“ต้อนรับปีใหม่” อย่างไร…..ให้ร่างกายสดใสแข็งแรง

ข่าวทั่วไป Thursday January 9, 2014 15:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทีจีส์ เมื่อเข้าสู่ฤดูกาลของการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าและ “ต้อนรับปีใหม่” คนส่วนใหญ่มักจะเพลิดเพลินกับการกินเลี้ยงสังสรรค์มากมาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข สนุกสนานกับเพื่อนๆ และครอบครัว จนละเลยการดูแลสุขภาพ หลังจากงานฉลองทั้งหลายเสร็จสิ้นลงหลายท่านก็อาจจะมีปัญหาสุขภาพตามมา เช่น น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ความดันสูงขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และไขมันในร่างกายก็เพิ่มมากขึ้นด้วยดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรปฏิบัติเพื่อรักษาความสมดุลของพลังงานในร่างกายวันนี้...โครงการ Exercise is Medicine in Thailand โดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย มีเคล็ด (ไม่) ลับการออกกำลังกายสำหรับบุคคลทั่วไปพร้อมกับคำแนะนำการออกกำลังกายผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและการออกกำลังกายในผู้สูงอายุมาแนะนำเพื่อให้นำไปปฏิบัติรับปีใหม่อย่างแข็งแรงสดใส เคล็ดลับการออกกำลังกายทั่วไป ระลึกไว้เสมอว่าการออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องเล่นกีฬาหรือต้องเข้าโรงยิมเพียงแค่เพิ่มกิจวัตรประจำวันก็สามารถเพิ่มการออกกำลังกายได้ เช่น ใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ การเดินหรือปั่นจักรยานไปหน้าปากซอยที่บ้านแทนการนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง การออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม ไม่จำเป็นต้องสมัครเข้าฟิตเนส แค่อยู่ที่บ้านออกแรงเพิ่มขึ้น หรือทำกายบริหาร หรือทำงานบ้านก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ ตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกายอย่างชัดเจน แต่ต้องมีลักษณะค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป หากทำได้ถึงเป้าหมายก็ค่อยๆ เพิ่มเป้าหมายขึ้นทีละน้อยจนถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อเป็นกำลังใจในการลดน้ำหนัก ควรวางแผนการออกกำลังกายล่วงหน้า พร้อมทั้งทำสมุดบันทึกเพื่อเตือนให้ตัวเองไปออกกำลังกายตามปฏิทินที่กำหนดหรือนัดหมายเพื่อนไปออกกำลังกายด้วยกัน และเพื่อปรับนิสัยของการออกกำลังกายมากขึ้นในวิถีชีวิตปัจจุบันของคุณเอง ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ สามารถออกกำลังกายได้เพราะการออกกำลังกายไม่ทำให้สุขภาพแย่ลงแต่ต้องมีการเตรียมตัวและเลือกวิธีการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การเดินไกลจึงเป็นวิธีการที่แนะนำ หากมีอุปกรณ์ออกกำลังกาย ให้วางไว้ในตำแหน่งที่สังเกตได้ง่ายเพื่อเตือนให้ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น หากพึ่งเริ่มออกกำลังกายไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงแรก เพราะอาจทำให้เกิดผลกระทบหรือได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ทำให้กลัวที่จะออกกำลังกายต่อไป ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากให้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อาจจะก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายต่อโครงสร้างของร่างกาย เช่น หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่รับน้ำหนักมากๆ บริเวณเข่า หรือหลัง นอกจากนี้ โครงการ “Exercise isMedicine in Thailand” ยังขอแนะนำเคล็ดไม่ลับในการดูแลตัวเองและการออกกำลังกายสำหรับท่านที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานความดันโลหิตสูงและการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นดังต่อไปนี้ การจัดโปรแกรมออกกำลังกายอย่างหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน จะช่วยเพิ่มการตอบสนองของอวัยวะต่างๆต่ออินซูลิน และควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดปริมาณไขมันในร่างกาย รวมถึงป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โดยเริ่มต้นจากการออกกำลังกายแบบแอโรบิคหรือกิจกรรมแรงต้านทานต่ำ โดยเริ่มจากความหนักเบาๆ แล้วค่อยเพิ่มระยะเวลาการออกกำลังกาย ข้อควรระวัง คือ การออกกำลังกายหนักมากเกินไป จะเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนอื่นที่ทำงานต่อต้านอินซูลิน ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ เครดิตภาพ: http://www.beexercise.com/step-up-on-bench/ โปรแกรมการออกกำลังกายแบบง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ประเภทกิจกรรม ตัวอย่างการออกกำลังกาย ความถี่ ความหนัก ระยะเวลา กิจวัตรประจำวันทั่วไป เดิน, ขึ้น-ลงบันได, ทำสวน ทุกวัน พูดคุยขณะออกกำลังกายได้ มากกว่า30 นาที ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถนะของระบบหัวใจและหลอดเลือด เดินเพื่อสุภาพ, วิ่งเหยาะ, ปั่นจักยาน, ว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค 3-5 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เริ่มต้นออกกำลังกายช้าๆ และค่อยเพิ่มความหนัก จนเริ่มรู้สึกเหนื่อย 20-60 นาที สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน, ใช้อุปกรณ์ยางยืด หรือ ยกน้ำหนัก 2-3 วัน ต่อสัปดาห์ ใช้แรงต้านน้อยๆ จนกล้ามเนื้อเริ่มรู้สึกล้า 8-12 ครั้งต่อเซตการออกกำลังกาย และ 8-10 ท่าต่อการออกกำลังกาย เปลี่ยนท่าการออกกำลังกายให้ง่ายขึ้น หากท่านมีปัญหาทางจอประสาทตา และภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจและหลอดเลือด เกณฑ์พิจารณาในการหยุดออกกำลังกาย: วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น ทรงตัวไม่ได้ หัวใจเต้นเร็ว ข้อมูลอ้างอิงจาก: Yrkesföreningarförfysiskaktivitet, yfa, Professional associations for physical activity, Sweden, 2010 American College of Sports Medicine, ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription (7th Edition), Lippincott Williams & Wilkins; 2006การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประเภทกิจกรรม ตัวอย่างการออกกำลังกาย ความถี่ ความหนัก ระยะเวลา ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถนะของระบบหัวใจและหลอดเลือด เดินเพื่อสุภาพ, ปั่นจักยาน, 5-7วัน ต่อสัปดาห์ ระดับความหนักปานกลาง เริ่มเหนื่อย แต่ยังพูดเป็นคำๆได้ มากกว่า30 นาที เต้นแอโรบิคในน้ำหรือบนบก สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน มากกว่า2 วัน ต่อสัปดาห์ ยกซ้ำๆโดยใช้แรงต้านต่ำ 3-4 เซตของการออกกำลังกาย 10-15 ครั้งต่อเซต เซตละ 8-10 ท่า เครดิตภาพ: http://www.thetruecare.com/water-aerobics-exercises-for-weight-loss-1613/ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสมสามารถช่วยลดระดับความดันโลหิต และเพิ่มการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ตลอดจนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน โรคเส้นเลือดในสมองตีบ และโรคเส้นเลือดส่วนปลาย อุดตัน ก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายควรวัดความดันโลหิตก่อนทุกครั้ง และวอร์มร่างกายให้พร้อม ไม่ควรออกกำลังกายในขณะความดันโลหิตตัวบน (หัวใจบีบตัว) มีค่ามากกว่า 200 มิลลิเมตรปรอท และความดันตัวล่าง(ขณะหัวใจคลายตัว)มากกว่า 115 มิลลิเมตรปรอท โปรแกรมการออกกำลังกายแบบง่ายๆ สำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ประเภทกิจกรรม ตัวอย่างการออกกำลังกาย ความถี่ ความหนัก ระยะเวลา ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถนะของระบบหัวใจและหลอดเลือด เดินเพื่อสุภาพ, วิ่งเหยะ, ปั่นจักยาน, ว่ายน้ำ, เต้นแอโรบิค ทุกวัน ระดับเบาถึงปานกลาง เริ่มเหนื่อยแต่ยังพูดเป็นคำๆได้ อย่างน้อย30 นาที สามารถแบ่งเป็นครั้งละ 10 นาที หรือ 3 ครั้งต่อวัน สร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายแบบมีแรงต้านเช่น ดัมเบล,ยางยืด ,ถุงทราย ฯลฯ 2 วันต่อสัปดาห์ แรงต้านต่ำที่สามารถยกได้เต็มองศาการเคลื่อนไหวของข้อต่อ จากนั้นค่อยๆเพิ่มแรงต้าน ยก8-15 ครั้ง ความสมดุลและความอ่อนตัว การยืนทรงตัวขาเดียว, การก้าวขาไปด้านข้าง ทุกวัน ข้อมูลอ้างอิงจาก: Warburton DE.et.al, Review A systematic review of the evidence for Canada's Physical Activity Guidelines for Adults. Can J Public Health. 2007; 98American College of Sports Medicine, ACSM's Guidelines for Exercise Testing and Prescription (7th Edition), Lippincott Williams &Wilkins; 2006เคล็ดลับการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เป้าหมายในการออกกาลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุคือการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อและคงมุมการเคลื่อนไหวของข้อต่อควรเลือกการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อข้อต่อน้อยเช่นการเดินหรือการออกกำลังกายในน้ำซึ่งใช้การทำงานของกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ และยังสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องหรืออาจจะเป็นกิจกรรมเบาๆอย่างเช่นการเต้นการเดิน ควรออกกำลังกายเป็นกลุ่มๆเพราะจะทาให้เกิดความเพลิดเพลินและไม่รู้สึกเบื่อที่จะออกกำลังกายถ้าผู้สูงอายุท่านใดมีสมรรถภาพทางกายที่ต่ำหรือเพิ่งเริ่มออกกำลังกายให้เริ่มออกกำลังกายประมาณ 10-15 นาทีจากนั้นค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาให้มากขึ้นจนกระทั่งสามารถทำได้อย่างต่ำครั้งละ 30 นาที เครดิตภาพ: http://tacticalminc.com/blog/wellness-coverage-and-obamacare โปรแกรมการออกกำลังกายแบบง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ ข้อมูลอ้างอิงจาก: MIRIAM E. NELSON.et.al. Physical Activity and Public Health in Older Adults: Recommendation from the American College of Sports Medicine and the American Heart Association, Medicine & Science in Sports & Exercised 1435-1445,2007 :Professional associations for physical activity, sweden (yrkesföreningarförfysiskaktivitet, yfa), 2010 ในเวลาเทศกาลงานสังสรรค์ช่วงนี้ หากเรามัวแต่ไปร่วมงาน ปล่อยให้ตัวเองรับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ ก็ควรเพิ่มการออกกำลังกายให้มากขึ้น เพื่อรักษาสมดุลระหว่างพลังงานที่บริโภคเข้าไปและพลังงานที่เผาผลาญออกไป ก็จะช่วยให้เรามีความสุขและสุขภาพแข็งแรงตลอดปีใหม่นี้ ด้วยความห่วงใยจากโครงการ “Exercise isMedicine in Thailand” โดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย สมาคมวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งประเทศไทย และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนจาก กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย เกี่ยวกับโครงการ Exercise is Medicine หรือ ออกกำลังกายคือยาวิเศษ โครงการ Exercise is Medicineริเริ่มโดยวิทยาลัยเวชศาสตร์การกีฬาแห่งสหรัฐอเมริกา (American College of Sport Medicine หรือ ACSM) โดยมี เดอะ โคคา-โคลา คอมพะนี เป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง โดยดำเนินงานใน 31 ประเทศทั่วโลก มาเป็นเวลากว่า 5 ปี เพื่อรณรงค์ให้กิจกรรมทางกายและการออกกำลังกายเป็นมาตรฐานหนึ่งของการป้องกันโรคและเป็นการรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ โดยผ่านการอบรมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมทางกายและวิธีการสั่งการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแก่คนไข้และประชาชนทั่วไป ในประเทศไทย มีเครือข่ายภาคีความร่วมมือระหว่างสถาบัน นำโดยวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งจะจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบบูรณาการ ครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อการสั่งการออกกำลังกายที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนไข้และประชาชนทั่วไป สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ: Exercise is Medicine in Thailand วิธวดี นิติวงศ์สถิตย์ โทร. 088-8202510 หรือ vithvadee2010@hotmail.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ