กองทุนใหม่เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับชุมชนผู้มีรายได้น้อย ใน 25 เมืองในทวีปเอเชีย

ข่าวทั่วไป Monday December 2, 2013 15:57 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--APCO Worldwide - การระดมทุนจัดขึ้นเพื่อการประเมินและวางแผนความเสี่ยง สร้างโครงการกองทุนฟื้นฟู และสนับสนุนการแบ่งปันความรู้ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ - ภายในปี 2561 กองทุนจะสามารถสนับสนุนการสร้างการฟื้นฟูเมือง เพื่อสามารถปรับตัวรับมือกับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในเมืองขนาดกลาง 25 เมืองในทวีปเอเชียเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศต่อชุมชนผู้มีรายได้น้อย - กองทุนจัดตั้งขึ้นโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย กระทรวงเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ นอกจากนี้องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ยังสนใจที่จะสนับสนุนกองทุนนี้อีกด้วย ผู้นำจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ กระทรวงเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (DFID) และธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้ประกาศการจัดตั้งกองทุนใหม่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาการรับมือจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในเมือง 25 เมืองในทวีปเอเชียพันธมิตรเพื่อพัฒนาการรับมือเมืองจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ (UCCRP) จะใช้เพื่อการวางแผน ตลอดจนการแบ่งปันความรู้และโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือเมืองในประเทศบังคลาเทศ, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ปากีสถาน, ฟิลิปปินส์, และเวียดนามในการบรรเทาความเสี่ยงจากการขยายตัวของเมืองที่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อประชากรในประเทศดังกล่าว โดยเฉพาะในเขตชุมชนคนยากจน ?จำนวนประชากรในเขตชุมชนเมืองทั่วโลกเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากเมืองต่างๆ กลายเป็นศูนย์กลางกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตามเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากบางเมืองตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเสี่ยงต่อภัยพิบัติและมีการคาดการณ์กันว่าผู้อาศัยในเมืองกว่า 900 ล้านคนในประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางจะต้องประสบกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศภายใน 5-10 ปีข้างหน้า? คุณแอชวิน ดายัล ผู้ช่วยรองประธานและผู้จัดการมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์แห่งภูมิภาคเอเชียกล่าว ?กองทุนนี้ออกแบบเพื่อสรรหาเงินทุน รวมทั้งเงินลงทุนจำนวน 1,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ของรัฐบาลและเอกชนเพื่อพัฒนาการรับมือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศในเอเชีย? การวางแผนและโครงการต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย UCCRP จะมุ่งเน้นการลงทุนทางกายภาพต่างๆ ได้แก่ การระบายน้ำ การป้องกันเคหสถานและอุทกภัย และระบบบำบัดน้ำเสีย ควบคู่ไปกับการการพัฒนาทางระบบ อาทิเช่น พัฒนาการเฝ้าระวังและระบบเตือนภัยล่วงหน้า ปรับปรุงประมวลกฎหมายควบคุมอาคารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ปฏิรูปข้อบังคับ และการวางแผนการใช้ที่ดินและน้ำเพื่อการฟื้นฟู วิธีนี้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาการฟื้นฟูอย่างเป็นระบบและครอบคลุมสำหรับเขตชุมชนเมืองทั้งหลาย การวางแผนและโครงการต่างๆ ของ UCCRP จะให้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มชุมชนที่มีฐานะยากจนและผู้ด้อยโอกาส ความสามารถของโครงการในการพัฒนาการรับมือสำหรับประชากรผู้ด้อยโอกาสเป็นเกณฑ์สำคัญในการเลือกเมือง โครงการ และองค์กรพันธมิตรต่างๆ ที่จะเข้าร่วมโครงการ ADB จะสั่งสมประสบการณ์ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชุมชนเมืองเพื่อจัดการองค์ประกอบของโครงการ ในขณะที่มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์และ DFID จะสนับสนุนเงินทุนเริ่มต้น เป็นเงินทั้งสิ้น 140 ล้านดอลล่าร์ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ ยังให้ความสนใจในการสนับสนุน UCCRP อีกด้วย องค์กรที่สนใจร่วมสบทบทุน ได้รับเชิญให้วางแนวทางการลงทุนเพื่อการพัฒนาต่างๆ ตามขอบเขตการทำงานของ UCCRP ?เมืองต่างๆ ของภูมิภาคกำลังประสบกับการขยายตัวของจำนวนประชากรอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และประชากรผู้มีฐานะยากจนในประเทศเหล่านั้นกำลังเผชิญหน้ากับอุทกภัยขั้นรุนแรง ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และเหตุการณ์อื่นๆ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ? คุณ กิล-ฮง คิม ผู้จัดการแผนกโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนในกรมการพัฒนาภูมิภาคของ ADB กล่าว ?พันธมิตรนี้ ได้รวบรวมมูลนิธิเอกชน, องค์กรทวิภาคีต่างๆ และ ADB ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาแบบพหุภาคี เพื่อยกระดับและพัฒนาการแก้ปัญหาเพื่อป้องกันชุมชนเมืองที่มีรายได้น้อยในโลกหลายแห่ง? นอกจากนี้ โครงการยังได้สรรหาความร่วมมือในการสร้างและวางแผนชุมชนเมือง ซึ่งหน้าที่ในการประสานงานต่างๆ ในเมืองแต่ละเมืองที่เข้าร่วมโครงการนั้น จะเกิดจากการร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยมีชุมชนเป็นผู้นำ และริเริ่มโครงสร้างพื้นฐานของโครงการนั้นๆ อีกทั้งชักชวนให้รัฐบาลและพันธมิตรทางการเงินร่วมกันฟื้นฟูเมืองจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเพื่อการลงทุนในชุมชนเมืองในอนาคต ?มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนใหม่ที่นำสมัย? ดร. จูดิท โรดิน ประธานมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์กล่าวในการแถลง ?จากประสบการณ์ของเราเที่เกี่ยวข้อง เช่น โครงการเครือข่ายเมืองในเอเชียเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและฟื้นฟู 100 เมือง เราเริ่มเห็นผลเชิงบวกมากมายจากการวางแผนฟื้นฟูที่คอบคลุมและแม่นยำ เช่นเดียวกับความต้องการโครงการดังกล่าวจากเมืองต่างๆ ที่ล้นหลาม UCCRP เป็นตัวอย่างของความพยายามที่เห็นได้ชัดที่ตอบสนองความต้องการนี้ รวบรวมหน่วยงานรัฐท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้บริจาค และองค์กรธุรกิจเอกชนต่างๆ ให้เผชิญหน้ากับการคุกคามที่เมืองต่างๆ กำลังประสบอยู่? เกี่ยวกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์: มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์มีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและส่งเสริมคนยากจน ผู้ที่ด้อยโอกาสหรือยากไร้ ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แนวทางการทำงานของเรามุ่งไปที่การพัฒนาให้มีความเท่าเทียมกัน นอกจากนี้มูลนิธิฯมีความตั้งใจที่จะสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม เพื่อเพิมศักยาภาพในการเผชิญหน้ากับภัยอันตรายทางธรรมชาติและวิกฤตการณ์อื่นๆ ตั้งแต่ก่อตั้งมาจวบจนถึงวันนี้ มูลนิธิฯได้สนับสนุนความคิดที่เป็นต้นแบบ โดยการช่วยเหลือทางด้านการเงิน การประสานงาน การเชื่อมต่อเครือข่ายและเทคโนโลยี เพื่อให้ได้มาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ด้านนวัตกรรมหรือแนวความคิดให้มีผลในทางปฏิบัติต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ในยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งมีลักษณะของความเปี่ยนแปลงและความเชื่อมต่ออย่างไร้พรมแดน มูลนิธิฯมีศักยภาพอันเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถโต้ตอบความท้าทายของสังคมที่กำลังเผชิญอยู่ ด้วยประสบการณ์นานนับศตวรรษ มูลนิธิฯได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์นวัตกรรม การปฏิบัติงานในเชิงรุก และหล่อหลอมวาระการพัฒนารวมถึงกระบวนการตัดสินใจของโลก สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ ได้ที่ www.rockefellerfoundation.org เกี่ยวกับกระทรวงเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักร (DFID): กระทรวงเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหราชอาณาจักรเป็นการทำงานของสหราชอาณาจักรเพื่อยุติความยากจน เรากำลังยุติความต้องการความช่วยเหลือโดยการสร้างงาน พัฒนาศักยภาพเด็กหญิงและสตรี และช่วยชีวิตเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับมวลมนุษยชาติ สามารถชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gov.uk/dfid เกี่ยวกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB): ADB ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงมนิลา อุทิศตนเพื่อลดความยากจนในทวีปเอเชียและแปซิฟิกผ่านการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุม การเติบโตทางสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวกันของภูมิภาค ADB ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 67 ประเทศ (48 ประเทศในภูมิภาค) ในปี พ.ศ. 2555 ADB ให้เงินช่วยเหลือทั้งสิ้น 21,600 ล้านดอลล่าร์ รวมถึงร่วมจัดหาเงินทุน 8,300 ล้านดอลล่าร์

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ