เผยผลสำรวจองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสามารถเพิ่มรายได้ขึ้น 25% หรือมากกว่าจากการใช้ Big Data

ข่าวเทคโนโลยี Friday December 13, 2013 11:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--คอร์แอนด์พีค องค์กรต่างๆ ที่ร่วมตอบแบบสำรวจของ Economist Intelligence Unit (EIU) มีโอกาสทำรายได้รวมเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการใช้ Big Data ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของ ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ คอร์ปอเรชั่น (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) เปิดเผยผลการสำรวจที่แสดงให้เห็นว่า เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ร่วมตอบแบบสำรวจเชื่อว่า ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้องค์กรถึง 25% หรือมากกว่านั้น ซึ่งสอดคล้องกับที่ทางบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้คาดการณ์ไว้ว่า รายได้รวมขององค์กรธุรกิจที่ร่วมตอบแบบสำรวจกว่า 500 แห่งจะเพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตามผลสำรวจในครั้งนี้ยังพบด้วยว่า บริษัทมากกว่าครึ่งหนึ่งได้มีการวางแผนกลยุทธ์สำหรับการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ไปเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีความคืบหน้าใดๆเลย ผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เชื่อว่านักธุรกิจจำเป็นต้องปฎิรูปแนวทางใหม่ที่จะต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลขององค์กร โดยให้ถือเป็น “สินทรัพย์ประเภททุน" ตลอดจนกำหนดกลยุทธ์สำหรับข้อมูลขนาดใหญ่แบบองค์รวมเพื่อที่จะให้ธุรกิจสามารถนำมาวิเคราะห์ในเชิงลึกและสร้างระบบธุรกิจอัจฉริยะ การเปลี่ยนแปลงจุดหลักสำคัญนี้จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมโดยอาศัยข้อมูลสารสนเทศและผลักดันให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นด้วย เนวิลล์ วินเซนต์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า "ปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มี 'งบประมาณการบริหารจัดการข้อมูล' ที่จำกัด ส่งผลให้ไม่สามารถรับรู้และใช้ศักยภาพที่แท้จริงของข้อมูลซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่องค์กรมีอยู่ได้ ซึ่งในระดับพนักงานขององค์กรนั้นมีความต้องการอย่างมากในการใช้ข้อมูลสารทนเทศและตระหนักดีถึงการสร้างรายได้ที่มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล แต่พวกเขายังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารระดับสูง C จะต้องกำหนดทิศทางด้านข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งองค์กร ตลอดจนบริหารจัดการข้อมูลให้เสมือนเป็นสินทรัพย์ประเภททุนที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจอย่างชัดเจน" "วิสัยทัศน์ของเราเห็นว่าองค์กรธุรกิจในทุกรูปแบบและทุกขนาดควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะสามารถช่วยผลักดันศักยภาพข้อมูลที่องค์กรมีอยู่ โดยฝ่ายไอทีจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในช่วงปฏิทินของการวางแผนธุรกิจตั้งแต่เนิ่นๆ และจะต้องผสานรวมไอทีเข้ากับธุรกิจให้มากขึ้น เพื่อสามารถให้ข้อมูลธุรกิจที่สำคัญและข้อมูลเชิงลึกให้กับ ฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมทางธุรกิจและการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น" วินเซนต์ กล่าว แม้ปรับใช้ช้า แต่ก็เล็งเห็นประโยชน์ของข้อมูลขนาดใหญ่ ผลสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ตีพิมพ์ใน Economist Intelligence Unit (EIU) เรื่อง The Hype and the Hope: The Road to Big Data Adoption in Asia Pacific ภายใต้การสนับสนุนจากบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้ทำการสำรวจผู้บริหารองค์กรธุรกิจมากกว่า 500 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังมีข้อจำกัดในการปรับใช้แนวทางข้อมูลขนาดใหญ่ที่ตนมีอยู่ ขณะที่ 1 ใน 3 ระบุว่า พวกเขาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี แต่จำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขามีความคืบหน้าในแนวทางนี้น้อยมาก โดย 80% ของพนักงานที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าคู่ค้าโดยตรง (front-line employees) เชื่อว่าการปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลให้ดีขึ้นถือเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด และผลสำรวจยังพบว่า มีเพียง 19% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลตามต้องการได้ แม้จะไม่มีความคืบหน้าในการปรับใช้แนวทางข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ผู้ตอบแบบสอบถามก็เชื่อมั่นในความสามารถของข้อมูลขนาดใหญ่ว่า จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจของตนได้ โดยมากกว่า 70% ระบุว่าข้อมูลขนาดใหญ่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ช่วยผลักดันให้เกิดความสามารถในการทำกำไร และช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ สำหรับเหตุผลที่บริษัทต่างๆ มีความล่าช้าในการปรับใช้กลยุทธ์ข้อมูลขนาดใหญ่นั้น มีสาเหตุที่แตกต่างกัน โดยผู้ตอบแบบสำรวจระบุว่าเกิดจากการสื่อสารภายในองค์กรและการแบ่งปันข้อมูลที่ไม่ดีพอ ตลอดจนการขาดทักษะและซอฟต์แวร์ภายในองค์กร โดยผู้ตอบแบบสำรวจเกือบ 2 ใน 5 ระบุว่า กลยุทธ์ข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัทยังไม่ได้รับการสื่อสารที่ดี แต่กระนั้น 3 ใน 4 ก็เชื่อว่าประสิทธิภาพของการนำข้อมูลมาใช้คือหัวใจสำคัญของความสำเร็จขององค์กร กลุ่มธุรกิจหลักที่ตระหนักว่าข้อมูลขนาดใหญ่ช่วยให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างมาก ได้แก่ ธุรกิจโทรคมนาคม (67%) สินค้าอุปโภคบริโภค (57%) และบริการทางการเงิน (52%) อย่างไรก็ตาม พบว่ามากกว่า 60% ในธุรกิจสถาบันการเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภคยังไม่ได้เริ่มโครงการข้อมูลขนาดใหญ่ ขณะที่ธุรกิจโรงพยาบาล สุขภาพ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ดูเหมือนจะล่าช้ากว่ามาก โดยมีจำนวนถึง 72% ที่ยังไม่ได้เริ่มโครงการข้อมูลขนาดใหญ่ใดๆ เลย แนวทางปรับปรุงการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้งาน ที่ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เราเชื่อว่าองค์กรต่างๆ จะต้องสามารถบ่งชี้ถึงปัญหาและเพิ่มมูลค่าของข้อมูลขนาดใหญ่ให้ได้ประโยชน์สูงสุดด้วยการเปลี่ยนข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) การกำหนดทิศทางเกี่ยวกับข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งองค์กร: ผู้บริหารระดับสูง ควรตระหนักถึงผลกระทบสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ที่มีต่อรายได้และการแข่งขันของธุรกิจตน และมีหน้าที่ในการกำหนดกลยุทธ์ข้อมูลขนาดใหญ่ โดยองค์กรต่างๆ ควรปรับใช้นโยบายที่ช่วยแบ่งแยกคลังข้อมูลขนาดใหญ่ที่แยกอยู่เดี่ยวๆ ปรับปรุงการสื่อสารภายในองค์กร และสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถรองรับการบริหารจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล การผสานรวมฝ่ายไอทีเข้ากับธุรกิจ ฝ่ายไอทีจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนทางธุรกิจทุกๆ รอบปฏิทินตั้งแต่เริ่มต้น และผสานรวมเข้ากับธุรกิจให้มากขึ้นเพื่อแปลงข้อมูลให้เป็นระบบอัจฉริยะ ตลอดจนเพิ่มผลตอบแทนจากข้อมูลที่เป็นสินทรัพย์ประเภททุน การสนับสนุนของฝ่ายไอทีจะต้องสามารถวัดผลได้จากการเพิ่มผลตอบแทนในรูปของรายได้ การทำความเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของธุรกิจและนำเสนอระบบข้อมูลอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีและพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรสามารถทำการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนได้เท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นระบบอัตโนมัติมีประสิทธิภาพสูงและสามารถลดภาระการดำเนินงานประจำวันได้ วินเซนต์ กล่าวว่า "การใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ไม่ใช่แค่เพียงเทคโนโลยีสารสนเทศอีกแล้ว แต่เป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจ ความสำเร็จในอนาคตขององค์กรขึ้นอยู่กับเจ้าของธุรกิจที่สามารถกำหนดกลยุทธ์ข้อมูลขนาดใหญ่ของตัวเองและขึ้นอยู่กับฝ่ายไอทีที่พร้อมให้การสนับสนุนระบบข้อมูลอัจฉริยะได้ตามต้องการ" จากการร่วมมือกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ทำให้บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ สามารถใช้ความเชี่ยวชาญที่มีมายาวนานหลายทศวรรษในธุรกิจเฉพาะทาง เพื่อนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ให้กับลูกค้า การวิเคราะห์ที่มีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจ และเทคโนโลยีอัตโนมัติและครบวงจร ทั้งนี้ บริษัทผสมผสานระดับชั้นของเทคโนโลยีและโซลูชั่น ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) เนื้อหา (Content) และ สารสนเทศ (Information) เข้ากับแอพพลิเคชั่นของธุรกิจเฉพาะทางเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถเปลี่ยนข้อมูลของตนให้เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง แหล่งข้อมูลบนเว็บ - อ่านผลการสำรวจโดยละเอียดของ การสำรวจของ Economist Intelligence Unit เรื่อง “The Hype and the Hope: The Road to Big Data Adoption in Asia-Pacific” - เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โซลูชั่นข้อมูลขนาดใหญ่ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ - ติดตามเราทาง Twitter - ติดต่อกับเราทาง LinkedIn - เป็นเพื่อนกับเราทาง Facebook

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ