บทความพิเศษ เรื่อง: มองประเทศจีน ( ภาค 2 ) ในทัศนะ ดร.วิโรจน์ กุศลมโนมัย (วิลเลี่ยม วู)

ข่าวทั่วไป Tuesday December 24, 2013 11:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--ซูม พีอาร์ ถ้าหากเราติดตามข่าวสารบ้านเมือง ก็จะทราบว่าที่ผ่านมาญี่ปุ่นมีปัญหาโรงงานนิวเคลียร์รั่วไหล ทำให้มีสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในอาหารทะเล สาเหตุจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว และ สึนามิ ที่เกาะฟูกูชิมะ เมื่อปี 2554 ทำให้ไต้หวันและเกาหลี สั่งหยุดการนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่นชั่วคราว ส่วนประชาชนก็อพยพออกจากเกาะไปกว่า 80,000 คน ซึ่งเกาะฟูกูชิมะ ก็ไม่ได้อยู่ไกลจากกรุงโตเกียวมากนัก ประมาณ 300-400 กิโลเมตรเท่านั้น หลังเหตุการณ์ครั้งนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นสามารถแก้ไขปัญหาในชั้นบรรยากาศได้แล้ว แต่ยังคงเหลือปัญหาที่ใต้ท้องทะเล ที่จะต้องใช้นักประดาน้ำลงอุดรอยรั่ว และได้รับการประมูลจากวิศวกรประเทศปากีสถาน ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือเปล่า ส่งผลต่อภาพรวม และทำให้การท่องเที่ยวของญี่ปุ่นซบเซาอย่างมาก ดังนั้น รัฐบาลญี่ปุ่น จึงมีมาตรการ ออกวีซ่าท่องเที่ยวฟรี เพื่อกระตุ้น ให้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทย และมาเลเซีย ซึ่งเราก็ยินดีไปท่องเที่ยวกันเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้คำนวณถึงปัญหาดังกล่าวเลย ขอฝากมาให้คิด ถ้าจะไปเที่ยวญี่ปุ่นช้าหน่อย สักปี จะดีกว่าไหม เพราะไม่รู้ไปแล้วกลับมาได้ของแถมอะไรมาหรือเปล่า???? หันกลับมามองประเทศจีน ที่มีนโยบาย พัฒนาโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ และได้พัฒนาไปถึงรุ่นที่ 9 แล้ว ซึ่งพัฒนาการและเทคโนโลยี ที่ได้รับมาจากประเทศฝรั่งเศส อเมริกา อังกฤษ รวมถึงญี่ปุ่นด้วย ทำให้มีคำถามว่า ทำไมญี่ปุ่นมีปัญหาโรงงานนิวเคลียร์รั่วไหลขนาดนี้แล้ว แต่จีนยังต้องการพัฒนานิวเคลียร์อยู่ อันดับแรกคือ นิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมะ เป็นรุ่นเก่าซึ่งเป็นรุ่นที่ 1 และผ่านการใช้งานมากว่า 40 ปีแล้ว ซึ่งก็มีจุดบกพร่องอยู่ แต่ในปัจจุบันระบบความปลอดภัยได้พัฒนามาถึงรุ่นที่ 9 แล้วซึ่งรับประกันความปลอดภัยเกือบ 100 % แม้จะเกิดแผ่นดินไหวก็ยังรับได้ ข้อคิด : ประเทศไทยซึ่งมีปัญหาด้านพลังงานในอนาคตอย่างแน่นอน ควรพิจารณาขอความช่วยเหลือจากประเทศจีน ที่ล้ำหน้าในด้านเทคโนโลยี พลังงานนิวเคลียร์ที่สุดในโลก ขณะนี้หรือเปล่า ????? ไม่ว่าจีนจะพัฒนาอะไร มักขอคำปรึกษาและ รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศที่มีความชำนาญในแต่ละด้านทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น กระเช้าลอยฟ้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง เรือสินค้า เครื่องบินโดยสาร ยานอวกาศ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ยกตัวอย่าง ถ้าท่านไปเที่ยวจางเจียเจี้ย จะพบได้ว่า มีกระเช้าลอยฟ้า อยู่ 2 แบบ คือ แบบแรก เป็นกระเช้าเก่าๆ เล็กๆ เคเบิ้ลเส้นเล็ก เสียงดัง นั่งได้ 4-6 คน ทำจาก สวิตเซอร์แลนด์ ส่วนอีกแบบ เป็นกระเช้าใหญ่ ใหม่เอี่ยม เคเบิ้ลเส้นใหญ่ เสียงเงียบ นั่งได้ 8-10 คน อันนี้ ผลิตโดยประเทศจีน เขาทำได้ไง ซื้อกระเช้าอันเดียว แต่ หลังจาก 1 ปี ผลิตใช้ทั่วประเทศ ( อันนี้เป็นแค่ต้นแบบ ) หลังจากนั้น ท่านก็จะพบกระเช้าแบบนี้ ทั่วประเทศจีน MADE IN CHINA รถไฟฟ้าก็เช่นกัน จีนเริ่มต้นด้วยการอาศัย ผู้เชี่ยวชาญจาก ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส อเมริกา อังกฤษมาประมูล ทำ รถไฟฟ้าความเร็วสูง จาก สนามบินผู่ตงใน เซี่ยงไฮ้ มาถึงงานแสดงสินค้าระยะทางประมาณ 50 กม. ใช้เวลา 15 นาที ก็ถึง เรียกว่า รถไฟหัวจรวดแม่เหล็ก บอกว่า จะลองให้ทำระยะสั้นก่อน เพื่อทดสอบ จะได้รู้ว่าดีหรือไม่ ถ้าดี ก็จะได้ทำทั่วประเทศ แต่ต่อมา เมื่อทำเสร็จ จีน ก็ผลิตเอง ผ่านมา 6 ปี จีนมีรถไฟฟ้า ทั้งหมด 1,050 สาย พัฒนามาแล้ว 18 รุ่น มาถึงรุ่นล่าสุด คือ CRH 6 (CRH ย่อมากจาก China Railway High-speed) ซึ่งได้เริ่มดำเนินการ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2550 ที่จีนทำได้อย่างนี้ เพราะว่า สัญญาทุกสัญญาที่จีนทำ ต้องมีเงื่อนไขบรรทัดนี้เสมอคือ “ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้รัฐบาล และ บุคคลากรของจีน" (ไม่งั้นออกจากประเทศจีนไม่ได้) ตรงวงเล็บนี่ ผมเขียนเองครับ ! ด้วยกลยุทธ์ง่ายๆแค่นี้ ก็ทำให้ จีนพัฒนาบุคคลกรในการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงจากต่างชาติในทุกๆด้าน และ สามารถผลิตได้เอง หรือ พึ่งพาตนเองได้ในทุกๆด้าน นี่เป็นแง่คิด..ที่เราควรมองดู รัฐบาลไทยว่าที่ผ่านมา เรามีเขียนประโยคนี้หรือเปล่า ???? ส่วนใหญ่แล้วไม่มี มีแต่สัญญาใจในทุกฉบับว่า “จะให้ผลประโยชน์ หรือ ค่าคอมฯเท่าไหร่?” โดยมิได้คิดจะเพิ่งพาตนเอง หรือ พัฒนาให้ผลิตเองได้แต่อย่างใด จากตัวอย่างในตอนนี้ ท่านจะเห็นว่า ไม่ว่าสินค้า HI TECH แค่ไหน ในอนาคต จึนจะสามารถผลิตได้เพื่อใช้เอง และสามารถผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีล่าสุด เพื่อส่งออกไปทั่วโลกได้ ภายในแบรนด์ของจีนเอง และที่สำคัญคือ MADE IN CHINA ในอนาคตอันใกล้นี้ ท่านก็จะได้เห็นบริษัทที่สร้างเครื่องบินโดยสารภายใต้แบรนด์ของจีนเองอย่างแน่นอน ทีนี้เรามาลองมองย้อนกลับว่าจีนพัฒนาประเทศมาได้อย่างไร?? เริ่มต้นจากการลดค่าเงินหยวน และส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกโดยให้เงินกู้ ดอกเบี้ยถูก ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต อย่างแพร่หลาย เพื่อเอาเงินตราเข้าประเทศทำให้สินค้าราคาถูก รวมถึงการสนับสนุนผู้ส่งออก ด้วยการลดและคืนภาษีแก่ผู้ส่งออก และส่งเสริมการตลาดเพื่อรองรับผู้นำเข้าจากต่างประเทศรายใหญ่ๆ เช่นการแสดงงานสินค้ากวางเจาแฟร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ เรียกว่าส่งเสริมการผลิตแล้วยังมีการส่งเสริมการตลาดควบคู่กันไป โดยเน้นการส่งออก มีการประสานงานกับทุกภาคส่วน รวมถึงสถานทูตต่างๆ ร่วมกับบริษัททัวร์ นำนักธุรกิจต่างชาติ มาชมงานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ประเทศจีนร่ำรวยมหาศาล มีเงินมาพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าชุมชน ด้วยการสร้างฝายเล็กๆ เพื่อผลิตไฟฟ้า ในถิ่นทุรกันดารโดยไม่ต้องส่งไฟฟ้าจากแหล่งไกลๆ ซึ่งเรียกว่ากลยุทธ์คบไกลตีใกล้ คือแต่ละท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการตัวเองได้ ทำให้สามารถพัฒนาด้านอื่นๆ ตามมาเช่น การเกษตรจากน้ำ และอุตสาหกรรมต่างๆจากไฟฟ้า รวมถึงพัฒนาสิ่งปฏิกูลจากมนุษย์นำมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพด้วย ซึ่งด้านการเกษตรของจีนแทบจะไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารกำจัดศัตรูพืชเลย โดยทำเกษตรในกรงตาข่ายเพื่อหลีกเลี่ยงแมลงและศัตรูพืชซึ่งได้ผลดีมาก แตกต่างจากประเทศไทยที่สูญเสียเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ในการนำเข้าสารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช โดยไม่ได้ส่งเสริมให้ผลิตการทำปุ๋ยชีวภาพเอง แต่ปัจจุบันก็เริ่มมีการใช้โครงการเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงมาใช้พัฒนาชุมชน โดยให้หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ และเน้นการพัฒนาคุณภาพดิน เรียกว่าหลักการคืนสู่ธรรมชาติ ย้อนกลับมามองประเทศไทย กับงบประมาณ 2 ล้านล้านบาท ที่ไม่ใช่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือ GDP เหมือนสมัยก่อน แต่เป็นการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการลงทุน และเชื่อมต่อ AEC ในอนาคต เรื่องการนำรถไฟฟ้าความเร็วสูงมาใช้ ผมมองว่าถ้าเรานำ “ชิงเถี่ย” ที่มีความเร็วระดับปานกลาง น่าจะดีกว่า เพราะประเทศไทยไม่ได้ใหญ่เท่าประเทศจีน แต่อยากให้มีการพัฒนาด้านพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งประเทศไทยยังกลัวและไม่กล้า แต่ประเทศจีนทำไปถึงรุ่นที่ 9 แล้ว และมีเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาด้านความปลอดภัยถึงขั้นสูงสุด ไม่ได้นิยมประเทศจีนเป็นการส่วนตัว แต่อยากให้ใช้เป็นแนวทางลัด โดยการร่วมมือกับจีน และใช้แนวทางเดียวกัน คือให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ เพื่อนำมาพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังมีความต้องการสูง ไม่อยากให้ซื้ออะไรจากใคร ก็ต้องซื้อไปตลอดชีวิต จึงอยากให้แง่คิดว่า เวลาที่จะซื้ออะไรควรมีเทคนิคอย่างไรบ้าง ไม่ใช่จะซื้ออย่างเดียว อนาคตต้องทำเองได้ด้วย ฉบับนี้ขอฝากไว้เพียงเท่านี้ครับ ฉบับหน้าค่อยกลับมาพบกันใหม่... เจ้าของกิจการท่านใดสนใจต้องการปรึกษาธุรกิจ สามารถติดต่อ ดร.วิโรจน์ กุศลโนมัย ได้ โดยตรงที่ โทรศัพท์ 085-48885-427 หรือ E-mail: info@kusamai.com http://www.kusamai.com สอบถามข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท กุศมัย กรุ๊ป จำกัด โทรศัพท์ 02-989 7844

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ