เปิดสายสัมพันธ์ 260 ปี ?ไทย-ศรีลังกา ??พระอุบาลีมหาเถระ? ต้นธารพุทธศาสนา ?สยาม-ลังกาวงศ์?

ข่าวบันเทิง Tuesday December 3, 2013 11:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--ไอแอมพีอาร์ ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะถือกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดีย และถูกเผยแพร่โดยพระเจ้าอโศกมหาราชไปยังดินแดนต่างๆ ทั้ง 9 สาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ประเทศศรีลังกา ที่ในภายหลังได้กลายเป็นฐานที่มั่นสำคัญ เมื่อพระพุทธศาสนาในอินเดียเริ่มเสื่อมลงจากการฟื้นตัวของศาสนาฮินดูนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา และการเข้ามาของศาสนาอิสลาม ที่ทำให้ชาวพุทธต้องถอยร่นลงมายังดินแดนของชาวสิงหล พุทธศาสนาในประเทศศรีลังกามีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ และเป็นต้นธารสำคัญของการเผยแพร่พุทธศาสนาในนิกาย ?ลังกาวงศ์? ไปยังดินแดนต่างๆ รวมไปถึงประเทศไทย ดังหลักฐาน ?ตีนบันได? ที่พบใน ?เมืองศรีมโหสถ? จังหวัดปราจีนบุรี รวมไปถึง ?รอยพระพุทธบาทคู่? ที่วัดสระมรกต ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกับที่ ?เจดีย์วัดอภัยคีรี? เมืองอนุราธปุระ ในประเทศศรีลังกา ที่ชัดเจนที่สุดก็คือการเป็นศูนย์กลางของ ?พุทธศาสนาลังกาวงศ์? นับตั้งแต่ปี พ.ศ.1654 เป็นต้นมา หลังจากที่พระสงฆ์ชาวลังกานาม ?อานันทะ? ได้เดินทางมายัง ?เมืองนครศรีธรรมราช? เพื่อวางรากฐานและแบบแผนพระธรรมวินัย ที่ได้แพร่หลายไปสู่กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และล้านนา ที่เรียกว่า ?ฝ่ายลังกาวงศ์เก่า? ต่อมาในปี พ.ศ.1967 ได้มีการส่งพระสงฆ์จากเชียงใหม่ไปศึกษาพระพุทธศาสนายังประเทศศรีลังกา แล้วนำมากลับมาเผยแพร่ในชื่อว่า ?ฝ่ายลังกาวงศ์ใหม่? ?เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป? เป็นหลักธรรมชาติพุทธศาสนาเองก็ไม่อาจเลี่ยงพ้น แม้จะเคยรุ่งเรืองจนถึงขีดสุดในศรีลังกา แต่ก็ต้องมาโรยราเมื่อก้าวเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 20 โดยในปี พ.ศ. 2200 เมื่ออิทธิพลจากประเทศในทวีปยุโรปเริ่มแผ่อำนาจเข้ามา ทำให้แทบไม่มีพระภิกษุสงฆ์เหลืออยู่ในศรีลังกาเลย แม้ว่าจะมีความพยายามที่จะหาคณะสงฆ์จากเมืองต่างๆ มาทำพิธีอุปสมบทให้กับชาวสิงหลแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งในขณะนั้นเองพระพุทธศาสนาในกรุงศรีอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองและมีชื่อเสียงถึงความมั่นคง ทางลังกาจึงมีความพยายามที่จะส่งราชทูตมายังดินแดน ?สยาม? หลายครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จคณะเดินทางต้องล้มตายระหว่างการรอนแรมข้ามน้ำข้ามทะเลเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งในปี พ.ศ.2293 ?สามเณรสรณังกร? ได้อาสาเดินทางพร้อมกับราชทูตมายังสยามเพื่อขอคณะสงฆ์ไปลังกาได้ตามความประสงค์ แต่กว่าที่คณะสงฆ์ของสยามจะได้เดินทางไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในศรีลังกานั้นก็ต้องผ่านเวลาไปอีก 3 ปี เพราะครั้งแรกในปี พ.ศ. 2294 คณะสมณทูตได้ประสบอุบัติเหตุทางเรือที่นครศรีธรรมราช และกว่าจะได้เริ่มออกเดินทางอีกครั้งก็ต้องรอถึงปี พ.ศ. 2295 โดยใช้เวลาเดินทางจากสยามถึงลังกา 5 เดือน 4 วัน จนล่วงเข้าสู่ปี พ.ศ. 2296 คณะสมณทูตที่แต่งตั้งโดย ?พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ? ภายใต้การนำของ ?พระอุบาลีมหาเถระ? จากกรุงศรีอยุธยาก็ได้เดินทางไปถึงศรีลังกาได้สำเร็จ ?พระอุบาลีเถระ? และคณะสมณทูตสยาม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็น ?พระธรรมทูต? ชุดแรกของประเทศไทย ที่ในสายตาของชาวศรีลังกาคือ ?ฮีโร่? ผู้มาสืบสานให้พุทธศาสนาในศรีลังกากลับมาเจริญรุ่งเรืองจนเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของพระพุทธศาสนาอีกครั้ง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของสายสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ ?สยาม-ลังกา? ที่เชื่อมเกี่ยวร้อยรัดกันไว้ด้วยพลังศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น นายพลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ เปิดเผยว่า ในศรีลังกาบทบาทของพระอุบาลีนั้นมีความสำคัญมาก โดยชาวศรีลังกาได้ให้ความสำคัญกับงานเฉลิมฉลองวาระนี้กันในระดับชาติ แต่คนไทยกลับไม่เคยได้นำประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้มาพูดถึงกันเลย ดังนั้นทางกระทรวงการต่างประเทศ โดยสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ จึงร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ร่วมจัดนิทรรศการขึ้น ณ มิวเซียมสยาม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 260 ปี แห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา ซึ่งประกอบด้วย ชุดนิทรรศการต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ นิทรรศการภาพถ่ายต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ และหนังสือการ์ตูนประวัติและผลงานการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระอุบาลีเถระ ฝีมือของโอม รัชเวทย์ ?นิทรรศการที่จัดขึ้นในครั้งนี้ใช้ชื่อว่า ต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ : 260 ปี พระอุบาลี จาริกจารึกนามสยามวงศ์ในลังกา ซึ่งผู้ชมจะได้รับทราบถึงประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ และความเป็นมาที่ลึกซึ้งยาวนานระหว่างประเทศไทยและศรีลังกา โดยเนื้อหาและเรื่องราวที่นำมาจัดแสดงจะช่วยทำให้เห็นว่าไทยและศรีลังกาเป็นครอบครัวเดียวกันในเรื่องพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยทุกคนควรที่จะร่วมกันภาคภูมิใจ เพื่อให้เกิดเป็นความรู้ รัก และตระหนักในการพัฒนาวิถีพุทธในประเทศให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นให้สมกับการเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของพุทธศาสนาโลก? ทูตพลเดชอธิบาย ตลอดระยะเวลา 3 ปีก่อนที่จะมรณภาพในศรีลังกา ?พระอุบาลีฯ? และคณะสมณทูตสยามได้ช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาด้วยการประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวลังกาเป็นพระสงฆ์จำนวน 700 รูปและสามเณร 3,000 รูป และวางแผนการปกครองคณะสงฆ์ เผยแพร่ขนบธรรมเนียมชาวพุทธ จนทำให้พุทธศาสนาในลังกาได้รับการฟื้นฟู และเกิดเป็น ?นิกายสยามวงศ์? ที่ตั้งมั่นและดำรงอยู่มาตราบจนถึงทุกวันนี้ โดยเป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดและมีจำนวนของพระภิกษุสงฆ์ถึงร้อย 80 ของพระสงฆ์ทั้งหมดในศรีลังกา โดยเฉพาะประเพณี ?แห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว? ซึ่งเป็นงานระดับชาติของศรีลังกา หรือพิธีกรรมต่างๆ ตามศาสนาเช่น เข้าพรรษา ปวารณากรรม ถวายผ้าพระกฐิน การสวดพระปริตร ฯลฯ ของพระภิกษุสงฆ์ศรีลังกาที่เหมือนกับของไทยไม่ผิดเพี้ยน ก็ล้วนเกิดขึ้นมาจากการริเริ่มของ ?พระอุบาลีฯ? ?ศิลปะ-วัฒนธรรม? ที่สยามได้เคยรับอิทธิพลจากลังกาเมื่อครั้งในอดีตยังคงเป็นรากฐานสำคัญของไทยในปัจจุบัน ?ขนบธรรมเนียม-ประเพณี? ที่เกี่ยวข้องกับ ?พุทธศาสนา? ที่ทางคณะสงฆ์สยามได้รื้อฟื้นและริเริ่มขึ้นมาใหม่ในศรีลังกา ก็ลงหลักปักฐานมั่นคงในดินแดนของชาวสิงหล จนเกิดเป็นการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของทั้งสองประเทศ ประหนึ่ง ?บ้านพี่-เมืองน้อง? ที่คล้องแขนกันเดินไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของการเป็นเมืองพุทธะ ถึงวันนี้ก็นับได้ว่าเป็นเวลาครบ 260 ปี ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ?ไทย-ศรีลังกา? ได้ดำเนินมาถึง เป็นประวัติศาสตร์นอกกระแสหลักในอีกแง่มุมหนึ่งที่น้อยคนนักที่จะรู้จัก และไม่เคยถูกกล่าวถึงในสังคมไทย แต่ในศรีลังกากลับเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติ โดยได้มีการจัดงานเพื่อรำลึกและยกย่องเชิดชู ?พระธรรมทูต? จากสยามมาอย่างต่อเนื่อง อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ นายพลเดช วรฉัตร ผู้ริเริ่มดำเนินงานกิจกรรมต่างๆ ในโอกาสครบรอบ ?260 ปี แห่งการสถาปนาพระพุทธศาสนานิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา? ระบุว่าทุกๆ 10 ปีประเทศศรีลังกาจะจัดให้มีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ในวาระครบรอบการเดินทางมาฟื้นฟูพระพุทธศาสนาของพระอุบาลีฯ และการเกิดขึ้นของนิกายสยามวงศ์ในประเทศ ซึ่งในครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดกจิกรรมเฉลิมฉลองพร้อมกันทั้งประเทศไทยและศรีลังกา ?เรื่องราวเหล่านี้เป็นประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนควรจะได้รับรู้และรับทราบ เพราะเป็นต้นกำเนิดของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับศรีลังกา เพราะกว่าที่ทั้ง 2 ประเทศจะสามารถเชื่อมความสัมพันธ์กันได้ทางศรีลังกาต้องส่งคณะทูตเดินมาถึง 3 ครั้งสูญเสียผู้คนไปเป็นจำนวนมาก จึงจะได้พบกับพระมหากษัตริย์ไทย และกว่าที่พระอุบาลีเถระและคณะพระธรรมทูตจากวัดธรรมมาราม กรุงศรีอยุธยา จะเดินทางไปถึงลังกาได้นั้นก็มีอุปสรรคมากมาย เพราะการเดินทางโดยเรือสมัยนั้นเป็นเรื่องที่ยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามถึง 2 ครั้งจึงประสบผลสำเร็จ ซึ่งความพยายามของสมณทูตสยามในครั้งนั้นเป็นที่ซาบซึ้งอยู่ในจิตใจของชาวศรีลังกาเป็นอย่างดี จนมีคำกล่าวว่า ในครั้งนั้นถ้าพระอุบาลีไม่เดินทางไป ชาวศรีลังกาคงไม่ได้นับถือศาสนาพุทธมาจนถึงทุกวันนี้? ท่านทูตพลเดชกล่าว ?มิตรภาพ? และ ?ภราดรภาพ? โดยมีพุทธศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนทั้งสองประเทศที่ต่างก็เคยเป็นทั้ง ?ผู้ให้? และ ?ผู้รับ? ในช่วงเวลาอันยาวนานกว่าพันปี จึงเป็นอีกบทบันทึกหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ที่ควรจารึกไว้ว่าเป็น ?ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ? อันเกิดขึ้นจากพลังศรัทธาในหนึ่งศาสนาของผู้คนจาก 2 ฝากฝั่งมหาสมุทร ดังคำกล่าวของ นายพลเดช วรฉัตร อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ ที่สรุปไว้สั้นๆ แต่ตรงประเด็นที่สุดว่า Two Nation One Family สองแผ่นดินครอบครัวหนึ่งเดียว! ชุดนิทรรศการ ?ต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์ : 260 ปี พระอุบาลี จาริกจารึกนามสยามวงศ์ในลังกา? มีกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ ? วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 ? 18.00 น. ณ ห้องนิทรรศการชั่วคราว อาคารนิทรรศการ มิวเซียมสยาม พร้อมพบกับกิจกรรมต่อเนื่องมากมายตลอดนิทรรศการฯ อาทิ กิจกรรมภาพถ่ายสองวัฒนธรรม, กิจกรรมเสวนาต้นธารสยาม-ลังกาวงศ์, กิจกรรมเสวนาเบื้องหลังภาพถ่ายความสัมพันธ์ 2 วัฒนธรรม, กิจกรรม Workshop วาดภาพการ์ตูน พระอุบาลีวีรบุรุษทางด้านพระพุทธศาสนา และ การเปิดตัวหนังสือการ์ตูน ?พระอุบาลี เพชรเม็ดงามของสยามวงศ์? ผลงานโดย โอม รัชเวทย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ โทร. 02-225-2777 ต่อ 400 หรือ www.facebook.com/museumsiamfan และ www.museumsiam.org

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ