็นส่วนพิเศษเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนของบริษัทใน
ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
+ความเสี่ยงด้านความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยและ
อัตราแลกเปลี่ยนพร้อมทั้งให้จัดทำ Sensitivity
Analysis สำหรับกรณีที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น และ
อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเปลี่ยนแปลง
ลดลงจากข้อสมมติฐานในประมาณการ
+ความเสี่ยงเกี่ยวกับความไม่แน่นอนของท่าเรือที่ใช้ใน
การขนถ่ายวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าของบริษัท
- ให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนให้ชัดเจนในหนังสือชี้ชวนใน
ประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
+ รายการชำระค่าที่ดินที่มีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้อง
กับความเป็นจริง พร้อมทั้งให้จัดทำ Sensitivity
Analysis ที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่ดินที่เปลี่ยนแปลง
ไป
+ความคืบหน้าเกี่ยวกับการกู้เงินจาก KfW ว่าได้ดำเนิน
การถึงขั้นใด และมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
-กำหนดให้บริษัทรายงานความคืบหน้าของโครงการ และการใช้
เงินลงทุนทุกไตรมาสภายใน 45 วัน นับจากวันสิ้นไตรมาส พร้อม
กับการนำส่งงบการเงินรายไตรมาสของบริษัทจนกว่าโครงการ
ถลุงเหล็กและหลอมเหล็กกล้าจะสามารถเริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์
-กำหนดให้บริษัทจะต้องได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ
สิ่งแวดล้อม (EIA Report) ก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับ
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนและเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
หากในช่วงที่เสนอขายหุ้นต่อประชาชน บริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติ
EIA Report ให้บริษัทเปิดเผยในใบจองซื้อหุ้นว่า "ขณะนี้
บริษัทยังไม่ได้รับอนุมัติรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA Report) ซึ่งตลาดหลักทรัพย์กำหนดเป็นเงื่อนไขว่า
ตลาดหลักทรัพย์จะอนุมัติรับหลักทรัพย์ของบริษัทเป็นหลักทรัพย์จด
ทะเบียนเมื่อบริษัทได้รับอนุมัติ EIA Report แล้ว และบริษัทได้
ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ซึ่งระบุไว้ในหนังสือ
ชี้ชวน (ระบุหน้า)"
- ให้บริษัทดำเนินการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนให้แล้วเสร็จภายใน
3 เดือน นับแต่วันที่ตลาดหลักทรัพย์แจ้งผลการพิจารณาให้บริษัท
ทราบ ทั้งนี้หากในช่วงเวลาดังกล่าวมีเหตุการณ์ใดที่เป็นผลกระทบ
อย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนผลการดำเนินงาน
และฐานะการเงินของบริษัท ตลาดหลักทรัพย์จะพิจารณาลักษณะ
ของหลักทรัพย์และคุณสมบัติของบริษัทในการเข้าจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์เสมือนหนึ่งบริษัทที่ยื่นคำขอใหม่
--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ