“ไม่มีผู้ให้บริการรายไหนอยู่รอดได้ด้วยตัวคนเดียว” คาดการณ์แนวโน้มปี 2557 โดย มิเชล แฮร์ริส ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ และการตลาดเชิงลึก แอมดอกซ์

ข่าวทั่วไป Tuesday December 24, 2013 15:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค "ไม่มีมนุษย์คนไหนอยู่รอดได้ด้วยตัวคนเดียว" (No man is an island) เป็นประโยคเด็ดที่ จอห์น ดอนน์ กวีชาวอังกฤษ กล่าวไว้เมื่อหลายร้อยปีก่อน แม้เขาจะพูดถึงมนุษยชาติ แต่แน่นอน คำกล่าวนี้นำมาใช้กับผู้ให้บริการและตลาดสื่อสารโทรคมนาคมในปี 2557 ได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ให้บริการสื่อสารรู้สึกว่าอยู่ในความเสี่ยง เหมือนยืนอยู่คนเดียวท่ามกลางคู่แข่งที่เข้ามาแย่งกินอาหาร ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำนวนมากกำลังมองหาวิธีการที่จะเก็บเกี่ยวประโยชน์ของการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ เพื่อที่จะหาเหตุผลมาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ รวมเครือข่าย บูรณาการผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของพวกเขา และ เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขัน แม้ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ยังพบว่า ในการรับมือกับแนวโน้มที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2557 เช่น omni-channel, big data, virtualization ตลอดจน SMB (ธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง) วิดีโอและทีวี และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ สองหัวย่อมจะดีกว่าหัวเดียว สำหนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า เรน โอเบอร์แมนน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Deutsche Telekom AG กล่าวไว้เมื่อช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2556 ว่า "ถึงเวลาแล้ว" สำหรับการรวมกัน นอกจากนี้ ในรายงานข่าวเขายังกล่าวอีกว่า Deutsche Telekom ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของยุโรป "มีขนาดเล็กเกินไปสำหรับการแข่งขันในระดับนานาชาติในระยะยาว" ไม่เฉพาะแต่ Deutsche Telekom เท่านั้นที่มีแนวคิดเช่นนี้ ในแง่ของการควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ ปี 2556 ถือเป็นปีแห่งการทุบสถิติ โดยรายงานติดตามสถานการณ์การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ หรือ M&A tracker ของ TeleGeography ระบุว่า มูลค่ารวมของข้อตกลง M&A (Mergers & Acquisitions) เพิ่มขึ้นจาก 59.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2554 เป็น 209.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2556 โดยในทวีปอเมริกาเหนือ ลูกค้าที่ใช้บริการเครือข่ายสื่อสารไร้สาย 24 ล้านรายย้ายไปใช้ผู้ให้บริการรายอื่นเนื่องจากการควบรวมและเข้าซื้อกิจการ เหตุใด ดิฉันจึงคิดว่ากระแสของการควบรวมนี้จะยังคงขยายตัวต่อไปทั่วทุกภูมิภาคในปี 2557 ผู้ให้บริการจะยังคงควบรวมเพื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ และเพื่อประกันการเติบโตและประสิทธิภาพ พวกเขาจะต้องตอบโจทย์ภาวะอิ่มตัวของตลาดและการแข่งขันที่มากเกินไป ความขาดแคลนด้านทรัพยากร เช่น คลื่นความถี่และความกดดันจากกฎระเบียบ ซึ่งจะนำไปสู่การควบรวมและเข้าซื้อกิจการ และการขยายธุรกิจออกไปนอกอาณาเขตปัจจุบันของพวกเขา (Vodafone, America Movil และ Liberty Global เป็นตัวอย่างบางส่วนที่ชัดเจนมาก) รวมช่องทางก่อนที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้ช่องทางอื่น ในปี 2556 ผู้ให้บริการรุกตลาดค้าปลีกในการทำให้ omni-channel (การเข้าถึงและสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย สมาร์ทโฟน) มีความสำคัญสูงสุด ด้วยจำนวนอุปกรณ์ประเภท smart device ที่เพิ่มขึ้นนับล้านๆ เครื่อง ผนวกกับแอพพลิเคชั่นจำนวนมหาศาลและการบริโภคข้อมูลที่เติบโตเป็นประวัติการณ์ โลกของ omni-convergence มีขอบข่ายครอบคลุมกว้างขวางมากขึ้น ผู้ให้บริการระบุว่า omni-channel เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับความสัมพันธ์กับลูกค้าและกลยุทธ์การจัดการของพวกเขา รวมถึงการส่งเสริมให้ลูกค้า เปิดรับช่องทางออนไลน์ (เช่น ระบบบริการตนเองและโมบายแอพ) ผู้ให้บริการส่วนใหญ่มีแผนจะควบรวมช่องทาง และเครื่องมือออนไลน์ของพวกเขาในปี 2557 เพื่อนำเสนอบริการที่ต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ซึ่งเสริมประสิทธิภาพโดยการวิเคราะห์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (data-driven analytics) ทั้งนี้ การ์ทเนอร์ (กันยายน 2556) คาดการณ์ว่า ในปี 2558 ธุรกิจที่ไม่มีกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าทุกช่องทางจะเสียลูกค้าชั้นดีร้อยละ 15-20 ไปให้กับคู่แข่ง นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ว่า การรวม omni-channel ให้ประสบความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากความสัมพันธ์ในเชิงรุกกับลูกค้า ผู้ให้บริการจะรวมเครื่องมือจำนวนมากขึ้นที่จะ ช่วยให้พวกเขาสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์เชิงรุกกับลูกค้า ในปี 2557 การสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคโดยแอมดอกซ์ในปี 2556 พบว่า ผู้ใช้บริการร้อยละ 84 มีแนวโน้มที่จะช่วยแนะนำลูกค้ามาใช้บริการกับผู้ให้บริการรายนั้นๆ หากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลลูกค้า ได้รับการตอบสนองและแก้ไขในเชิงรุก big data จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีก การดูแลลูกค้าในเชิงรุกอย่างใส่ใจนำ ไปสู่การคาดการณ์ประการที่สอง: big data จะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกในปี 2557 อะไรคือตัวเชื่อมโยง นี่ไม่ใช่การใช้อารมณ์ในการคาดการณ์ว่า big data ซึ่งเป็นข้อมูลที่รวบรวมจากจุดที่ได้สัมผัสกับลูกค้า (customer touch-point) ทั้งข้อมูลที่เป็นระบบระเบียบ (structured) และข้อมูลที่ไม่เป็นระบบระเบียบ (unstructured) จะนำมาซึ่งโอกาสมากมายสำหรับผู้ให้บริการในปี 2557 ทั้งนี้ Informa (สิงหาคม 2556) ตั้งข้อสังเกตว่า ในขณะนี้ big data คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 10 ของงบประมาณโดยรวมด้านไอทีของผู้ให้บริการที่นำ big data มาใช้ แต่ตัวเลขนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ประมาณร้อยละ 23 ในอีก 5 ปีข้างหน้า สิ่งที่อาจทำให้ผู้ให้บริการแปลกใจ คือ ทำอย่างไรพวกเขาจึงจะเปลี่ยนจากเพียง การจัดการ big data ไปเป็น ตระหนักรู้ถึงคุณค่า ในปีต่อไปได้อย่างรวดเร็ว สิ่งที่น่าแปลกใจอีกอย่างหนึ่งคือความจริงที่ว่า ความลับที่จะนำไปสู่การตระหนักรู้ถึงคุณค่านั้นเป็นการริเริ่มจากภายใน การ์ทเนอร์ ประมาณการว่า "มีรายได้เพิ่มเติมเกิดขึ้นประมาณ 240 ล้านดอลลาร์ และประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 60 ล้านดอลลาร์ จากกรณีการใช้งานภายใน (internal use case) โดย CSP 'โดยเฉลี่ยทั่วไป'" กรณีการใช้งานภายในเหล่านี้ประกอบด้วยข้อมูลที่ให้ความเข้าใจเชิงลึกมากยิ่งขึ้นในส่วนของกลุ่มลูกค้า (โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้ารายใหญ่และสำคัญ) และการใช้ข้อมูลชนิดใหม่เพื่อสร้าง ตัวชี้วัด (KPI) ที่ดียิ่งขึ้น กลับไปที่ความเห็นก่อนหน้านี้ ที่เกี่ยวกับการเชื่อมโยงระหว่างการดูแลลูกค้าเชิงรุกกับ big data การสร้างรายได้จากข้อมูลภายใน (internal data monetization) จะนำไปสู่การตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคลที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงการดูแลลูกค้าและการตลาดในเชิงรุก ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพและการวางแผนเครือข่าย แม้ว่าจะเกิดขึ้นชั่วคราว การสร้างรายได้จากข้อมูลภายนอก (external data monetization) อาจจะยังคงเป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจมากกว่า และเราคาดหวังว่าจะเห็นผู้ให้บริการหลายรายใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ด้านข้อมูลที่มีอยู่เพื่อสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ เช่น โฆษณาบนมือถือ ตัวอย่างเช่น Sprint นำเสนอบริการที่บรรดาโรงแรม ร้านอาหาร และคาสิโน สามารถระบุข้อมูลรายละเอียดที่แตกต่างกันของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของพวกเขาและเล็งเป้าหมายของการโฆษณา/จัดโปรโมชั่นให้สอดคล้องกับเป้าหมายแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ big data มีศักยภาพอันน่าทึ่งที่จะเปิดโอกาสสำหรับรูปแบบธุรกิจและการเป็นหุ้นส่วนใหม่ๆ Virtualization – อะไรที่มากกว่าประสิทธิภาพ ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คลาวด์เป็นหัวข้อที่อยู่ในความสนใจ ในปี 2557 เราคาดว่าแนวโน้มของ virtualization ที่จะเติบโตมากขึ้นเพื่อที่จะครอบคลุมไปถึง network function virtualization (NFV) และ software-defined networks (SDN) ซึ่งหมายถึงการติดตั้งและใช้งานฟังก์ชั่นเครือข่ายบน virtual machine ที่สามารถทำงานบนฮาร์ดแวร์ของเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานของอุตสาหกรรม Virtualization ได้รับการส่งเสริมในขั้นต้นให้เป็นปัจจัยเสริมประสิทธิภาพสำหรับผู้ให้บริการ ทั้งนี้ โดยการยกเครื่องดาต้าเซ็นเตอร์และเครือข่ายต่างๆ ผู้ให้บริการสามารถจะประหยัดรายจ่ายฝ่ายทุน (Capital Expenditure: CAPEX) ลงได้อย่างมาก โดยการแทนที่ฮาร์ดแวร์ลิขสิทธิ์ที่มีราคาแพงเป็นเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานที่ราคาไม่แพง นอกจากนี้ ต้นทุนการดำเนินการ (Operating Expense :OPEX) จะลดลง ซึ่งอาจลดลงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก software defined networks (SDN) และ NFV จะทำให้การบริการต่างๆ และโครงสร้างพื้นฐานมีความคล่องตัวและปรับขนาดรองรับความต้องการได้มากขึ้น เนื่องจากการรวมศูนย์ด้านการบริหารจัดการ และส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายน้อยลงในการดูแลรักษา ปรับแต่งใหม่ และอัพเกรด ในปี 2557 เราจะได้เห็นความสนใจที่มากขึ้นและการใช้งานที่เพิ่มขึ้นในส่วนของ NFV และ SDN ทั้งสองแนวคิดจะสร้างชั้นควบคุมเสมือน (virtual control layer) สำหรับเครือข่าย ช่วยผู้ให้บริการประหยัดค่าใช้จ่ายและจัดการเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมดที่เกิดขึ้น มีความเห็นตรงกันมากขึ้นว่า ยิ่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญของเวอร์ชัวร์ไลเซชั่น (virtualization) เกิดขึ้นต่อเนื่องไป ยิ่งจะช่วยผู้ให้บริการขับเคลื่อนช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ และเพิ่มพูนการทำกำไรของช่องทางเดิมๆ SDN และ NFV จะช่วยให้เกิดบริการที่ต้องอาศัย quality of service (QoS) ที่ครบวงจรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และได้รับการรับประกัน พร้อมด้วยแบนด์วิธที่สูงและยืดหยุ่น ตลาดองค์กรขนาดใหญ่รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (SMB) จะไม่เล็กอีกต่อไป ตลาดองค์กรระดับองค์กรใหญ่ และภาคธุรกิจขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง (SMB) กำลังกลายเป็นตัวจักรสำคัญที่ขาดไม่ได้ Analysys Mason ระบุว่า มูลค่าตลาดทั่วโลกสำหรับบริการ เอ็นเตอร์ไพรซ์ คลาวด์ เบส เซอร์วิส จะเติบโตถึง 31.9 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2560 และจากนั้นรายได้จากกลุ่มผู้ให้บริการจะมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 18 ของรายได้ทั่วโลก ผ่านบริการต่างๆ เช่น fixed-mobile convergence บริการด้านสื่อสารสำหรับองค์กร และบริการสื่อสารผ่านวิดีโอที่ทันสมัย ในปี 2557 ผู้ให้บริการจะรวมเครือข่ายและไอทีกันมากขึ้นเพื่อให้บริการแก่ลูกค้า SMB และลูกค้าองค์กรของพวกเขา ด้วย cloud-enabled service ที่มีความซับซ้อน เปลี่ยนจากการเป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นเครือข่าย (network solution provider) ไปเป็นผู้เล่นในตลาดไอซีทีตัวจริงที่ให้บริการซอฟต์แวร์แบบ cloud based ในลักษณะ M2M มากขึ้น เพิ่มเติมจากเครือข่ายสื่อสารและบริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ให้บริการสวมบทบาทเป็นผู้ให้บริการครบวงจร (one-stop-shop) เพื่อตอบสนองความต้องการด้านสื่อสารโทรคมนาคมและไอทีทั้งหมด Informa ประมาณการว่า เฉพาะการใช้บริการเชื่อมต่อ (connectivity) เพียงอย่างเดียวก็คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของงบประมาณด้านเทคโนโลยีข้อมูลและการสื่อสาร (ICT) ขององค์กรแล้ว แต่ด้วยแอพพลิเคชั่นและอุปกรณ์ที่จัดการบนคลาวด์ ตลอดจนบริการด้านคอมพิวติ้ง เซอร์วิส งบประมาณด้านไอซีทีขององค์กรกำลังจะเพิ่มสัดส่วนเป็นร้อยละ 80 ในเร็วๆ นี้ ผู้ให้บริการหลายราย เช่น Telefonica, Vodafone, SingTel, Telstra และ AT&T กำลังปรับโครงสร้างและมีส่วนร่วมในการเข้าซื้อกิจการเพื่อคว้าส่วนแบ่งที่เพิ่มขึ้นของโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่นี้ 5G คือ New 4G ใน ปี 2556 การเปิดตัว 4G/LTE ประสบความสำเร็จในหลายประเทศ และจะยังคงต่อเนื่องและรวดเร็วในปี 2557 ผู้ให้บริการจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างรายได้จากเครือข่าย ใหม่ของพวกเขา ในขณะที่การพัฒนามาตรฐานสำหรับ 5G จะร้อนแรงขึ้น การทดสอบได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว! All for One และ One for All หวังว่าการคาดการณ์เหล่านี้จะช่วยกระตุ้นผู้อ่าน - ในปี 2557 มีโอกาสดีๆ รออยู่แน่นอน แต่การที่จะใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้และประสบความสำเร็จในอาณาจักรของ omni-channel, big data, virtualization และ enterprise ไม่ใช่เรื่องง่าย เราคาดว่าจะได้เห็นการควบรวมและเข้าซื้อกิจการจำนวนมากในปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมนี้พัฒนาต่อเนื่องและผู้ให้บริการรวมกันเพื่อเปิดรับความท้าทายใหม่ ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ ฤทัยวรรณ ศิลปาจารย์ / ศิโยรี ไทยตระกูลพาณิช เวเบอร์ แชนด์วิค โทรศัพท์ 0-2343-6000 ต่อ 067 , 183 อีเมล์ ruthaiwan@webershandwick.com / Siyoree@webershandwick.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ