อีริคสันคาดผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีจำนวนมากถึง 5.6 พันล้านคนทั่วโลกในปีพ.ศ. 2562

ข่าวเทคโนโลยี Monday December 16, 2013 10:56 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ธ.ค.--อีริคสัน - ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะมีจำนวนถึง 9.3 พันล้านคนทั่วโลก โดยเกินกว่าครึ่งจะเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนในปีพ.ศ. 2562 - ในปีพ.ศ. 2562 กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลกจะสามารถใช้บริการ 3G (WCDMA/HSPA) โดย 65 เปอร์เซ็นต์จะเข้าถึงบริการ 4G LTE ได้อีกด้วย - ผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มจำนวนกว่าสามเท่าโดยจะก่อให้เกิดทราฟฟิคดาต้าในระบบเครือข่ายกว่า 10 เท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบระหว่างปีพ.ศ. 2556 กับปีพ.ศ. 2562 รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด คาดการณ์ว่า จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกจะมีมากถึง 9.3 พันล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) และมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ (หรือ 5.6 พันล้านคน) จะเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟน โดยเพื่อให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มมากขึ้นสามารถใช้งานได้อย่างเต็มที่ เครือข่าย 3G (WCDMA/HSPA) ควรจะขยายตัวครอบคลุมถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก และที่สำคัญเกือบสองในสามของประชากรโลก (หรือ 65 เปอร์เซ็นต์) จะสามารถเข้าถึงบริการเครือข่าย 4G/LTE อีกด้วย แม้ว่าในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีเพียง 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด แต่ยอดขายสมาร์ทโฟนในไตรมาสสามของปีนี้มีอัตราที่เพิ่มมากอย่างต่อเนื่อง โดย 55 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายทั้งหมดเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน นาง คามิลล่า วอลเทียร์ เป็นประธานบริษัทอีริคสัน ประเทศไทย กล่าวว่า "ยอดขายสมาร์ทโฟนได้เพิ่มขึ้นรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ และมีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีก ถึงแม้ว่าในตอนแรกนั้นเราต้องใช้เวลามากกว่าห้าปีที่จะเราจะได้เห็นจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนหนึ่งพันล้านแรก แต่ว่าเราก็ได้เห็นยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้นเป็นสองพันล้านในเวลาไม่เกินสองปีถัดจากนั้นเช่นกัน* และจากวันนี้ถึงปีพ.ศ. 2562 จำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าอีกด้วย” “สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ สมาร์ทโฟนนั้นเริ่มมีราคาถูกลงและเข้าสู่ตลาดในประเทศต่างๆมากขึ้นซึ่งก็จะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเป็นเจ้าของได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย” และจากจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้เอง ก็จะส่งผลให้ปริมาณทราฟฟิคดาต้าของสมาร์ทโฟนนั้นเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่า ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง ปีพ.ศ. 2562 จนถึง 10 เอ็คส์ซาไบท์ โดยทราฟฟิคในรูปแบบวีดีโอจะเติบโตขึ้นกว่า 55 เปอร์เซ็นต์ต่อปีอีกด้วย ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าครึ่งของทราฟฟิคดาต้าทั้งหมดของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั่วโลก ในขณะที่ทราฟฟิคจากโซเชียลเน็ตเวิร์คและเว็บเซอร์วิสประเภทอื่น จะมีจำนวนอย่างละประมาณ 10 เปอร์เซ็นในปีพ.ศ. 2562 นาย บัญญัติ เกิดนิยม, ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและองค์กรสัมพันธ์, อีริคสัน ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า เราอาจจะคิดว่า คงเป็นเฉพาะวัยรุ่นเท่านั้นที่นิยมใช้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือเพื่อรับชมวิดีโอ แต่ว่าผลการวิจัยของอีริคสัน คอนซูเมอร์แล็บ ก็ชี้ให้เห็นถึงทัศนคติและแนวโน้มของผู้บริโภคต่อการรับชมทีวีที่น่าสนใจอีกด้วย โดยมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของคนที่อายุมากกว่า 60 ปี ชอบที่จะรับชมทีวี แบบ on demand และในประเทศไทย กว่า 27% ของผู้ใช้แท็บเล็ตรับชมเนื้อหาของรายการโทรทัศน์หรือวิดีโอบนแท็บเล็ตของพวกเขา โดยขณะที่ 32% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนก็ชมผ่านสตรีมมิ่งวิดีโอบนอุปกรณ์ของพวกเขาเช่นกัน Ericsson Mobility Report ฉบับนี้ ได้รวบรวมผลการวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับ app coverage** ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ในการประเมินประสิทธิภาพเครือข่าย และประสบการณ์ในการใช้งานของผู้ใช้ โดยมุ่งศึกษาสภาพแวดล้อมภายในอาคารและในเมืองเป็นหลัก ความแรงของสัญญาณจะลดลงอย่างรวดเร็ว เมื่อผ่านอาคาร และมีความหนาแน่นของผู้ใช้ที่สูงขึ้น โดยวัสดุและความสูงของอาคารล้วนเป็นความท้าทายทั้งสิ้น การมีสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของชีวิตสำหรับหลายคน ในปัจจุบันปัจจัยดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งในห้าปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตในเมือง และปริมาณ ทราฟฟิคเครือข่ายโทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากในตัวเมือง โดยในรายงานฉบับนี้ อีริคสันได้ทำการเปรียบเทียบสามกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อสร้างพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณภายในอาคาร โดยอ้างอิงผลจาก ซอฟท์แวร์จำลองผล (simulation software) เพื่อประเมินค่าของ app coverage ภายในอาคารตึกสูงอีกด้วย เพื่อความสมบูรณ์ของ Mobility Report ฉบับนี้ อีริคสันได้สร้าง Traffic Exploration Tool ขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสร้างกราฟและตาราง โดยอ้างอิงข้อมูลภายในรายงาน การแสดงผลข้อมูลดังกล่าว สามารถเลือกได้ตามภูมิภาค ชนิดการใช้งาน (subscription) เทคโนโลยี ทราฟฟิค และชนิดของดีไวซ์อีกด้วย *ประมาณการณ์การเติบโตของจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟน ในปี 2012 ถึงปี 2014 **App coverage ใช้วัดความสามารถของเครือข่ายในการสร้างสมรรถนะที่เพียงพอ สำหรับการใช้งานแอ็พพลิเคชั่นที่สนใจ ด้วยคุณภาพที่ยอมรับได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ