ดีดีซีโพล เผยคนไทยเห็นว่า ดื่มสุราเป็นประจำเป็นคนมีปัญหา

ข่าวทั่วไป Thursday December 26, 2013 17:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--โฟร์ พี แอดส์ ผลดีดีซีโพล โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผย กลุ่มตัวอย่างรู้สึกต่อผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำว่าเป็นคนมีปัญหา ร้อยละ 34.1 การดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ ร้อยละ 77.6ภัยสุขภาพ ร้อยละ 68.1 และภัยสังคม ร้อยละ 68.1 และเห็นด้วยกับการห้ามขับขี่ยานพาหนะหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใด ร้อยละ 77.8 นอกจากนี้ผลดีดีซีโพล ยังพบว่าเพศชายตั้งใจจะดื่ม ในช่วงเทศกาลปีใหม่และมีความรู้สึกดีต่อการได้รับกระเช้าของขวัญที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าเพศหญิง อายุระหว่าง 20-39 ปี ตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่มากกว่ากลุ่มอายุอื่น และการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาลปีใหม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรการที่ตัวเอง ญาติ และเพื่อน ได้รับอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ข่มขืน ฆาตกรรม หรือเสียชีวิตจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่าจากข้อมูลโดยศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ปี 2554 พบว่าคนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นนักดื่มปัจจุบัน หรือเป็นผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีจำนวนทั้งสิ้น 16,992,016 คน คิดเป็นร้อยละ 31.5 ของประชากรผู้ใหญ่ อายุเฉลี่ยที่เริ่มดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ 20.4 ปี ประชากรชายเริ่มดื่มที่อายุเฉลี่ย 19.4 ปี ประชากรหญิงเริ่มดื่มที่อายุเฉลี่ย 24.5 ปี และจำนวนกว่า 7.5 ล้านคนหรือเกือบครึ่งของผู้ดื่มเป็นผู้ดื่มประจำ และสัดส่วนการดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนเพิ่มมากขึ้นกว่าประชากรกลุ่มอื่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสถิติอุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตราย ธันวาคม 2555 – มกราคม 2556 พบว่า มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 3,176 ครั้ง มีผู้เข้ารับการรักษาจากอุบัติเหตุ จำนวน 25,073 คน ในจำนวนนี้รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลจำนวน 3,329 คน มีผู้เสียชีวิตรวม 365 คน และยังพบอีกว่าการเมาสุราเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ 32.42 เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเฉพาะผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตที่มารับการรักษา ในโรงพยาบาลศูนย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 33 แห่งทั่วประเทศ โดยสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่า การเมาสุราเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุถึงร้อยละ 42.7 นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า การสำรวจทัศนคติ ความเห็นของประชาชนครั้งนี้ ได้ดำเนินการโดย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 นครราชสีมา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ สถาบันการพลศึกษา และสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,058 ราย ระหว่างวันที่ 11-19 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมา ผลการสำรวจพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ประจำทุกวัน ร้อยละ 3.5 เคยดื่มและเลิกดื่มไปแล้ว ร้อยละ13.9 2) กลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตัวเอง ร้อยละ 4.6 สมาชิกในครอบครัวและญาติ ได้รับผลกระทบรวม ร้อยละ 37.8 3) กลุ่มตัวอย่างตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 27.1 และไม่ดื่ม ร้อยละ 45.5 4) กลุ่มตัวอย่างไม่อยากให้คนในครอบครัวดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับผู้ตอบ ร้อยละ 72.1 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.4 5) กลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่ดีต่อผู้ให้กระเช้าของขวัญที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 44.2 รู้สึกว่าผู้ให้โดยไม่สนใจปัญหาสุขภาพของผู้รับ ร้อยละ 6 6) กลุ่มตัวอย่างรู้สึกรังเกียจผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ร้อยละ 22.5 และรู้สึกว่าผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำเป็นผู้มีปัญหา ร้อยละ 34.1 7) กลุ่มตัวอย่างคิดว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของอุบัติเหตุ ร้อยละ 77.6 ภัยสุขภาพ ร้อยละ 68.1 และภัยสังคม ร้อยละ 49.3 8) โดยปกติเมื่อมีการดื่มแอลกอฮอล์นอกบ้านกลุ่มตัวอย่างขับรถกลับบ้านด้วยตัวเอง ร้อยละ 25.6 9) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 77.8 ที่จะให้มีการออกกฎหมายให้หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจจัดประชุม อบรม สัมมนา ในโรงแรมหรือสถานที่ที่ไม่กระทำผิด พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือ ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวลาที่กำหนดไม่โฆษณาโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 11.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 10.4 10) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 67.7 กับการออกกฎหมายห้ามแสดงสัญลักษณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานดนตรีงานกิจกรรมอีเว้นท์ คอนเสิร์ตงานบุญ งานเลี้ยง งานกีฬา ไม่เห็นด้วย ร้อยละ15.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.4 11) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 76.3 กับการออกกฎหมายบังคับให้มีภาพคำเตือนบนกล่อง/ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เช่นเดียวกับบุหรี่ ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 10.4 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.3 และ 12) กลุ่มตัวอย่างเห็นด้วย ร้อยละ 77.8 กับการออกกฎหมายห้ามขับขี่ยานพาหนะหลังจากดื่มแอลกอฮอล์ไม่ว่าจะปริมาณเท่าใด ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 11.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.0 นอกจากนี้ ยังพบว่า 1. ร้อยละ 14.1 ของเพศชาย รู้สึกดีต่อผู้ให้กระเช้าของขวัญที่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์2. ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี ตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่มากกว่ากลุ่มอายุอื่น 3. ผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่มากกว่ากลุ่มการศึกษาอื่น 4. ผู้ที่เคยดื่มและเลิกดื่มไปแล้ว และกลุ่มที่ไม่เคยดื่มตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่ ร้อยละ 14.5 ของจำนวนผู้ที่ตั้งใจจะดื่มในช่วงเทศกาลปีใหม่ทั้งหมด 5. ร้อยละ 42.5 ของผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประจำทุกวัน อยากให้คนในครอบครัวร่วมดื่มแอลกอฮอล์ด้วย6. ร้อยละ 21.3 ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยตัวเอง อยากให้คนในครอบครัวร่วมดื่มแอลกอฮอล์ด้วย 7. ร้อยละ 58.9 ของผู้ที่ดื่มประจำทุกวันขับรถกลับบ้านด้วยตัวเอง เมื่อมีการดื่มแอลกอฮอล์นอกบ้านและ 8. เพศหญิงมีความรู้สึกรังเกียจผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำมากกว่าเพศชาย “ซึ่งจากผลดีดีซีโพลดังกล่าว กรมควบคุมโรค จะนำมาปรับกลวิธีการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมทั้งกฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ประชาชนที่มีความสนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร. 1422”นายแพทย์โสภณ กล่าวเพิ่มเติม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ