NSRC: ศซ.จัดประชุมร่วมนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก

ข่าวทั่วไป Wednesday February 19, 1997 16:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--19 ก.พ.--ศซ.
ศ.ดร.วิรุฬห์ สายคณิต ประธานกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และคณิตศาสตร์ของสภาวิจัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่อง กำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (ศซ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการศูนย์ ปฎิบัติการวิจัยฯ ว่า หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นโดยบริษัท ซอร์เทค (SORTEC) ได้ มอบเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนให้แก่รัฐบาลไทย เพื่อเป็นการถ่ายทอด เทคโนโลยี และเครื่องดังกล่าว บัดนี้ได้มาถึงประเทศไทยแล้ว โดยตั้งอยู่ที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้การดำเนินงานของ ศูนย์ปฎิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน เป็นหน่วยงานของกระทรวง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยใช้เวลาในการติดตั้ง 2 ปี งบ ประมาณ 350 ล้านบาท
ศูนย์ปฎิบัติการวิจัยฯ ต้องใช้บุคลากรและนักวิทยาศาสตร์ที่มีความ พร้อม และประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือจำนวนมาก เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุด ในการพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูงทัดเทียมกับประเทศก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ศูนย์ฯ จึงได้จัดให้มีการประชุม REGIONAL SCHOOL ON THE APPLICATIONS OF SYNCHROTRON RADIATION ขึ้นใน ระหว่างวันที่ 24 กุมภาพันธ์ - 22 มีนาคม 2540 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัด นครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. พัฒนาโครงการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในระยะยาว เพื่อ เป็นการสนับสนุนการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรุ่นใหม่ต่อไปในอนาคต
2. เพื่อศึกษาการทำงานขั้นพื้นฐานและขั้นตอนการใช้งานของเครื่อง กำเนิดแสงซินโครตรอน
3. เพื่อช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในประเทศ
4. ส่งเสริมโครงการวิจัยร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อ การใช้ประโยชน์สูงสุดของเครื่องมือเครื่องใช้ทางการวิจัย ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ ชั้นนำของโลก อาทิ ศ.ดร.เฮอร์แมน วินิค จากสหรัฐอเมริกา, ศ.ดร.ทาเคฮิโกะ อิชิอิ จากญี่ปุ่น เป็นผู้บรรยายพิเศษให้กับนักวิทยาศาสตร์ และนักวิชาการของไทย เข้าร่วมประชุม โดยมีเนื้อหาในการประชุมคือ
1. การทำงานของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน
2. ประโยชน์ในการใช้งานของเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน
3. การใช้งานทางด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
4. การใช้งานทางด้านการแพทย์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ
ในอนาคตเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน จะมี 16 บีมไลน์ (BEAM LINE) สามารถใช้แสงที่ออกมาจากเครื่องนี้ส่องดูโครงสร้างของสสารต่าง ๆ เช่น อะตอม โมเลกุล หรือเชื้อไวรัส HIV ซึ่งการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถพัฒนา ยารักษาโรคเอดส์ได้ รวมถึงการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อัญมณี ปิโตร เคมี ซึ่งเครื่องดังกล่าว เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จประมาณปี 2542 แล้ว จะสามารถเปิด ให้บริการกับหน่วนงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ทางการวิจัยได้
เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนจัดสร้างขึ้นด้วยงบประมาณ 5.5 พันล้าน บาท ซึ่งประเทศไทยจะเป็นประเทศเดียวที่มีเครื่องนี้ในภูมิภาคเอเซียตะวันออก เฉียงใต้--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ